ปฏิบัติการครอสโรดส์

ปฏิบัติการครอสโรดส์ (อังกฤษ: Operation Crossroads) เป็นชุดการทดลองระเบิดนิวเคลียร์โดยสหรัฐอเมริกา การทดลองทุกครั้งในชุดการทดลองนี้จัด ณ​ บิกีนีอะทอลล์ ในช่วงกลางปี 1956 ครอสโรดส์ เป็นการทดลองหลังจาก ทรินิตี ซึ่งทดลองช่วงเดือนกรกฎาคม 1945 และเป็นการระเบิดครั้งแรกตั้งแต่การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโระชิมะนะงะซะกิ โดยมีจุดมุ่งหมายการทดลองเพื่อทดสอบความเสียหายจากระเบิดนิวเคลียร์ที่มีผลต่อเรือรบ

ปฏิบัติการครอสโรดส์
เมฆรูปเห็ดและเสาน้ำที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นน้ำจากการระเบิดของ เบเกอร์ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 1946 ภาพถ่ายจากหอสังเกตการณ์บนเกาะบิกีนีห่างออกไป 5.6 กิโลเมตร
ข้อมูลการทดลอง
ประเทศสหรัฐอเมริกา
บริเวณทดสอบบิกีนีอะทอลล์
ช่วงเวลากรกฎาคม 1946
จำนวนครั้งที่ทดลอง2
รูปแบบ
  • ระเบิดเหนือพื้นดิน (เอเบิล)
  • ระเบิดใต้พื้นน้ำ (เบเกอร์)
แรงระเบิดสูงสุด23 กิโลตันทีเอ็นที
ชนิดระเบิดระเบิดนิวเคลียร์ฟิซชัน
การทดลองอื่น
ก่อนหน้าทรินิตี
ถัดไปปฏิบัติการแซนด์สโตน

ชุดการทดลอง ครอสโรดส์ ประกอบไปด้วยระเบิดสองลูก โดยทั้งคู่มีแรงระเบิด 23 กิโลตันทีเอ็นทีเท่ากัน[1] ลูกแรกทดลองวันที่ 1 กรกฎาคม 1946 สมญานามว่า เอเบิล ซึ่งจุดระเบิดเหนือพื้นดิน 160 เมตร อีกลูกหนึ่งทดลองวันที่ 25 กรกฎาคม 1946 มีสมญานามว่า เบเกอร์ ซึ่งจุดระเบิดใต้ผิวน้ำลงไป 27 เมตร[1] แต่ยังมีระเบิดอีกลูกสมญานามว่า ชาร์ลี ที่วางแผนระเบิดในปี 1947 แต่ถูกยกเลิกเสียก่อน[2] จึงเลื่อนการทดลอง ชาร์ลี ไปทดลองในปฏิบัติการวิกแวมซึ่งเป็นการระเบิดใต้ท้องทะเลลึกบริเวณชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย การระเบิดของ เอเบิล และ เบเกอร์ เป็นการระเบิดครั้งที่สี่และครั้งที่ห้าในประวัติศาสตร์การระเบิดของสหรัฐอเมริกา (หลังจาก ทรินิตี และ ระเบิดที่ฮิโระชิมะและนะงะซะกิ) และเป็นการทดลองครั้งแรกที่จัดขึ้นบริเวณเหมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งการทดลองอีกหลาย ๆ ครั้งต่อมาก็จัดที่บริเวณนี้

ผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะบิกีนีแต่เดิมยินยอมที่จะย้ายออกจากเกาะ โดยคนส่วนมากย้ายไปอยู่ที่รองเกริคอะทอลล์ (Rongerik Atoll) และต่อมาในทศวรรษ 1950 มีการทดลองระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์อีกหลายครั้งที่จัดขึ้นบริเวณเกาะบิกีนี ทำให้เกิดการปนเปื้อนในน้ำทะเลและในอากาศอย่างมากซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวเกาะ เช่นการทำฟาร์ม และการหาปลา แม้ในปัจจุบันเกาะบิกีนีก็ยังใช้ในการอยู่อาศัยไม่ได้ แม้จะมีการยืนยันว่าผู้เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการครอสโรดส์จะได้รับการป้องกันจากรังสีเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีการศึกษาที่ว่าอายุขัยเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมปฏิบัติการลดลงสามเดือนจากคนทั่วไป ผลจากการระเบิดของ เบเกอร์ ทำให้เรือเป้าทุกลำปนเปื้อนสารกำมันตรังสี และทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของสารกำมันตรังสีเป็นวงกว้าง จนทำให้นักเคมีนามว่าเกลนน์ ซีบอร์ก ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมาธิการพลังงานนิวเคลียร์ได้กล่าวถึง เบเกอร์ ว่าเป็น "จุดเริ่มต้นของภัยพิบัตินิวเคลียร์ของโลก"[3]


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Operation Crossroads - NuclearWeaponArchive". สืบค้นเมื่อ 2013-07-30.
  2. "Operation Crossroads: Meeting the Bomb at Close Quarters". สืบค้นเมื่อ 2013-07-30.
  3. Weisgall 1994, p. ix.

บรรณานุกรม แก้

  • Weisgall, Jonathan (1994), Operation Crossroads: The Atomic Tests at Bikini Atoll, Annapolis, Maryland: Naval Institute Press, ISBN 978-1-55750-919-2