บรรทัดฐานเอกราชของคอซอวอ

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมัชชาของคอซอวอ ซึ่งขณะนั้นเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเซอร์เบียภายใต้การอารักขาของสหประชาชาติ ได้ทำการประกาศเอกราช[1] หลังจากนั้น คอซอวอได้รับการรับรองเป็นรัฐเอกราชจากสหรัฐ ตุรกี แอลเบเนีย ออสเตรีย เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ไต้หวัน และรัฐอื่น ๆ จำนวนมาก[2] เรื่องนี้นำไปสู่ประเด็นถกเถียงระหว่างประเทศ ว่าการประกาศเอกราชฝ่ายเดียวของคอซอวอนั้น ถือเป็นบรรทัดฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ หรือเป็นเพียงกรณีเฉพาะ[3] การที่คอซอวอได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติถึง 97 ประเทศ จาก 193 ประเทศ ถือเป็นแรงบันดาลใจให้กับขบวนการแบ่งแยกดินแดนในหลายประเทศ[4][5]

แผนที่สาธารณรัฐคอซอวอ

มีองค์กรและรัฐที่ไม่ได้รับการรับรองอย่างน้อย 70 กลุ่ม ที่อ้างถึงบรรทัดฐานคอซอวอเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของตน[6] อับคาเซียและเซาท์ออสซีเชียได้เรียกร้องอีกครั้งให้มีการยอมรับอำนาจอธิปไตยของตน เอกราชของคอซอวอยังนำไปสู่ความตึงเครียดในประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยสาธารณรัฐเซิร์ปสกาได้ยับยั้งการรับรองคอซอวอ และขู่ว่าจะประกาศตนเป็นเอกราชเสียเอง[7]

สาธารณรัฐไครเมียประกาศเอกราชจากประเทศยูเครนเมื่อ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557 โดยอ้างถึงบรรทัดฐานคอซอวอ ไครเมียได้ถูกผนวกเข้ากับรัสเซีย ภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ในสัปดาห์ต่อมา อย่างไรก็ตาม ปูตินปฏิเสธที่จะให้การรับรองคอซอวอ[8][9]

การรับรองสถานะของรัฐทางตะวันออกของยูเครนที่แยกตัวออกไป โดยรัฐบาลของปูตินเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 และการรุกรานยูเครนที่ตามมา ล้วนแต่ทำภายใต้บริบทของบรรทัดฐานคอซอวอ[10][11] อย่างไรก็ตาม จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 รัสเซียยังคงไม่รับรองคอซอวอ[10][12]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Kosovo MPs proclaim independence". BBC News Online. 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-04-09.
  2. Hsu, Jenny W (2008-02-20). "Taiwan officially recognizes Kosovo". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-13.
  3. "The Kosovo Precedent". Prospect Magazine. April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-16. สืบค้นเมื่อ 2009-04-13.
  4. "Republic of Palau suspends recognition of Kosovo".
  5. Timothy Garton Ash (2008-02-21). "The Kosovo precedent". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2009-04-09.
  6. Jovanovic, Miroslav N.; Jovanović, Miroslav N. (1 January 2013). The Economics of European Integration. Edward Elgar Publishing. p. 929. ISBN 978-0-85793-398-0. The Unrepresented Nations and Peoples Organisation, a group of some 70 members from Abkhazia over Kurdistan to Zanzibar is and will be using the Kosovo precedent to pursue its objectives.
  7. "Bosnian Serbs Threaten Secession Over Kosovo". Javno. 2008-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-09.
  8. "How similar _ or not _ are Crimea and Kosovo?". abcnews.go.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2014.
  9. Coakley, Amanda. "Serbia Is Playing With Matches Again". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.
  10. 10.0 10.1 "Путин заявил Гутерришу, что Россия признала ДНР и ЛНР на основании прецедента Косово". www.kommersant.ru (ภาษารัสเซีย). 2022-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.
  11. "Putin cites precedent of Kosovo in explaining recognition of DPR, LPR". TASS. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.
  12. "Russian Ambassador to Serbia Denies Change in Putin's Kosovo Policy". Balkan Insight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-04-29. สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.