บรรเทอง รัชตะปีติ
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรเทอง รัชตะปีติ (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2476) อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การศึกษา
แก้- แพทยศาสตรบัณฑิต รางวัลเหรียญเงินคะแนนรวมตลอดหลักสูตรเป็นที่ 2 จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศัลยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา
- อนุมัติบัตรสาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป แพทยสภา
ประวัติการทำงาน
แก้- รองศาสตราจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 สมัย
- รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- อุปนายกแพทยสภา
- ประธานอนุกรรมการการศึกษาแพทยศาสตร์ระดับคลินิก และการสัมมนาแพทยศาสตรศึกษา ครั้งที่ 5 และ 6
- กรรมการประเมินระบบประกันคุณภาพของภาควิชาต่าง ๆ ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หน้าที่ปัจจุบัน
แก้- อาจารย์พิเศษและแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยที่ห้องผ่าตัดเล็กศัลยศาสตร์ทั่วไป ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประธานคณะกรรมการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และอาจารย์พิเศษ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผลงานและเกียรติประวัติ
แก้- ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2549
- ศัลยแพทย์ผู้บุกเบิกการผ่าตัดในช่องท้องที่สลับซับซ้อนเช่น การผ่าตัดมะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดีและตับอ่อน เป็นต้น
- ก่อตั้งหน่วยแพทยศาสตรศึกษา และเป็นผู้บุกเบิกและพัฒนางานด้านแพทยศาสตรศึกษา ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
- สนับสนุนการเชื่อมโยงการศึกษาแพทยศาสตร์กับชุมชนและชนบทมาทั้งในระดับรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชน และริเริ่มจัดทำหลักสูตรโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท (MESRAP) ร่วมกับโรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี
- เป็นผู้นำในการจัดตั้งโครงการและพัฒนาหลักสูตรแพทย์แนวใหม่ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เน้นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ใช้ปัญหาชุมชนเป็นหลัก โดยรับนิสิตที่จบปริญญาตรีเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยจัดการศึกษาร่วมกับโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ (new tract)
- จัดทำแผนงานการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้อาจารย์ไปฝึกอบรมต่อยังต่างประเทศเป็นจำนวนมากจนทำให้คณะแพทยศาสตร์เจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ มีนวัตกรรมเกิดขึ้นในสมัยที่ดำรงตำแหน่งคณบดี เช่น การปลูกถ่ายตับเป็นครั้งแรกในประเทศ การเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรกในเอเชีย การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นต้น
- จัดทำแผนการใช้พื้นที่ของคณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลจุฬาฯ ให้เป็นสัดส่วนเพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษา วิจัย และบริการที่สลับซับซ้อนมากขึ้น
- พัฒนาการฝึกอบรมด้านวิชาชีพของศัลยแพทย์ให้เป็นระบบผ่านทางแพทยสภาและราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
รางวัล
แก้- รางวัล "แพทย์จุฬาฯ ดีเด่น สาขานักแพทยศาสตรศึกษาและผู้บริหารสถาบันการศึกษาแพทยศาสตร์" ในโอกาสครบราอบ 60 ปีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รางวัลเหรียญเงินตลอดหลักสูตร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- รางวัลเหรียญทองแดง วิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[1]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[3]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
- คนดีวันละคน : (48) รศ. นพ. บรรเทอง รัชตะปีติ เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- จุฬาลงกรณ์แพทยานุสรณ์ 2550