บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Thai Oil Public Company Limited) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไทยออยล์ เป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายนํ้ามันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[3][4] และเป็นโรงกลั่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504[5][6][7] โดยมีธุรกิจหลักคือ การกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวัน ดร. สุพจน์ เตชวรสินสกุล เป็น ประธานกรรมการบริษัท นาย บัณฑิต ธรรมประจำจิต เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

ไทยออยล์
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:TOP
อุตสาหกรรมน้ำมันหรือแก๊ส
ก่อตั้ง3 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (62 ปี)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พื้นที่ให้บริการ
ประเทศไทย
บุคลากรหลัก
  • ศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ เตชวรสินสกุล(ประธานกรรมการบริษัท)
  • บัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
รายได้ลดลง 390,090 ล้านบาท (2557)[1]
รายได้สุทธิ
ลดลง (4,026) ล้านบาท (2557) [1]
สินทรัพย์ลดลง 192,802 ล้านบาท (2557) [2]
บริษัทแม่บริษัท ปตท. จำกัด
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

นอกจากนี้ ไทยออยล์มีระบบการบริหารจัดการที่มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ (Operational Excellence) โดยบริหารงานเป็นกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงธุรกิจ ทั้งธุรกิจการกลั่นน้ำมัน ธุรกิจปิโตรเคมีและธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน โดยร่วมวางแผนการผลิตก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนต่ำ ขณะเดียวกันมีคุณภาพสูงในระดับโรงกลั่นชั้นนำ (Top quartile) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทำให้ได้เปรียบเชิงต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนั้น ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องหลากหลาย เช่น ธุรกิจไฟฟ้า ธุรกิจสารทำละลาย ธุรกิจบริหารการขนส่งทางเรือและทางท่อ ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจผลิตสารตั้งต้นสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาด ธุรกิจบริการจัดเก็บนํ้ามันดิบ นํ้ามันปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และธุรกิจให้บริการด้านการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรสำหรับกลุ่มไทยออยล์

ธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์ แก้

ธุรกิจการกลั่นน้ำมัน แก้

ปัจจุบันโรงกลั่นนํ้ามันไทยออยล์สามารถผลิตนํ้ามันปิโตรเลียมสำเร็จรูปประมาณ 14,000 ล้านลิตรต่อปีหรือประมาณร้อยละ 25 ของกำลังการกลั่นรวมภายในประเทศ โดยมีการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 85 ของกำลังการผลิตทั้งหมด โรงกลั่นนํ้ามันไทยออยล์ได้รับการออกแบบให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุดจากระบบการผลิตได้อย่างเต็มที่ และด้วยเหตุที่เป็นโรงกลั่น Complex Refinery ดังกล่าว จึงมีกระบวนการกลั่นหลายขั้นตอนคือมีทั้งหน่วยกลั่นนํ้ามันดิบ หน่วยเพิ่มคุณภาพ และหน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่มีคุณค่าสูงในสัดส่วนที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียแปซิฟิกโดยมีความยืดหยุ่นสูงในการใช้วัตถุดิบหรือนํ้ามันดิบจากแหล่งต่างๆสามารถปรับเปลี่ยนระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปแต่ละชนิดให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ

ลักษณะของธุรกิจ แก้

โรงกลั่นไทยออยล์ประกอบด้วยหน่วยกลั่นหลักๆ 3 ประเภท ดังนี้

 1. หอกลั่นนํ้ามันดิบ (Crude Distillation Units)
ทำหน้าที่กลั่นนํ้ามันดิบเป็นนํ้ามันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ โดยแยกประเภทตามอุณหภูมิที่ต่างกัน
 2. หน่วยเพิ่มคุณภาพนํ้ามัน (Upgrading Units)
ทำหน้าที่แปลงสภาพผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าต่ำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง โดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมี
 3. หน่วยปรับปรุงคุณภาพนํ้ามัน (Quality Improvement Units)
ทำหน้าที่ปรับปรุงคุณภาพของนํ้ามันเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการเช่น การกำจัดสารปนเปื้อนต่างๆ ออกจากนํ้ามัน เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์และบริการ แก้

  • นํ้ามันเบนซิน (Gasoline)
  • นํ้ามันดีเซล (Diesel / Gas Oil)
  • นํ้ามันอากาศยาน (Jet Fuel)
  • นํ้ามันก๊าด (Kerosene)
  • นํ้ามันเตา (Fuel Oil)
  • ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)

ธุรกิจปิโตรเคมี (TPX) แก้

  • บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด (TPX)

โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีของ บจก. ไทยพาราไซลีน ซึ่งไทยออยล์ถือหุ้นทั้งหมด จะมีบทบาทในการสร้างเสริมรายได้ให้แก่กลุ่มบริษัทไทยออยล์

ผลิตภัณฑ์และบริการ แก้

  • ธุรกิจปิโตรเคมี
  • พาราไซลีน (Paraxylene)
  • เบนซีน (Benzene)
  • โทลูอีน (Toluene)
  • มิกซ์ไซลีน (Mixed Xylenes)

ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน (TLB) แก้

  • บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) (TLB)

โรงงานผลิตนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐานของ บมจ. ไทยลู้บเบส ซึ่งไทยออยล์ถือหุ้นทั้งหมด มีบทบาทในการสร้างเสริมรายได้ให้แก่กลุ่มบริษัทไทยออยล์

ผลิตภัณฑ์และบริการ แก้

  • นํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน (Lube Base Oil)
  • ยางมะตอย (Bitumen หรือ Asphalt)
  • ผลิตภัณฑ์พลอยได้
  • ผลิตภัณฑ์พิเศษ

ธุรกิจสารทำละลายและเคมีภัณฑ์ (TOS/TS/SAKC/TSV) แก้

  • บริษัท ไทยออยล์ โซลเว้นท์ จำกัด (TOS)

ลงทุนในธุรกิจสารทำละลายและเคมีภัณฑ์ในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยถือหุ้นในบริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด

  • บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ จำกัด (TS)

ถือหุ้นในบริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด และบริษัท ท็อป โซลเว้นท์ (เวียดนาม) ไลอะบิลลิตี้ จำกัด

  • บริษัท ท็อป โซลเว้นท์ (เวียดนาม) ไลอะบิลลิตี้ จำกัด

เป็นผู้นำทางธุรกิจสารทำละลายและเคมีภัณฑ์ในประเทศเวียดนาม โดยเป็นบริษัทในเครือไทยออยล์ ซึ่งได้ซื้อธุรกิจสารทำละลายและเคมีภัณฑ์ จากบริษัท เชลล์ ในประเทศเวียดนาม ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 โดยมี บจ. ท็อป โซลเว้นท์ ถือหุ้น 100 เปอร์เซนต์

  • บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด (SAKC)

เป็นโรงงานผลิตสารทำละลายไฮโดรคาร์บอนคุณภาพสูงสำหรับงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสี, ยางรถยนต์, กาว, สารสกัดนํ้ามันพืช, โฟม, พลาสติก, สารสกัดแร่ทองแดง เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์และบริการ แก้

  • สารทำละลายไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Solvent)
  • สารทำละลายเคมิคอล (Chemical Solvent)
  • เคมีภัณฑ์อื่นๆ (Other Chemicals)

ธุรกิจไฟฟ้า (TOP SPP/GPSC) แก้

  • บริษัท ท็อป เอสพีพี จำกัด (TOP SPP)

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมแบบโคเจนเนอเรชั่น โดยใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (Combined-Cycle Co-Generation Power Plant)

  • บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC)

ดำเนินธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. ในการพัฒนา ลงทุน และดำเนินการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

ธุรกิจขนส่ง (TM/THAPPLINE) แก้

  • บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด (TM)

ธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์นํ้ามันปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทางเรือ โดยมี บมจ.ไทยออยล์  ถือหุ้นทั้งหมด ช่วยสนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัทในกลุ่มไทยออยล์

  • บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (Thappline)

ธุรกิจขนส่งนํ้ามันสำเร็จรูปภายในประเทศที่ไทยออยล์ถือหุ้นอยู่ จะช่วยสนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัทในกลุ่มไทยออยล์

ธุรกิจผลิตเอทานอล (TET) แก้

  • บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด (TET)

          บริษัทฯ มีกลยุทธ์ด้านพลังงานทดแทนโดยการลงทุนในธุรกิจผลิตเอทานอล เพื่อรองรับนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนการผลิต และ การใช้พลังงานทดแทน บริษัทฯ จึงได้จัดตั้ง บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด โดยถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาธุรกิจด้านเอทานอลและธุรกิจต่อเนื่อง

ธุรกิจอื่นๆ แก้

การบริหารจัดการ ด้านการสรรหาทรัพยากรบุคคล (TES) แก้

  • บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี เซอร์วิส จำกัด (TES)

เป็นธุรกิจการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทในเครือไทยออยล์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ธุรกิจผู้ผลิตสาร LAB (LABIX) แก้

  • บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด (LABIX)

บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด เป็นผู้ผลิตสาร LAB (Linear Alkyl Benzene) รายแรกของประเทศไทย และเป็นผู้ผลิตครบวงจรที่สุดรายแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสาร LAB เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตผงซักฟอกและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สาร LAB ถือเป็นนวัตกรรมล่าสุดของเครือไทยออยล์ ที่ใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผลิตภัณฑ์และบริการ แก้

สาร LAB (Linear Alkyl Benzene) เป็นสารตั้งต้นหลักในธุรกิจผงซักฟอกและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โดยเกิดจากการนำสารเบนซีนมาทำ ปฏิกิริยาแอลคิเลชั่นกับนอร์มัล พาราฟิน (Normal Paraffin) ซึ่งสกัดได้จากนํ้ามันก๊าด (Kerosene) โดยสาร LAB เกือบทั้งหมดจะถูกนำไปผลิตเป็น LAS (Linear Alkylbenzene Sulfonates) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตผงซักฟอก และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โดยกว่า 80% ของสาร LAS ถูกนำไปใช้ในการผลิตผงซักฟอกเพื่อใช้ในครัวเรือน ส่วนที่เหลือนำไปใช้การผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ LAS เป็นสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) ประเภทหนึ่ง ที่เมื่อละลายนํ้าแล้วจะช่วยลดแรงตึงผิวของนํ้า โดยมีคุณสมบัติช่วยให้เกิดฟอง และมีความสามารถในการดึงสิ่งสกปรกออกจากพื้นผิวให้กระจายอยู่ในนํ้า

การนำไปใช้ แก้

  • ผงซักฟอก (Powders detergents)
  • นํ้ายาซักผ้า (Liquid detergents)
  • นํ้ายาล้างจาน (Dishwashing liquids)
  • นํ้ายาทำความสะอาดในครัวเรือน (Liquid household cleaners)
  • สารเคมีกำจัดวัชพืช (Agricultural herbicides)
  • การสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization)
  • สารที่สามารถลดแรงตึงผิวประเภทอิมัลซิฟายเออร์ (Emulsifier)
  • นํ้ายาหรือสารเคมีที่ใช้เคลือบฟิล์ม กระจกหรือวัตถุอื่น (Wetting agent)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ [8] แก้

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 979,765,183 สัดส่วนการถือหุ้น 48.03%

เหตุการณ์สำคัญ แก้

  • 2 ธันวาคม พ.ศ. 2542 - เกิดเหตุไฟไหม้ที่โรงงานไทยออยล์ สาขานิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อ่าวอุดม ศรีราชา อันเนื่องมาจากถังเก็บน้ำมันเกิดระเบิด ส่งผลให้มียอดผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก[9]
  • 5 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลาประมาณ 19.00 น. ได้เกิดเหตุไฟไหม้ถังน้ำมันปนเปื้อนของบริษัท ไทยลู้บเบสฯ ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 จากเหตุการณ์ดังกล่าวทีมดับเพลิงของบริษัทฯได้เข้าดับไฟอย่างทันท่วงทีตามแผนฉุกเฉินการระงับเหตุเพลิงไหม้ที่ได้ฝึกซ้อมไว้เป็นประจำ และสามารถดับเพลิงไหม้ได้เพียงระยะเวลา 20 นาที โดยไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ[10]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Financial Highlight". Thaioil Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-25. สืบค้นเมื่อ 22 November 2015.
  2. "Thai Oil Financial Highlight". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-01-25.
  3. "Thaioil Group".
  4. "ข้อมูลบริษัทจดทะเบียน - บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)".
  5. "'ไทยออยล์' ประสบความสำเร็จในการออก-เสนอขายหุ้นกู้สกุลเหรียญสหรัฐฯ".
  6. "ไทยออยล์ ไตรมาส 3 พลิกขาดทุน 682 ล้านบาท".
  7. "ไทยออยล์เดินหน้าอัดฉีดลงทุน 2 ปีกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ". 17 October 2019.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-16. สืบค้นเมื่อ 2018-11-08.
  9. https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=681881872185802&id=868873896567823&_rdr
  10. https://www.thairath.co.th/content/109039

แหล่งข้อมูลอื่น แก้