บางกอก ฮอลล์

(เปลี่ยนทางจาก บีอีซี-เทโร ฮอลล์)

บางกอก ฮอลล์ (อังกฤษ: Bangkok Hall) เป็นศูนย์ประชุมและโรงมหรสพอเนกประสงค์ในสวนลุมไนท์บาซาร์ ตั้งอยู่ด้านในพื้นที่ทางเข้าหลักที่เชื่อมต่อจากถนนวิทยุ บริเวณซอยอรุณมักกินนอนในปัจจุบัน บริหารโดยบริษัท พี.คอน.ดีเวลล็อปเม้นท์(ไทย) จำกัด ใช้จัดกิจกรรมความบันเทิงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะคอนเสิร์ต[1] มีพื้นที่ทั้งหมด 10,000 ตารางเมตร ความจุรวม 6,000 ที่นั่ง

บางกอก ฮอลล์
ที่อยู่ซอยอรุณมักกินนอน ถนนวิทยุ
ที่ตั้งแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ผู้ดำเนินการบริษัท พี.คอน.ดีเวลล็อปเม้นท์(ไทย) จำกัด
เริ่มสร้างพ.ศ. 2546
เปิดใช้งานพ.ศ. 2546
ปิดพ.ศ. 2553
ทำลายพ.ศ. 2553
ชื่อเดิมบีอีซี-เทโร ฮอลล์
ที่นั่งแบบห้องเรียน
6,000 ที่นั่ง
พื้นที่ปิดล้อม
พื้นที่ทั้งหมด10,000 ตารางเมตร (110,000 ตารางฟุต)
ที่จอดรถ3,500 คัน
ขนส่งมวลชน ลุมพินี
การใช้งาน
บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (มี.ค. 2547–มี.ค. 2550)

บางกอก ฮอลล์ สร้างเสร็จแและเปิดให้บริการในช่วงปี พ.ศ. 2546 ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้เช่าพื้นที่ทั้งหมดของบางกอก ฮอลล์ และเปลี่ยนชื่อเป็น บีอีซี-เทโร ฮอลล์ (อังกฤษ: BEC-TERO Hall) เป็นระยะเวลา 3 ปี และใช้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตของศิลปินที่มีชื่อเสียงที่บีอีซี-เทโร เป็นผู้จัดหลัก เช่น ไบรอัน เฟอร์รี, เดอะ พรีเทนเดอร์ส[2] และแบล็กอายด์พีส์[3] จนหมดสัญญาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550[4] จึงเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นบางกอก ฮอลล์

บางกอก ฮอลล์ ถูกรื้อถอนเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2553 หลังจากสวนลุมไนท์บาซาร์ถูกศาลสั่งให้ปิดกิจการและให้เจ้าของคืนพื้นที่ทั้งหมดให้แก่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นกลุ่มทีซีซีได้ชนะการประมูลที่ดินบริเวณนี้และพัฒนาเป็นโครงการ วัน แบงค็อก ทางโครงการได้ก่อสร้างศูนย์ประชุมขึ้นมาใหม่ในที่ตั้งและขนาดพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับบางกอก ฮอลล์ ใช้ชื่อว่า วัน แบงค็อก ฟอรัม

การใช้งาน

แก้

งานที่จัดในพื้นที่

แก้

งานที่เคยมีกำหนดจัดในพื้นที่

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พาทัวร์ สวนลุมไนท์บาซาร์ ชอปปิ้งยามราตรีเวทีวัดไอเดีย". สนุก.คอม. 9 ธันวาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2025.
  2. "บีอีซี-เทโร ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าวและงานคอนเสิร์ต ศิลปิน ไบรอัน เฟอรี่ และ วง เดอะ พรีเทนเดอร์ส". RYT9. 20 กุมภาพันธ์ 2004. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2025.
  3. "แบล็ก อายด์ พีส์ เยือนไทย ประชันคอนเสิร์ตกับ โจอี้ บอย". สยามโซน.คอม. 2 พฤษภาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2025.
  4. รุ่งฟ้าไพศาล, ขวัญชัย (22 มิถุนายน 2006). "BEC-Tero to build permanent centre for exhibitions, concerts" [บีอีซี-เทโร เตรียมก่อสร้างศูนย์แสดงนิทรรศการและคอนเสิร์ตถาวร]. เดอะ เนชั่น (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กรกฎาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2025.
  5. "สั่งปิด!! บางกอก ฮอลล์...แฟนเพลงชาวไทยลุ้นระทึก King Soft Pop...AIR SUPPLY (แอร์ ซัพพลาย) ยืนยันไม่กลับลำ !! บินตรงโชว์ไทยแน่นอน". RYT9. 13 มิถุนายน 2008. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)