บ้วนฮ่วยเหลา

นวนิยายจีน

บ้วนฮ่วยเหลา ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ว่านฮวาโหลว ตามสำเนียงกลาง (จีนตัวย่อ: 万花楼; จีนตัวเต็ม: 萬花樓; พินอิน: Wàn Huā Lóu) แปลว่า หอหมื่นบุปผา (Pavilion of Ten Thousand Flowers) เป็นชื่อนิยายจีนซึ่ง หลีโหวตึ๊ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ หลี อฺวี่ถัง ตามสำเนียงกลาง (李雨堂) ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง

ปกฉบับที่ "หอทองหยก" (金玉樓) จัดพิมพ์เมื่อปี 1859 ในช่วงราชวงศ์ชิง

ชื่อ แก้

ชื่อเต็มของนิยายเรื่องนี้ คือ บ้วนฮ่วยเหลาเอียเปาเต็กเอี้ยนหงี ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ว่านฮวาโหลวหยางเปาตี๋หยั่นอี้ ตามสำเนียงกลาง (萬花樓楊包狄演義)[1] แปลว่า "หอหมื่นบุปผา: วีรคติเอียเปาเต็ก" (Pavilion of Ten Thousand Flowers: Romance of Yang, Bao and Di)

เอียเปาเต็กนั้น หมายถึง บุคคลสามคนดังต่อไปนี้ตามลำดับ คือ

  • เอียจงเปา ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ หยาง จงเป่า ตามสำเนียงกลาง (楊宗保)
  • เปาบุ้นจิ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เปา เหวินเจิ่ง ตามสำเนียงกลาง (包文拯) และ
  • เต็กเซง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ตี๋ ชิง ตามสำเนียงกลาง (狄青)

เนื้อเรื่อง แก้

เรื่อง บ้วนฮ่วยเหลา นั้นเริ่มขึ้นที่หอหมื่นบุปผาอันเป็นสถานที่ที่เต็กเซงและเปาบุ้นจิ้นมาพบกันเป็นครั้งแรก มีเนื้อหาเกี่ยวกับการรบของเอียจงเปาและเต็กเซง ตลอดจนการตัดสินคดีของเปาบุ้นจิ้น ซึ่งรวมถึงคดีแมวป่าสับเปลี่ยนพระโอรส

ภาคต่อของ บ้วนฮ่วยเหลา คือ โหงวโฮ้วเพงไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ อู๋หู่ผิงซี ตามสำเนียงกลาง (五虎平西) แปลว่า ห้าเสือพิชิตประจิม (Five Tigers Conquering the West) และ โหงวโฮ้วเพงหนำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ อู๋หู่ผิงหนัน ตามสำเนียงกลาง (五虎平南) แปลว่า ห้าเสือพิชิตปักษ์ใต้ (Five Tigers Conquering the South)

ฉบับแปลไทย แก้

บ้วนฮ่วยเหลา แปลเป็นภาษาไทยเมื่อนานมาแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสว่า[2]

"เรื่อง บ้วนฮ่วยเหลา สันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล (คราวเดียวกับเรื่อง โหงวโฮ้วเพงหนำ) เป็นหนังสือสิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2423 เป็นสมุดหนึ่งเล่ม [...]

"เรื่อง โหงวโฮ้วเพงหนำ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้จีนโตแปลเมื่อ พ.ศ. 2400 เป็นหนังสือหกเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2429 เป็นสมุดหนึ่งเล่ม"

อ้างอิง แก้

  1. 李雨堂. (1859). 萬花樓楊包狄演義 (14卷). 北京: 金玉樓.
  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2471). ตำนานหนังสือสามก๊ก. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสภา. หน้า 15.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้