บิเซนเต ฟอกซ์

อดีตประธานาธิบดีเม็กซิโก

บิเซนเต ฟอกซ์ กูเอซซาดา (สเปน: Vicente Fox Quesada; 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 –) เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวเม็กซิโกซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 62 ของประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 จนถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เขาคือประธานาธิบดีของเม็กซิโกคนแรกที่ไม่ได้มาจากพรรคปฏิวัติแห่งชาติเม็กซิโก (พีอาร์ไอ) นับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 โดยเขานั้นสังกัดพรรคก้าวหน้าเม็กซิโก (พีเอเอ็น) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวา[1][2][3][4]

บิเซนเต ฟอกซ์
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการของฟอกซ์ในปี พ.ศ. 2543
ประธานาธิบดีเม็กซิโกคนที่ 62
ดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าเอร์เนสโต เซดิโย
ถัดไปเฟลิเป กัลเดรอน อิโนโฆซา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 (81 ปี)
รัฐกัวนาฮัวโต ประเทศเม็กซิโก
พรรคการเมืองพรรคก้าวหน้า (พีเอเอ็น)
คู่สมรสมาริตา ซาฆากุน
บุตร4 คน

ฟอกซ์ดำเนินนโยบายแบบการเมืองฝ่ายขวาเริ่มนำระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่มาใช้ในประเทศ รัฐบาลของเขามีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับสหรัฐในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช[5]ซึ่งแตกต่างจากรัฐบาลก่อนหน้าในเม็กซิโกที่มีจุดยืนที่ขัดแย้งกับสหรัฐมาโดยตลอด รัฐบาลของเขาประสบความล้มเหลวในความพยายามเพิ่มภาษีเภสัชรวมถึงการสร้างสนามบินในภูมิภาคเต็กซ์โกโก[6][7] นอกจากนี้เขายังขัดแย้งกับประเทศคิวบาภายใต้การนำของฟิเดล กัสโตร อีกด้วย[8] การลอบสังหารดิกนา โอชัวซึ่งเป็นทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนใน พ.ศ. 2544 ทำให้รัฐบาลของเขาถูกตั้งคำถามในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความพยายามที่จะกำจัดมรดกของพรรคพีอาร์ไอ

ก่อนที่รัฐบาลของเขาจะหมดวาระไม่นาน เขาได้มีความขัดแย้งกับอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ประธานาธิบดีเม็กซิโกคนที่ 65 ซึ่งขณะนั้นโอบราดอร์ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีของเม็กซิโกซิตี โดยฟอกซ์และรัฐบาลพยายามถอดถอนโอบราดอร์ออกจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีและขัดขวางไม่ให้โอบราดอร์ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศในปี พ.ศ. 2549[9][10] นอกจากนี้ รัฐบาลของฟอกซ์ยังมีปัญหาขัดแย้งทางการทูตระหว่างประเทศเวเนซุเอลาและประเทศโบลิเวียอันเนื่องมาจากการสนับสนุนให้สร้างเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาซึ่งถูกคัดค้านโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศ[11][12] ใน พ.ศ. 2549 พรรคพีเอเอ็นซึ่งนำโดยเฟลิเป กัลเดรอน อิโนโฆซาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีซึ่งคะแนนนำโอบราดอร์เพียงเล็กน้อย โดยการเลือกตั้งครั้งนั้นถูกมองว่ามีการทุจริตจึงทำให้ประชาชนออกมาประท้วงทั้งประเทศ และในปีเดียวกันนั้นเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในรัฐวาฮากาซึ่งเป็นการประท้วงเพื่อขับไล่อูเอซิส รูอีซ ออร์ติสซึ่งเป็นผู้ว่าการรัฐวาฮากาในช่วงเวลานั้น[13] รวมถึงยังเกิดการจลาจลที่ซานซัลบาดอร์อาเนโกซึ่งทำให้รัฐบาลของเขาถูกตัดสินโดยศาลสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในทวีปอเมริกาว่ามีความผิดฐานละเมิดสิทธิมนุษยนชจากการปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรงซึ่งความไม่สงบเหล่านี้ส่งผลให้ฟอกซ์เสียคะแนนความนิยมไปมาก[14] อย่างไรก็ตามเขาได้รับการยอมรับในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและลดอัตราความยากจนของประเทศเม็กซิโกลงจากร้อยละ 43.7 ในปี พ.ศ. 2543 ลดลงเหลือร้อยละ 35.6 ในปี พ.ศ. 2549[15]

เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546 ฟอกซ์เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลและเข้าร่วมการะประชุมเอเปคในปี พ.ศ. 2546 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ[16] ซึ่งในขณะนั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือทักษิณ ชินวัตร

หลังจากที่เขาลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้กลับไปยังรัฐกัวนาฮัวโตอันเป็นบ้านเกิดของเขา เขามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์การศึกษา ห้องสมุด และพิพิธภัณฑ์บิเซนเต ฟอกซ์ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐกัวนาฮัวโต เขายังเคยดำรงตำแหน่ประธานศูนย์กลางประชาธิปไตยนานาชาติ (ซีดีไอ)[17] ซึ่งเป็นสมาคมของพรรคการเมืองฝ่ายขวากลางระดับนานาชาติ ต่อมาฟอกซ์ถูกขับออกจากพรรคพีเอเอ็นใน พ.ศ. 2556 หลังจากการรับรองการสมัครลงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคพีอาร์ไอในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2555[18]

อ้างอิง แก้

  1. Vincent Mosco; Dan Schiller (2001). Continental Order?: Integrating North America for Cybercapitalism. Rowman & Littlefield Publishers. p. 111. ISBN 9780742509542.
  2. Charles Hauss (1 January 2018). Comparative Politics: Domestic Responses to Global Challenges. p. 391. ISBN 9781337554800.
  3. "El populismo de derecha" (ภาษาสเปน). Proceso. 10 September 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2019. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
  4. "Revolución en México". El País (ภาษาสเปน). 4 July 2000. สืบค้นเมื่อ 4 March 2018.
  5. "Con Estados Unidos a una sana distancia". The Washington Post. 3 March 2006. สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
  6. "Vicente Fox's rocky first year as president of Mexico". The San Diego Union-Tribune. 13 December 2001. สืบค้นเมื่อ 10 March 2018.
  7. "La Jornada Virtu@l". jornada.com.mx. n.d. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  8. "Cuba - Castaneda - Mexico - Castro - Worldpress.org". worldpress.org. n.d. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  9. Editorial Desk (7 April 2005). "Let Mexico's Voters Decide". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2005. สืบค้นเมื่อ 16 June 2008.
  10. Editorial desk (6 April 2005). "Decision on Democracy". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2012. สืบค้นเมื่อ 15 February 2019.
  11. O'Grady, Mary Anastasia. Why Fox's Outrage? Chavez's Meddling in Mexico. The Wall Street Journal. (Eastern edition). New York, N.Y.: 18 November 2005. pg. A.17
  12. "Chavez renews trade pact attack". 20 November 2005. สืบค้นเมื่อ 15 February 2019 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
  13. Diana Denham and the C.A.S.A. Collective (บ.ก.). Teaching Rebellion: Stories from the Grassroots Mobilization in Oaxaca.
  14. "Historic Judgment of Inter-American Court Orders Mexico to Punish Repression and Torture in Atenco". CEJIL. 21 December 2018. สืบค้นเมื่อ 7 May 2022.
  15. "Solidaridad, Oportunidades y Prospera no disminuyeron la pobreza". Milenio (ภาษาสเปน). 7 July 2015. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  16. History of diplomatic relations between Mexico and Thailand (in Spanish)
  17. "Who's Who". cdi-idc.com. CDI-IDC. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2013. สืบค้นเมื่อ 4 February 2019.
  18. [archivo.eluniversal.com.mx/nacion/203190.html archivo.eluniversal.com.mx/nacion/203190.html]