บุญเสริม วิทยชำนาญกุล
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญเสริม วิทยชำนาญกุล เกิดวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ที่กรุงเทพมหานคร นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย สาขากายวิภาคศาสตร์ และ ชีววิทยาระบบสืบพันธุ์ เป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในประเทศไทย โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาวิธีตรวจเชื้อและศึกษาหาวิธีป้องกันโรคไวรัสในกุ้งกุลาดำ จนได้รับรางวัล "กุ้งทองคำเกียรติยศ" จากชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี เป็นนักวิจัยในกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตกุ้งกุลาดำ ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2546 และรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2543
ประวัติ
แก้บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
การศึกษา
แก้- พ.ศ. 2512 - ปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2516 - ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2518-2521 - ปริญญาเอก สาขา Neuroendocrinology จากมหาวิทยาลัยรอเชสเตอร์ สหรัฐอเมริกา โดยทุนมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์
- Post Doctoral Training จากมหาวิทยาลัยอินดีแอนา และมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
แก้ตำแหน่งวิชาการ
- พ.ศ. 2516 - บรรจุเข้าเป็นอาจารย์ ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2543 - ศาสตราจารย์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ปัจจุบัน เป็นนักวิจัยหลัก ของหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง (Centex Shrimp เก็บถาวร 2007-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งบริหาร
- เคยดำรงตำแหน่งรองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2536-2544 - เป็นผู้อำนวยการโครงการผลิตอาจารย์แพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง)
- พ.ศ. 2541 - หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ
- พ.ศ. 2536 - ได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษางานวิจัยเกี่ยวกับกุ้ง ของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
เกียรติคุณและรางวัล
แก้- พ.ศ. 2532-2535 - ได้รับรางวัลอนันทมหิดล (King Anatamahidol Award) สำหรับผู้อุทิศตนให้การสอนนักศึกษาแพทย์
- พ.ศ. 2540 - รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รางวัลชมเชย ประเภททั่วไป จากผลงาน "ชิ้นส่วนชีวภาพกำซาบด้วยสารพลาสติก เพื่อการเรียนการสอนในทางการแพทย์"
- พ.ศ. 2543 - รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (คณะผู้วิจัยเรื่องกุ้งกุลาดำ)
- พ.ศ. 2546 - รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ (กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตกุ้งกุลาดำ)
- พ.ศ. 2563 - ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2562 สาขาวิทยาศาสตร์
ผลงานทางวิชาการที่สำคัญ
แก้- ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ต่อมไพเนียล
- เป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยด้านการกำซาบพลาสติกเข้าสู่ชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์ในประเทศไทย เพื่อผลิตอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาต่างๆ และเป็นหัวหน้าโครงการศูนย์ผลิตชิ้นส่วนสมองกำซาบด้วยสารพลาสติก เพื่อผลิตชิ้นส่วนสมองกำซาบด้วยสารพลาสติกควบคู่กับสื่อการสอนแบบ CAI ของชิ้นส่วนสมอง ให้แก่โรงเรียนแพทย์ต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งเพื่อศึกษาวิจัยด้านกายวิภาคศาสตร์ของสมองของคนไทย
- เป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในประเทศไทย การพัฒนาวิธีตรวจเชื้อและศึกษาหาวิธีป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสในกุ้งกุลาดำ โดยเฉพาะ โรคตัวแดงดวงขาว และโรคหัวเหลือง ที่ก่อให้เกิดความเสียหายในการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในประเทศไทยเป็นอันมาก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาวิทยาศาสตร์[3]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๒, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑, ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓