บุญสนอง บุณโยทยาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์[1] บุญสนอง บุณโยทยาน อดีตหัวหน้าแผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
บุญสนอง บุณโยทยาน | |
---|---|
บุญสนอง บุณโยทยาน ในปี พ.ศ. 2517 | |
เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2517 – 2519 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2479 จังหวัดเชียงราย, ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 (39 ปี) กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย |
คู่สมรส | ทัศนีย์ บุณโยทยาน |
บุตร | 2 คน |
ศิษย์เก่า | สามัคคีวิทยาคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแคนซัส มหาวิทยาลัยคอร์เนล |
อาชีพ | หัวหน้าภาควิชาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ประวัติ
แก้บุญสนองเกิดและโตที่จังหวัดเชียงราย โดยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม หลังจากนั้นได้ย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนปรินส์รอแยล ก่อนจะได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากนั้น เขาสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทด้านสังคมวิทยา ที่มหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา ในหัวข้อวิทยานิพนธ์ "คำอธิบายทางสังคมวิทยาของต้นกำเนิดการพัฒนาที่แตกต่างกันในญี่ปุ่นและประเทศไทย" (A Sociological Explanation of the Origins of Differential Development in Japan and Thailand) และระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล ในหัวข้อวิทยานิพนธ์ "การเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบเลือกปฏิบัติของไทย: การศึกษาด้วยการอ้างอิงเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น" (Thai Selective Social Change: A Study with Comparative Reference to Japan)[2]
ช่วงเวลาที่ บุญสนองศึกษาอยู่ที่คอร์แนล เป็นช่วงเดียวกับที่ฉลาดชาย รมิตานนท์, ยุพา คลังสุวรรณ, บัณฑร อ่อนดำ, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ปรานี วงษ์เทศ, ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์, วารินทร์ วงศ์หาญเชาวน์, ปราโมทย์ นาครทรรพ และอานันท์ กาญจนพันธ์ ซึ่งต่อมาจะเป็นนักวิชาการสำคัญในประเทศไทย ก็ศึกษาอยู่ที่คอร์แนลเช่นกัน[3]
การเสียชีวิต
แก้บุญสนอง บุณโยทยาน ถูกลอบสังหารเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ขณะดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย[2] การลอบสังหารดังกล่าว เกิดขึ้นในบรรยากาศทางการเมืองที่มีความตึงเครียดอย่างมาก มีการลอบสังหารผู้นำชาวนา กรรมกร นิสิตนักศึกษา และนักการเมืองหัวก้าวหน้าถูกสังหารไปแล้วหลายราย และหลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาผู้ชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน
- ↑ 2.0 2.1 บุญสนอง บุณโยทยาน: นักสังคมนิยมและนักวิชาการชาวไทย (1936-1976) โดย คาร์ล เอ. ทร็อกกี้ (Carl A. Trocki) แปลจาก Carl A. Trocki, "Boonsanong Punyodyana: Thai Socialist and Scholar, 1936-1976," Bulletin of Concerned Asian Scholars. 9: 3 (July-September 1977), pp.52-54.
- ↑ บทความร่วมรำลึกดร.บุญสนอง บุณโยทยาน เก็บถาวร 2018-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, 27 กุมภาพันธ์ 2553
- ↑ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน : นักวิชาการประชาธิปไตยและสังคมนิยม, หนังสือพิมพ์ความจริงวันนี้, 28 กุมภาพันธ์ 2553
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ขบวนการสังคมนิยมไทย
- วิดีโอจากงานเสวนา "ปลุกชีวิต บุญสนอง บุณโยทยาน ตื่นตระหง่านเดินสู่สังคมนิยม" (ช่วง คำ ผกา) จัดโดย กลุ่มนักเขียนเพื่อชีวิตและสังคม 28 กุมภาพันธ์ 2553 ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา