บารมี

(เปลี่ยนทางจาก บารมี 10)

บารมี (บาลี: pāramī, पारमी; สันสกฤต: pāramitā, पारमिता) ปฏิปทาอันยวดยิ่ง มีความหมาย 2 ประการ ประการแรก คือ บรม แปลว่าดีเลิศ สูงสุด และประการต่อมาหมายถึง การไป คือ ไปให้ถึงอีกฝังหนึ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น[1]

เถรวาท แก้

ในนิกายเถรวาทมี 10 อย่าง จึงเรียกว่า ทศบารมี หรือ บารมี ๑๐ คือ กำลังใจที่ต้องทำให้เต็ม ไม่พร่อง

  1. ทาน การให้
  2. ศีล การรักษาศีลให้เป็นปกติ
  3. เนกขัมมะ การออกจากกาม
  4. ปัญญา ความรู้
  5. วิริยะ ความเพียร
  6. ขันติ ความอดทนอดกลั้น
  7. สัจจะ ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ
  8. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง
  9. เมตตา ความรักด้วยความปรานี
  10. อุเบกขา ความวางเฉย

สามารถแยกออกเป็นหมวด ได้ 3 หมวดและจัดออกเป็นคู่ๆที่สนับสนุนกันในเวลาที่บำเพ็ญบารมี ได้แก่

ศีล มี 4 ได้แก่ ทาน คู่กับ เมตตา ศีล คู่กับ เนกขัมมะ

สมาธิ มี 4 ได้แก่ วิริยะ คู่กับ ขันติ สัจจะ คู่กับ อธิษฐาน และ

ปัญญา มี 2 ได้แก่ ปัญญา คู่กับ อุเบกขา

ทานบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ศีลบารมี (ทานที่ให้โดยผู้มีศีลย่อมสมบูรณ์ยิ่ง)

ศีลบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย เนกขัมมะบารมี (ศีลสมบูรณ์ได้ด้วยการการสำรวมอินทรีย์ทั้ง6จากกามคุณ)

เนกขัมมะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ปัญญาบารมี (การสำรวมในกาม สมบูรณ์ด้วยการพิจารณาตามจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่งาม)

ปัญญาบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย วิริยะบารมี (ปัญญาจะฉลาดลึกซึ้งกว้างขวางก็ด้วยการหมั่นพิจารณาหมั่นตั้งคำถามหมั่นศึกษาในธรรม)

วิริยะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ขันติบารมี (ความเพียรพยายามจะต่อเนื่องยาวนานได้เพราะอาศัยความอดทน)

ขันติบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย สัจจะบารมี (ความอดทนจะมั่นคงได้ด้วยความตั้งใจจริง)

สัจจะบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย อธิฏฐานบารมี (ความตั้งใจจริงมุ่งมั่นอยู่ได้ด้วยการมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน)

อธิฏฐานบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย เมตตาบารมี (ทุกๆเป้าหมายในชีวิตต้องประกอบด้วยเมตตาธรรม ไม่สร้างความเดือนร้อนแก่ผู้ใด ดุจดังพระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่ปรารถนาจะช่วยให้สรรพสัตว์พ้นทุกข์จากสังสารวัฏ)

เมตตาบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย อุเบกขาบารมี (ความมีเมตตาต้องมีการให้อภัยละวางความอิจฉาปราศจากอคติยอมรับผลแห่งเหตุ)

อุเบกขาบารมี สมบูรณ์ได้ด้วย ทานบารมี (ความมีอุเบกขามิใช่ความวางเฉยแบบไม่สนใจแต่ต้องรู้จักเสียสละ)

ในแนวคิดบารมีของเถรวาท ผู้บารมีทั้ง10ประการ บารมีแต่ล่ะอย่างย่อมส่งเสริมเพิ่มอำนาจให้กันและกัน จนทวีคูณจนหาประมาณมิได้ สามารถทำปุถุชนคนธรรมดาให้กลายเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มหายาน แก้

พระสูตรมหายาน เช่น ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร เป็นต้น ถือว่าบารมีมี 6 ประการได้แก่

  1. ทาน
  2. ศีล
  3. ขันติ
  4. วิริยะ
  5. ฌาน
  6. ปัญญา

แต่ในคัมภีร์ทศภูมิกสูตร ได้เพิ่มอีก 4 ข้อ รวมเป็นบารมี 10 4 ข้อนั้นได้แก่

  1. อุบาย
  2. ปณิธาน
  3. พละ
  4. ญาณ

อ้างอิง แก้

  1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), บารมี 10 หรือ ทศบารมี, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม