จาการ์ตา

(เปลี่ยนทางจาก บาตาเวีย)

จาการ์ตา (อินโดนีเซีย: Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาฟียา หรือ ปัตตาเวีย (Batavia) หรือ “บัตเตเวีย” ตามพระราชนิพนธ์ “ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน” ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คนไทยในอดีตเรียก กะหลาป๋า

จาการ์ตา
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
Daerah Khusus Ibukota Jakarta
ตราราชการของจาการ์ตา
ตราอาร์ม
สมญา: 
  • The Big Durian
  • New York Van Java
  • J-Town[1]
คำขวัญ: 
Jaya Raya  (สันสกฤต)
"ชัยชนะและความยิ่งใหญ่"
จาการ์ตาตั้งอยู่ในเกาะชวา
จาการ์ตา
จาการ์ตา
จาการ์ตาตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา
จาการ์ตา
จาการ์ตา (ประเทศอินโดนีเซีย)
จาการ์ตาตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จาการ์ตา
จาการ์ตา
จาการ์ตา (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
จาการ์ตาตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
จาการ์ตา
จาการ์ตา
จาการ์ตา (ทวีปเอเชีย)
พิกัด: 6°10′30″S 106°49′39″E / 6.17500°S 106.82750°E / -6.17500; 106.82750
ประเทศ อินโดนีเซีย
เขต
สถาปนา22 มิถุนายน พ.ศ. 2070[2]
สถาปนาเป็นบาตาเวีย30 พฤษภาคม พ.ศ. 2162
สถานะนคร4 มีนาคม พ.ศ. 2164[2]
สถานะจังหวัด{28 สิงหาคม พ.ศ. 2504[2]
เมืองหลักจาการ์ตากลาง
การปกครอง
 • ประเภทเขตการปกครองพิเศษ
 • องค์กรSpecial Capital Region of Jakarta Provincial Government
 • ผู้ว่าราชการรักษาการเฮอรู บูดี ฮาร์โตโน
 • รองผู้ว่าราชการตำแหน่งว่าง
 • นิติบัญญัติสภาผู้แทนประชาชนภูมิภาคจาการ์ตา
พื้นที่
 • เขตเมืองหลวงพิเศษ664.01 ตร.กม. (256.38 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง3,540 ตร.กม. (1,367 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล7,062.5 ตร.กม. (2,726.8 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 34 ในอินโดนีเซีย
ความสูง8 เมตร (26 ฟุต)
ประชากร
 (ประมาณกลาง พ.ศ. 2564)[3]
 • เขตเมืองหลวงพิเศษ10,562,088 คน
 • อันดับที่ 6 ในอินโดนีเซีย
 • ความหนาแน่น15,978.2 คน/ตร.กม. (41,383 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[4]34,540,000 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง9,756 คน/ตร.กม. (25,270 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[5]33,430,285 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล4,733 คน/ตร.กม. (12,260 คน/ตร.ไมล์)
ประชากร
 • กลุ่มชาติพันธุ์
รายการ
 • ศาสนา (2565)[6]
เขตเวลาUTC+07:00 (เวลาอินโดนีเซียตะวันตก)
รหัสไปรษณีย์ (kode pos)10110–14540, 19110–19130
รหัสพื้นที่+62 21
รหัส ISO 3166ID-JK
ทะเบียนพาหนะB
จีดีพี (เฉลี่ย)2565
 - รวม3,186.5 ล้านล้านรูปียะฮ์ (ที่ 1)
214.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
669.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พีพีพี)
 - ต่อหัว298.36 ล้านรูปียะฮ์ (ที่ 1)
 20,093 ดอลลาร์สหรัฐ
62,701 ดอลลาร์สหรัฐ (พีพีพี)
 - การเติบโตเพิ่มขึ้น 5.25%
เอชดีไอ (2022)เพิ่มขึ้น 0.817[7] (ที่ 1) – สูงมาก
GeoTLD.id
ท่าอากาศยานหลักท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน–ฮัตตา (CGK)
ท่าอากาศยานนานาชาติฮาลิม เปอร์ดานากูซูมา (HLP)
รถไฟชานเมือง
ระบบขนส่งมวลชนเร็ว
เว็บไซต์jakarta.go.id แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ประวัติศาสตร์

แก้

การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในพื้นที่ของจาการ์ตาในปัจจุบัน เท่าที่ปรากฏคือท่าเรือเกอลาปา (Kelapa) ซึ่งเอกสารไทยโบราณเรียกว่า กะหลาป๋า ใกล้ปากแม่น้ำจีลีวุง ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากถิ่นที่ตั้งของฮินดูตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 กะหลาป๋าเป็นท่าเรือใหญ่สำหรับราชอาณาจักรฮินดู ชื่อว่าซุนดา มีการบันทึกว่าชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ไปถึงกะหลาป๋า กษัตริย์ฮินดูทรงอนุญาตให้พ่อค้าชาวโปรตุเกสสร้างป้อมที่กะหลาป๋าในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตอนต้น ท่าเรือของจาการ์ตาในปัจจุบันยังคงมีชื่อว่า ซุนดาเกอลาปา (Sunda Kelapa) ตามชื่อถิ่นฐานยุคแรก

ในพ.ศ. 2070 เมืองถูกยึดครองโดยฟาตาฮิลลอฮฺหรือฟาเลเตฮาน (Fatahillah or Faletehan) ผู้นำอายุน้อยจากอาณาจักรใกล้เคียงจากทางเหนือ ฟาตาฮิลลอฮฺได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากเกอลาปาเป็น จายาการ์ตา (Jayakarta แปลว่า "มีชัยและเจริญรุ่งเรือง" ในภาษาชวา) หรือตรงกับ "ชยะ - กฤต" ใน ภาษาสันสกฤต แปลว่า "ชัยชนะอันเกิดขึ้นสมบูรณ์แล้ว" เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2070 ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันก่อตั้งกรุงจาการ์ตา ชื่อ “จายาการ์ตา” นี้เองที่ต่อมาได้กลายมาเป็นชื่อ จาการ์ตา ในปัจจุบัน

ชาวดัตช์เข้ามาถึงจายาการ์ตาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในพ.ศ. 2162 กองกำลังของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) นำโดยยัน ปีเตอร์โซน กุน (Jan Pieterszoon Coen) ยึดครองเมืองและเปลี่ยนชื่อจายาการ์ตาเป็นบาตาฟียา (Batavia) ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของชนเผ่าที่อาศัยในเนเธอร์แลนด์ในสมัยโรมัน (เอกสารไทยในสมัยก่อน เช่นพระราชนิพนธ์ “ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน” เรียกว่าเมือง “บัตเตเวีย” ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ เมืองบัตเตเวียภายใต้การปกครองของดัตช์นี้ถึงสามครั้งใน พ.ศ. 2413, 2439 และ 2444) บาตาฟียาหรือบัตเตเวียเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East Indies) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการขยายเมืองเมื่อชาวดัตช์เริ่มย้ายไปทางใต้ ไปที่พื้นที่สูงที่คาดว่ามีความอุดมสมบูรณ์กว่า ชาวอังกฤษยึดครองชวาใน พ.ศ. 2354 และครองอยู่ 5 ปีระหว่างที่เนเธอร์แลนด์ทำสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars) ในยุโรป ก่อนคืนให้ดัตช์

หลังจากที่การปกครองโดยตรงของเนเธอร์แลนด์ขยายไปทั่วทั้งหมู่เกาะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ตอนต้น ความสำคัญของบาตาฟียาได้เพิ่มขึ้น กลยุทธ์ของดัตช์ที่จะยังคงอำนาจและรายได้ภาษี ทำให้การส่งออกจากพื้นที่ใด ๆ ในภูมิภาคแทบทั้งหมดจะต้องผ่านบาตาฟียา ทำให้เมืองมีความสำคัญทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจตราบจนถึงปัจจุบัน

ประเทศญี่ปุ่นยึดครองบาตาฟียาในพ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเปลี่ยนชื่อเมืองโดยกลับมาใช้ชื่อ จาการ์ตา เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากคนในท้องถิ่น หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามใน พ.ศ. 2488 กองกำลังชาวดัตช์กลับเข้ายึดครองเมืองอีกครั้งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ชาวอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชไปก่อนแล้วในช่วงปลายสงคราม เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 จาการ์ตาเป็นศูนย์กลางของความพยายามของชาวดัตช์ที่จะยังคงอำนาจเหนืออาณานิคมเดิมระหว่างสงครามเอกราชอินโดนีเซีย ซึ่งยุติลงด้วยการรับรองการก่อตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเต็มรูปแบบเมื่อ พ.ศ. 2492

ภูมิประเทศ

แก้
ภาพพาโนรามากรุงจาการ์ตา

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของJakarta
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.5
(88.7)
32.3
(90.1)
32.5
(90.5)
33.5
(92.3)
33.5
(92.3)
34.3
(93.7)
33.3
(91.9)
33.0
(91.4)
32.0
(89.6)
31.7
(89.1)
31.3
(88.3)
32.0
(89.6)
32.6
(90.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 24.2
(75.6)
24.3
(75.7)
25.2
(77.4)
25.1
(77.2)
25.4
(77.7)
24.9
(76.8)
25.1
(77.2)
24.9
(76.8)
25.5
(77.9)
25.5
(77.9)
24.9
(76.8)
24.9
(76.8)
24.8
(76.6)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 389.7
(15.343)
309.8
(12.197)
100.3
(3.949)
257.8
(10.15)
139.4
(5.488)
83.1
(3.272)
30.8
(1.213)
34.2
(1.346)
30.0
(1.181)
33.1
(1.303)
175.0
(6.89)
123.0
(4.843)
1,706.2
(67.173)
ความชื้นร้อยละ 85 85 83 82 82 81 78 76 75 77 81 82 81
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 26 20 15 18 13 17 5 5 6 9 22 12 168
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 189 182 239 255 260 255 282 295 288 279 231 220 2,975
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization[8]
แหล่งที่มา 2: Danish Meteorological Institute (sun and relative humidity)[9]

อ้างอิง

แก้
  1. "A Day in J-Town". Jetstar Magazine. April 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2013. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Provinsi - Kementerian Dalam Negeri - Republik Indonesia" [Province - Ministry of Home Affairs - Republic of Indonesia] (ภาษาอินโดนีเซีย). Ministry of Home Affairs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2013. สืบค้นเมื่อ 14 August 2019.
  3. "Provinsi DKI Jakarta Dalam Angka 2021". Badan Pusat Statistik. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2021. สืบค้นเมื่อ 21 December 2022.
  4. "Demographia World Urban Areas" (PDF) (16th annual ed.). February 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 24 June 2020.
  5. "Basis Data Pusat Pengemangan Kawasan Perkotaan" [Urban area development centre database]. perkotaan.bpiw.pu.go.id. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  6. "ArcGIS Web Application".
  7. "Human Development Indices by Province, 2020-2021 (new method)" (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2021. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
  8. "World Weather Information Service – Jakarta". World Meteorological Organization. June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-19. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013.
  9. Cappelen, John; Jensen, Jens. "Indonesien - Jakarta, Java" (PDF). Climate Data for Selected Stations (1931-1960) (ภาษาเดนมาร์ก). Danish Meteorological Institute. p. 128. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-27. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้