บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์
บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ หรือ เบิร์จคาลิฟา[3] (อาหรับ: برج خليفة, อักษรโรมัน: Burj Khalifa; "หอคอยเคาะลีฟะฮ์") หรือเดิมชื่อ บุรจญ์ดูไบ (อาหรับ: برج دبي, อักษรโรมัน: Burj Dubai; "หอคอยดูไบ") เป็นตึกระฟ้าสูงยวดยิ่ง ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และเปิดให้ใช้ได้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาขนาดยักษ์มีที่ตั้ง ณ "ชุมทางเชื่อมต่างระดับที่ 1" ของถนนชิค ซาเยดและถนนโดฮา
บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ | |
---|---|
![]() บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ (สูงสุดในภาพ) ในทิวย่านดาวน์ทาวน์ของนครดูไบ | |
เป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก ตั้งแต่ 2553 ถึง ปัจจุบัน | |
ก่อนหน้านี้ | ไทเป 101 |
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่ตั้ง | ดูไบ ![]() |
สถานะ | เสร็จสมบูรณ์ |
เริ่มสร้าง | 6 มกราคม พ.ศ. 2547 6 มกราคม ค.ศ. 2004 |
กำหนดเสร็จ | 17 มกราคม พ.ศ. 2552 |
สร้างเสร็จ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 1 ตุลาคม ค.ศ. 2009 |
เปิดตัว | 4 มกราคม พ.ศ. 2553[1] |
การใช้งาน | หลากหลาย |
ความสูง | |
เสาอากาศ / ยอด | 223 m (732 ft) |
ชั้นสูงสุด | 605 m (1,985 ft) |
รายละเอียด | |
จำนวนชั้น | 162 ชั้น |
พื้นที่ชั้น | 334,000 ตร.ม. (3,595,100 ตร.ฟุต) |
มูลค่า | US$1.5 พันล้าน |
บริษัท | |
สถาปนิก | ![]() |
วิศวกร | บิลล์ เบเคอร์ ของ SOM[2] |
ผู้พัฒนา | เอมาร์ |
ผู้ออกแบบอาคารนี้ คือ เอเดรียน สมิธ สถาปนิกชาวชิคาโกจากสำนักงานสถาปนิกเอสโอเอ็ม วิศวกรโครงสร้างของตึก คือ บิลล์ เบเกอร์[4]
วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551 ตัวอาคารได้ก่อสร้างขึ้นสูงถึง 629 เมตร ซึ่งสูงยิ่งกว่าเสา KVLY-TV สูง 628.8 เมตร ที่ตั้งอยู่ในสหรัฐ จึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก ปัจจุบันมีความสูงกว่า 828 เมตร
วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 มีพิธีเปิดอาคาร และเปลี่ยนชื่ออาคารจาก "บุรจญ์ดูไบ" เป็น "บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์" เพื่อเป็นเกียรติแก่ชีกห์เคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน เจ้าผู้ครองนครอาบูดาบีและประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ [5]
การบริหารจัดการอาคารนั้น 37 ชั้นล่างจัดเป็นเป็นโรงแรมอาร์มานี ชั้น 45 ถึง 108 เป็นอพาร์ตเมนต์ ชั้นที่ 123 และ 124 เป็นจุดชมทิวทัศน์ ส่วนบนของตึกเป็นเสาอากาศสื่อสาร ชั้น 78 มีสระว่ายน้ำกลางแจ้งขนาดใหญ่ ที่เหลือเป็นสำนักงาน อาคารยังติดตั้งลิฟต์ที่เร็วที่สุดในโลก มีความเร็ว 18 เมตรต่อวินาที (65 กิโลเมตร หรือ 40 ไมล์ ต่อชั่วโมง)
ความสูงแก้ไข
- ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 แอนโทนี วูดส์ ประธาน "สมัชชาอาคารสูงและที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง" ได้ให้การรับรองในชั้นต้นว่า บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ "เป็นอาคารที่สูงที่สูงเกินอาคารไทเป 101 ในเชิงโครงสร้าง (คอนกรีต) แล้ว" แต่ยังไม่ถือเป็นทางการ จนกว่าอาคารบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์จะแล้วเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งานแล้วเป็นบางส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์อย่างโครงการอาคาร "รยูกย็อง" ของเกาหลี (330 เมตร) ดังนั้น อาคารไทเป 101 ของไต้หวัน จึงถือเป็นอาคารระฟ้าที่สูงที่สุดในโลกอย่างเป็นทางการต่อไป
- ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์สูงเลยความสูงของอาคารเซียร์ซึ่งเป็นอาคารที่มีจำนวนชั้นมากที่สุดในโลก (108 ชั้น)
- วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ผู้ก่อสร้างบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ได้รายงานว่าการก่อสร้างได้บรรลุถึงความสูง 512.1 เมตรแล้ว มีจำนวนชั้นที่สร้างเสร็จ 141 ชั้น สูงเลยอาคารที่สูงที่สุดในโลกเมื่อวัดถึงหลังคา คือ ไทเป 101 (449.2 เมตร) ไปแล้ว
- ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2550 บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ ได้ทำลายสถิติหอคอยที่สูงที่สุดในโลก "หอคอยซีเอ็น" ที่ โทรอนโท ประเทศแคนาดา ซึ่งมีความสูง 553.3 เมตร และแซงหน้าสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดที่มนุษย์เคยสร้างมา นั่นคือ เสาอากาศโทรทัศน์ KVLY-TV Mast ที่สหรัฐอเมริกา
- 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ห้างสรรพสินค้าในบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์เปิดบริการ ทำให้บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ เข้ารับตำแหน่ง ตึกที่สูงที่สุดในโลก ไทเป 101 จึงตกเป็นที่สองแล้วในปัจจุบัน
- 17 มกราคม พ.ศ. 2552 บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์สร้างถึงจุดสูงสุดของตึก ที่ความสูง 828 เมตร (2,717 ฟุต)
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 บริษัทเอมาร์ประกาศว่าส่วนภายนอกตึกได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว[6] มีความสูงถึง 818 เมตร จะกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างบนโลกใบนี้
สถิติที่บุรจญ์ดูไบครองอยู่ในปัจจุบันแก้ไข
- อาคารที่มีจำนวนชั้นมากที่สุด: 162 (เดิมอาคารเซียร์ -108 ชั้น)
- ตึกระฟ้าสูงที่สุดในโลกนับถึงชั้นหลังคา: 546 เมตร วันที่ 27 สิงหาคม 2550 (เดิมอาคารไทเป 101 -449.2 เมตร)
- ปั๊มคอนกรีตทางดิ่งที่สูงที่สุดในโลก (สำหรับการสร้างอาคาร) 512.1 เมตร (เดิมอาคารไทเป 101 -439.2 เมตร)
- ปล่องลิฟต์ที่ยาวที่สุดในโลก 514 เมตร
ศูนย์กลางดูไบแก้ไข
บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างที่สำคัญของดูไบ ซึ่งประกอบด้วย บุรญุลอะร็อบ โรงแรมที่หรูที่สุดในโลก และ หมู่เกาะต้นปาล์ม รวมไปถึง ดูไบมารีนา ดูไบมอลล์ โดยมีก่อสร้างเสร็จทั้งหมดจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ โดยโครงการทั้งหมดรับรองโดยทางรัฐบาลของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยทางการท่องเที่ยวของประเทศต้องการให้ประเทศเป็นจุดสนใจที่สำคัญจุดหนึ่งของโลก
นอกจากนี้ ในฉากสำคัญของภาพยนตร์ มิชชั่น:อิมพอสซิเบิ้ล ปฏิบัติการไร้เงา ซึ่งเป็นภาคสี่ของซีรีส์ภาพยนตร์ มิชชั่น:อิมพอสซิเบิ้ล ยังได้ถ่ายทำฉาก และสถานที่โดยรอบบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์นี้ด้วย ซึ่งรวมไปจนถึงการแสดงฉากผาดโผน ณ ด้านนอกของอาคาร[7]
แผนผังแก้ไข
ตารางด้านล่างคือแผนผังในอาคาร[8][9]
Floors | Use |
![]() |
|
---|---|---|---|
164–209 | ยอดตึก | ||
160–163 | ห้องเครื่องยนต์ | ||
156–159 | เสาโทรคมนาคมและโทรทัศน์ | ||
155 | ห้องเครื่องยนต์ | ||
148 | ชั้นชมทัศนียภาพ "เดอะ นิว เดค" | ||
139–154 | ห้องคอร์ปอเรทสวีท | ||
136–138 | ห้องเครื่องยนต์ | ||
125–135 | ห้องคอร์ปอเรทสวีท | ||
124 | ชั้นชมทัศนียภาพ "แอท เดอะ ท็อป" | ||
123 | สกายล็อบบี้ | ||
122 | ภัตตาคาร "แอท.มอสเฟียร์" | ||
111–121 | ห้องคอร์ปอเรทสวีท | ||
109–110 | ห้องเครื่องยนต์ | ||
77–108 | ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี | ||
76 | สกายล็อบบี้ | ||
73–75 | ห้องเครื่องยนต์ | ||
44–72 | ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี | ||
43 | สกายล็อบบี้ | ||
40–42 | ห้องเครื่องยนต์ | ||
38–39 | ห้องสวีทของโรงแรมอาร์มานี | ||
19–37 | ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี | ||
17–18 | ห้องเครื่องยนต์ | ||
9–16 | ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี | ||
1–8 | โรงแรมอาร์มานี | ||
กราวด์ | โรงแรมอาร์มานี | ||
คองคอร์ส | โรงแรมอาร์มานี | ||
B1–B2 | ลานจอดรถ, ห้องเครื่องยนต์ |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "EXCLUSIVE: Burj Dubai set to open on Dec 2". Arabian Business. 29 July 2009. สืบค้นเมื่อ 30 July 2009.
- ↑ Blum, Andrew (27 November 2007). "Engineer Bill Baker Is the King of Superstable 150-Story Structures". Wired. สืบค้นเมื่อ 11 March 2008.
- ↑ ปรากฏการใช้ชื่อนี้ในแหล่งข้อมูลภาษาไทย ทั้ง ไทยพีบีเอส, ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, บีบีซีไทย, อิศรา
- ↑ Engineer Bill Baker Is the King of Superstable 150-Story Structures
- ↑ Bianchi, Stefania (2010-01-04). "World's Tallest Skyscraper Opens in Dubai". The Wall Street Journal. Dow Jones & Company, Inc. สืบค้นเมื่อ 4 January 2010.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "Burj Dubai exterior done, to open this year". Maktoob. 2009-10-01. สืบค้นเมื่อ 2009-10-01.
- ↑ "Sitting on top of the world! Is that Tom Cruise performing a death-defying stunt on the planet's highest skyscraper?". dailymail. 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2011-10-27.
- ↑ "Structural Elements – Elevator, Spire, and More". BurjDubai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2009. สืบค้นเมื่อ 31 December 2009.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "Inside the Burj Dubai". Maktoob News. 28 December 2009. สืบค้นเมื่อ 10 January 2010.
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ |
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์
- รายละเอียดการก่อสร้างบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 25°11′50″N 55°16′27″E / 25.197139°N 55.274111°E