บิกแบง (วงดนตรีเกาหลีใต้)

(เปลี่ยนทางจาก บิ๊กแบง (วงดนตรีเกาหลี))

บิกแบง (เกาหลี빅뱅; อังกฤษ: Big Bang, มักเขียน BIGBANG) เป็นบอยแบนด์เกาหลีใต้ ก่อตั้งโดยวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสามคนคือ แทยัง, จี-ดรากอน และแดซ็อง (อดีตสมาชิก2คน ซึงรี ได้ประกาศยุติกิจกรรมในอุตสาหกรรมบันเทิงในเดือนมีนาคม 2019 และ ทีโอพี ประกาศว่าออกจากวงในเดือนพฤษภาคม 2023)[2] พวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "King of K-POP" และช่วยเผยแพร่กระแสเกาหลีไปทั่วโลกและถือเป็นหนึ่งในศิลปินที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเคป็อป[3][4][5][6][7][8] พวกเขาเป็นที่รู้จักจากการทดลองทางดนตรีที่สร้างเทรนด์การผลิตด้วยตนเองและการปรากฏตัวบนเวที[9][10]

บิกแบง
บิกแบงในเดือนมิถุนายน 2016
จากซ้ายไปขวา: ซึงรี (อดีต), ทีโอพี (อดีต), แทยัง, จี-ดรากอน และแดซ็อง
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดโซล ประเทศเกาหลีใต้
แนวเพลง
ช่วงปี
  • 2006–2018
  • 2022
ค่ายเพลง
กลุ่มย่อย
สมาชิก
อดีตสมาชิก

บิกแบงเป็นวงดนตรีที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับท่าเต้นมากที่สุดวงหนึ่งของทวีปเอเชียและได้รับการขนานนามว่าเป็น "Revolutionary Group of Hallyu Wave"[11] ที่มีแนวดนตรีเป็นเอกลักษณ์ของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับวงดนตรีเกาหลีอื่นๆ พวกเขายังนับว่าเป็นผู้นำบอยกรุปของ Hallyu อันเนื่องมาจากความสำเร็จและมีอิทธิพลที่ยิ่งใหญ่[12] ตั้งแต่พวกเขาเปิดตัวครั้งแรก บิกแบงยังประสบความสำเร็จในหลายๆ ซิงเกิล, และอัลบั้มเพลง ถึงแม้ว่าอัลบั้มเต็มชุดแรก บิกแบง วอรูม. วัน (อังกฤษ: BigBang Vol. 1) จะยังไม่ถูกใจแฟนเพลงเท่าไหร่เนื่องจากพวกเขาพยายามจะให้เป็นแนวเพลงแบบฮิปฮอปและอาร์แอนด์บีร่วมสมัย ต่อมาพวกเขาก็ประสบความสำเร็จจากอัลบั้มชนิดอีพีอัลบั้มแรกคือ ออลเวย์ส (อังกฤษ: Always) ในปี 2007 เกือบจะครบ 1 ปีที่ออกอัลบั้ม เพลงในอัลบั้มอย่าง ลายส์ (อังกฤษ: Lies) ก็ฮิตติดอันดับ 1 ในหลายชาร์ตเพลงเป็นเวลา 7 สัปดาห์ติดต่อกัน ตั้งแต่ชื่อเสียงของ ซอแทจีแอนด์บอยส์ บิกแบงก็เป็นกลุ่มมือใหม่วงแรกที่อยู่เป็นอับดับหนึ่งเป็นเวลานาน 1 เดือน ในปีเดียวกันบิกแบงได้รับรางวัล เอ็มเน็ต อาเซียน มิวสิก อวอร์ดส (อังกฤษ: Mnet Asian Music Awards) สาขา "Song of the Year Award" จากเพลง Lies

ต่อมาอัลบั้ม ฮอต อิชชิว (อังกฤษ: Hot Issue) และ สแตน อัพ (อังกฤษ: Stand up) ก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน[13] เพลงที่ฮิตอันดับ 1 คือ ฮารุ ฮารุ (อังกฤษ: Haru Haru) และ ลาร์ส แฟร์เวลล์ (อังกฤษ: Last Farewell) หลังจากที่พวกเขาได้รับรางวัล "ศิลปินแห่งปี" จากเอ็มเน็ต อาเซียน มิวสิก อวอร์ดส และจากโซล กาโย แดซัง อวอร์ด (อังกฤษ: Seoul Gayo Daesung Awards) ไปแล้ว ทางกลุ่มก็ได้ขยายพื้นที่ออกไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยออกหลากหลายมินิอัลบั้มและออกอากาศเป็นแบบซิงเกิลหลายเพลง แต่พวกเขาก็ยังไม่ได้รับการส่งเสริมที่ยิ่งใหญ่พอจนกระทั่งปีต่อมาพวกเขาได้ออกซิงเกิลแรก มาย ฮีฟเว่น (อังกฤษ: My Heaven) เป็นภาษาญี่ปุ่น นับแต่นั้นมาบิกแบงก็ประสบความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก บิกแบงจึงกลายเป็นวงดนตรีเกาหลีวงแรกที่ได้รับรางวัล เบสท์ นิวคัมเมอร์ จากสถานีออกอากาศทางเคเบิลทีวีแห่งญี่ปุ่น

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ สมาชิกบางคนในวงได้แยกตัวไปทำอัลบั้มเดี่ยว: แท ยัง และ จี-ดรากอน ออกอัลบั้มเดี่ยว ในขณะที่ ท็อป, แดซัง และซึงรี ได้ไปแสดงละคร มิวสิกวิดีโอ และร่วมรายการวาไรตี้ต่างๆ

บิกแบงเป็นเป็นตัวแทนของทวีปเอเชียแปซิฟิคที่ชนะรางวัล MTV Europe Music Awards สาขา Best Worldwide Act ที่กรุงเบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ[14] นอกเหนือจากวงควีนซึ่งเป็นวงดนตรีที่ไม่ได้มาจากทวีปอเมริกาเหนือและยังเป็นวงดนตรีจากทวีปเอเชียวงแรกที่ได้รับรางวัลนี้

ประวัติ

แก้

วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ เป็นค่ายเพลงที่มีชื่อเสียงทางด้านเพลงฮิปฮอปและอาร์แอนด์บีของเกาหลี ได้ออดิชั่นเด็กกลุ่มหนึ่งเข้ามาฝึก ซึ่งรวมถึง จี-ดรากอน และ แทยัง นั้นเป็นศิลปินฝึกหัดอยู่ถึง 6 ปี ทั้งคู่เคยมีโปรเจกต์เฉพาะกิจชื่อ GDYB และเคยไปร้องร่วมกับเซเว่นและเป็นแบ็คอัพให้กับหลายวงในวายจี จี-ดรากอนยังเป็นโปรดิวเซอร์และแต่งเพลงในอัลบั้มบิกแบงอีกหลายเพลง แทยัง ตำแหน่งร้องนำเข้ามาเป็นศิลปินฝึกหัดวายจีตั้งแต่อายุ 12

6 ปีผ่านไปหลังจาก วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ได้ออดิชั่นกลุ่มเด็ก ในที่สุด ยัง ฮย็อน-ซ็อก เจ้าของค่ายเพลงประกาศโครงการ Big Bang Project โดยคัดหาเด็กมาสร้างเป็นกลุ่มฮิปฮอป โดยวางสมาชิกตัวยืนไว้สองคนคือ จี-ดรากอน และ แทยัง ส่วนการคัดเด็กที่เหลือจากรายการแนวสารคดี+เรียลลิตี้ ชื่อรายการ "Big Bang Documentary"

ได้มีการคัดตัวเด็กมาอีก 4 คน และจะถูกคัดออกบางส่วนเมื่อจบรายการ โดยเด็กทั้ง 6 จะถูกฝึกทุกอย่างทั้งการร้อง การเต้น การแร็ป การแต่งเพลง ภาษาเอเชียที่ 2 ฯลฯ ทุกสัปดาห์จะมีการประเมินผล ในที่สุดวันตัดสินคัดเลือกก็มาถึง ยัง ฮย็อน-ซ็อก ตัดสินใจคัดเด็กออก 2 คนคือ ซึง รี และ Sol-1 แต่ยังคงอนุญาตให้ทั้งสองคนสามารถใช้ห้องซ้อมได้ แต่จะไม่ได้รับการฝึกจากครูเหมือนเคย และในที่สุด วายจี ได้เรียกตัว ซึงรี และ Sol-1 กลับมาเดบิวท์อีกครั้ง และคนที่ได้รับเลือกคือ ซึงรี เหตุผลที่ ซึงรี ได้รับการคัดเลือก เพราะเขามีการพัฒนาเรื่องการร้องเพลงมากขึ้นและมีความมั่นใจในตัวเอง ในขณะที่ Sol-1 นั้น เป็นคนขี้อายเมื่อขึ้นแสดงโชว์ จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเป็นนักร้องของเขา เขาจึงไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบนี้ แต่ถึงแม้ว่า Sol-1 จะไม่ได้รับคัดเลือกก็ยังมีแฟนคลับที่คอยสนับสนุนและให้กำลังใจเขาอยู่เสมอ โดยการทำเว็บไซต์ของ Sol-1 เพื่อให้เขาตั้งใจฝึกฝนและพัฒนาตนเองต่อไป

ซิงเกิลแรก Dirty Cash เพลงป็อบสนุกสนาน กลิ่นอายฮิปฮอปที่ได้โปรดิวเซอร์ชื่อดัง Andy Love (อดีตนักร้องวง เพตชอปบอยส์) และ Jos Jorgensen ที่มีผลงานเพลงธีม X-factor และ อเมริกาก็อดทาเลนท์ มาแต่งช่วยทำนองและเรียบเรียง เพลงนี้ จี-ดรากอน หัวหน้าวงและโค-โปรดิวเซอร์ยังได้โชว์ความสามารถในการแต่งท่อนแรพทั้งหมด ในอัลบั้ม BIGBANG VOL.1 สมาชิกแต่ละคนได้แต่งเนื้อร้องและก็มีผลงานโซโล่ของตนเอง

2000–2006: การก่อตั้งและเปิดตัว

แก้

ก่อนที่จะมีการเปิดตัวของวง สมาชิกหลายคนได้แสดงตัวต่ออุตสาหกรรมบันเทิงแล้ว หัวหน้าวง จี-ดรากอน และนักร้องหลัก แทยัง เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการฝึกหัดภายใต้วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ เมื่ออายุได้ 11 ปี ก่อนที่จะเข้าสู่วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ พวกเขาเคยเป็นนักแสดงและนายแบบเด็กมาก่อนและเคยเป็นเด็กฝึกหัด ค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ เป็นระยะเวลา 5 ปี ก่อนที่ทั้งคู่จะตัดสินใจออกจากการเป็นเด็กฝึกของค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ เพราะรู้ว่าแนวเพลงที่ทั้งคู่ต้องการเป็นแนวฮิปฮอปซึ่งขัดแย้งกับความต้องการของทางค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ จึงตัดสินใจมาออดิชั่นที่วายจีเอนเตอร์เทนเมนต์แทน พวกเขาได้รับการแนะนำให้รู้จักบริษัทครั้งแรกเมื่อได้รับเลือกให้แสดงเวอร์ชันเด็กในมิวสิกวิดีโอเพลง A-YO ของศิลปิน Jinusean เมื่อปี 2001 ภายหลังจากถ่ายมิวสิกวิดีโอ พวกเขาก็ตัดสินใจเข้าร่วมกับวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ตั้งแต่พวกเขาผ่านการร้องฮิปฮอปและอาร์แอนด์บี ทั้งสองได้เปิดตัวภายใต้ชื่อว่า GDYB และออก 2 เพลงภายใต้อัลบั้มวายจีแฟมิลี่ อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้ออกอัลบั้มที่พวกเขาเป็นเจ้าของ หนึ่งในอัลบั้มที่รู้จักกันดีคือ "Unfold to Higher Place" ซึ่งแสดงกับ Perry และ Gummy ทั้งคู่ยังโดดเด่นในอัลบั้มของศิลปินค่ายวายจีอื่นๆอีก เช่น Wheesung, Gummy, Perry, Masta Wu, และ Se7en ขณะที่เป็นแร็ปเปอร์นั้น จี-ดรากอน ยังได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของวายจีแฟมิลี่ต่างๆ ซึ่งวายจีแฟมิลี่ประกอบด้วย 1TYM, Perry, Masta Wu, Jinusean, Se7en และ Gummy ในเวลานั้น ถึงแม้ว่า แทยัง เป็นคนแรกที่ได้รับการฝึกให้เป็นแร็ปเปอร์ แต่เขาก็หันไปเป็นนักร้องทันทีหลังจากที่ได้ยินว่าวายจีเอ็นเตอร์เทนเมนต์ต้องการน้องร้องหลังจากที่เปิดตัวบิกแบงแล้ว ทั้ง จี-ดรากอน และ แทยัง ได้จี้ทั้งในและนอกกิจกรรมของบริษัทด้วยกับจนกระทั่งการเปิดตัวครั้งสุดท้ายของพวกเขากับบิกแบง

ทีโอพีเคยเป็นแร็ปเปอร์ใต้ดินใช้ชื่อว่า เทมโป หนึ่งในเพลงที่ฮิตของเขาคือ Buckwild กับศิลปินที่ชื่อ เอ็นบีเค เกรย์ จี-ดรากอน ติดต่อไปยัง ทีโอพี เมื่อวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์กำลังหาผู้สมัครเพื่อที่จะสร้างบอยกรุป ทั้งคู่ได้บันทึกการสาธิตหลายครั้งและส่งไปให้ ยัง ฮย็อน-ซ็อก ซีอีโอของวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ผู้ซึ่งต่อมาชวนให้ทีโอพีมาออดิชั่น อย่างไรก็ตาม เขาถูกปฏิเสธโดยถูกบันทึกว่ามีน้ำหนักและบุคลิกภาพโดยรวมที่ดูตัวใหญ่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม หกเดือนต่อมา เขาจึงได้รับการตอบกลับจากค่ายวายจีเอนเตอร์เทนเมนท์หลังจากลดน้ำหนักแล้ว

2006 : เปิดตัวครั้งแรก, มินิอัลบั้มชุดแรก Bigbang Vol.1

แก้

บิกแบงเปิดตัววงครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2006 ที่ยิมนาสติก อารีน่า ในโซล โอลิมปิก ปาร์ค ระหว่างการแสดงคอนเสิร์ตวายจีแฟมิลี่คอนเสิร์ตปีที่ 10[15]

ตามมาด้วยซิงเกิลแรกของวงคือ Bigbang ประกอบด้วยเพลง We Belong Together, A Fool's Only Tears โดยร้องร่วมกับ Park Bom, และเพลง This Love ซึ่งดัดแปลงมาจากเพลงวงร็อคอเมริกันอย่างมารูนไฟฟ์, เรียบเรียงใหม่โดยจี ดรากอน ยอดขายซิงเกิลนี้อยู่ที่ 40,000 ชุด[16] ซิงเกิลที่สองคือ Bigbang Is V.I.P. วางแผงเมื่อเดือนกันยายน ทำยอดขายทั้งหมดอยู่ที่ 32,000 ชุด[16] ซิงเกิลสุดท้ายคือ Bigbang 03 ยอดขายทั้งหมด 40,000 ชุด[16] เมื่อตอนสิ้นเดือนธันวาคม 2006 บิกแบงจัดคอนเสิร์ตครั้งแรก The Real เดือนต่อมาได้ออกอัลบั้ม Since 2007 ทำยอดขายทั้งหมดที่ 48,000 ชุดเมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2007 [16]

สมาชิก

แก้

ปัจจุบัน

อดีต

ผลงานเพลง

แก้

ทัวร์และคอนเสิร์ต

แก้

รางวัลและการเสนอชื่อ

แก้

Music Bank

แก้
Year Date Song
2007 September 7 Lies
October 5
October 19
December 14 Last Farewell
December 21
2008 January 11 Last Farewell
August 22 Haru Haru
September 5
September 12
September 19
September 26
November 21 Sunset Glow
November 28
December 16
2011 March 4 Tonight
March 11
September 17
April 22 Love Song
2012 March 9 Blue
March 16

Inkigayo

แก้
Year Date Song
2007 September 9 Lies
December 16 Last Farewell
December 16
2008 January 13 Last Farewell
August 24 Haru Haru
August 31
September 7
November 30 Sunset Glow
December 7
December 14
2011 March 6 Tonight
March 13
March 20
April 17 Love Song
April 24
May 1
2012 March 11 Blue
March 18
March 25

M! Countdown

แก้
Year Date Song
2007 September 27 Lies
August 25
2008 January 17 Last Farewell
August 28 Haru Haru
September 4
September 11
September 25
December 4 Sunset Glow
2011 March 13 Tonight
March 20
March 27
April 28 Love Song
2012 March 8 Blue
March 15 Fantastic Baby
March 23

Music on Top

แก้
Year Date Song
2012 March 14 Blue

อ้างอิง

แก้
  1. Fujimori, Sachi (November 8, 2012). "Leading up to its Newark shows, is Big Bang ready to bring K-pop to the U.S.?". NorthJersey. The Record. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016. สืบค้นเมื่อ November 16, 2012.
  2. https://news.abs-cbn.com/entertainment/03/11/19/big-bangs-seungri-announces-retirement-amid-controversy
  3. "Bigbang is going on tour: Get to know the kings of K-pop". The Straits Times. April 2, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2015. สืบค้นเมื่อ October 8, 2017.
  4. Cracan, Andreea-Mihaela (April 30, 2015). "Bigbang: The kings of k-pop are back". UK Blasting News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2015. สืบค้นเมื่อ October 7, 2017.
  5. Maria, Sherman (October 12, 2015). "K-Pop Kings Bigbang Fly Seoul's Soul to NYC". The Village Voice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2016. สืบค้นเมื่อ October 8, 2017.
  6. Lee, David (October 13, 2015). "Review: Kings of K-Pop Bigbang Performs First U.S. Show In 3 Years". Vibe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2015. สืบค้นเมื่อ December 12, 2015.
  7. Bui, Hoai-Tran (April 21, 2016). "BIGBANG: The biggest boy band in the world you probably haven't heard of". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2015. สืบค้นเมื่อ January 12, 2018. BIGBANG – unofficially called the "kings of K-pop" – are old pros in the increasingly youthful K-pop industry, still beating out newbie boybands and girl groups every year in both awards and album sales.
  8. Liu, Marian (February 18, 2017). "K-pop's growing pains: Why Asia's biggest bands are splitting up". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 30, 2017. สืบค้นเมื่อ October 7, 2017. In January, 'Kings of K-pop' Big Bang played their last concert before going on hiatus – after dominating the charts for 10 years.
  9. Brown, August (October 5, 2015). "Review BigBang explodes K-Pop convention at the Honda Center". tronc. Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2015. สืบค้นเมื่อ October 26, 2015.
  10. Sun, Rebecca (November 1, 2015). "Big Bang's Global Influence: How to Build a Boy Band That Lasts". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2016. สืบค้นเมื่อ December 11, 2015.
  11. Catherine Deen (2012-03-12). "K-Pop royalty Big Bang speaks to fans with 'Fantastic Baby'". Yahoo!. สืบค้นเมื่อ 2012-03-12.
  12. http://www.allkpop.com/2012/03/time-magazine-makes-another-mention-of-big-bangM
  13. Han, Sang-hee (2008-01-03). "Big Bang Will Knock on Japan". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2008-01-27.
  14. "MTV EMA 2001 Winners". สืบค้นเมื่อ 2011-11-07.
  15. "올 최고 기대주 빅뱅, 9월 중순부터 본격 활동 개시". Sports Chosun. 2006-08-21. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15. (เกาหลี)
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 "Album Sales For The Month of February 2007". Industry Association Of Korea (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15. (เกาหลี)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้