บุญชง วีสมหมาย
นายบุญชง วีสมหมาย (13 มีนาคม พ.ศ. 2474 - 19 เมษายน พ.ศ. 2546) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในสมัยของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกวุฒิสภา
นายบุญชง วีสมหมาย ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | เดช บุญ-หลง |
ถัดไป | นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 มีนาคม พ.ศ. 2474 อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ |
เสียชีวิต | 19 เมษายน พ.ศ. 2546 (อายุ 72 ปี) |
พรรค | ไทยรักไทย (2542-2546) |
คู่สมรส | ทันตแพทย์หญิงกรองกาญจน์ วีสมหมาย |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
นายบุญชง วีสมหมาย เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2474 เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายเซ่งซอย กับนางบุญ วีสมหมาย มีพี่น้อง 6 คน[2] สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย และระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการ จากวิทยาลัยครูสุรินทร์ สมรสกับท.พญ.กรองกาญจน์ วีสมหมาย อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดศรีสะเกษ มีบุตร-ธิดา 5 คน
นายบุญชง วีสมหมาย เสียชีวิต เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2546 ด้วยอายุ 72 ปี[3]
การทำงานแก้ไข
นายบุญชง วีสมหมาย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2519 เป็นสมัยแรก ในสังกัดพรรคกิจสังคม เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2523 จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี พ.ศ. 2538 และเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2539[4] ต่อมาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย
ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายบุญชง วีสมหมาย ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสำคัญหลายฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติระเบียบการปฏิบัติราชการของทบวงมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทักษิณ พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ[5]
นายบุญชง วีสมหมาย เป็นผู้ที่มีบทบาทในการผลักดันให้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ โดยริเริ่มขอใช้พื้นที่จากผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อปี พ.ศ. 2537 และได้เริ่มขยายวิทยาเขตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และรับนักศึกษาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540[6]
การเชิดชูเกียรติแก้ไข
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการจัดสร้างอนุสาวรีย์นายบุญชง วีสมหมาย เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงนายบุญชง ผู้ริเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยเริ่มต้นสร้างเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[9]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "บุคคลสำคัญทางวัฒนธรรม จังหวัดศรีสะเกษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-18. สืบค้นเมื่อ 2010-06-21.
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ "สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-08-19.
- ↑ ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไซต์ thaiscouts
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |