น้ำแม่อิง[1] (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา เป็นเพียงหนึ่งในแม่น้ำไม่กี่สายในประเทศที่ไหลย้อนขึ้นทางทิศเหนือ น้ำแม่อิงเป็นลำน้ำสาขาสายหนึ่งของแม่น้ำโขง โดยไหลลงแม่น้ำโขงที่บ้านปากอิง หมู่ที่ 16 ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

น้ำแม่อิง
กว๊านพะเยา หนึ่งในบริเวณที่น้ำแม่อิงไหลผ่าน
ระบบอุทกวิทยา
แอ่งสมุทรมหาสมุทรแปซิฟิก
ระบบแม่น้ำระบบแม่น้ำโขง
ลุ่มน้ำประธานลุ่มน้ำอิง
ชื่อแหล่งน้ำน้ำแม่อิง
ข้อมูลทั่วไป
ความยาว260 กม.
ต้นน้ำหนองเล็งทราย
ที่ตั้งของต้นน้ำจังหวัดพะเยา
ท้ายน้ำแม่น้ำโขง
ที่ตั้งของท้ายน้ำจังหวัดเชียงราย
แผนที่
caption=แผนที่ภาคเหนือของประเทศไทย

เส้นทาง

แก้

น้ำแม่อิงมีต้นกำเนิดมาจากทิวเขาผีปันน้ำ หลังจากนั้นไหลผ่านอำเภอแม่ใจ ผ่านกว๊านพะเยา ผ่าน อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว อำเภอจุน เข้าสู่ จังหวัดเชียงรายทางอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอขุนตาล อำเภอพญาเม็งราย และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่บ้านปากอิง อำเภอเชียงของ

ความสำคัญ

แก้

น้ำแม่อิงเป็นแม่น้ำสายหลักของอำเภอที่น้ำแม่อิงไหลผ่าน มีที่ราบลุ่มตามลำน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกชั้นดีให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีชุมชนทั้งในปัจจุบันและในอดีตที่มีการตั้งชุมชนตามลำน้ำ ซึ่งเรียกว่า เวียง เช่น เวียงพะเยา เวียงเทิง เวียงเชียงของ โดยได้มีการพบโบราณสถานตามลำน้ำอิงเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงพบก้อนอิฐ และเศษเครื่องใช้และภาชนะโบราณตามแนวลำน้ำอิงเป็นจำนวนมาก

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำอิง

แก้

ในอดีตมีการนำเสนอโครงการพัฒนาน้ำแม่อิง คือ โครงการ กก อิง น่าน เป็นโครงการผันน้ำจากแม่น้ำโขงลงสู่แม่น้ำน่านโดยผ่านน้ำแม่อิง แต่ประชาชนในพื้นที่คัดค้านเพราะเป็นการทำลายน้ำแม่อิง เพราะโครงการนี้ จะทำการเปลี่ยนเส้นทางเดินของแม่น้ำให้ไหลย้อนกลับจากทิศเหนือลงทิศใต้ทั้งที่น้ำแม่อิงเป็นแม่น้ำที่ไหลจากทิศใต้ขึ้นทางทิศเหนือ และได้มีการยุติโครงการไปในที่สุด

ปัญหาของน้ำแม่อิงในปัจจุบัน

แก้

เนื่องจากมีการดูดทรายจากน้ำแม่อิงมาใช้อย่างมากทำให้ปัจจุบันน้ำอิงตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้อย่างเพียงพอ ทำให้เกษตรกรที่ใช้น้ำอิงเพื่อทำการเกษตรไม่มีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูก นอกจากนั้นยังส่งผลทำให้ปลาในน้ำแม่อิงลดน้อยลงจนน่าเป็นห่วงว่าในอนาคตปลาบางชนิดอาจสูญพันธุ์ไปจากน้ำแม่อิงได้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 124.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

20°12′19″N 100°27′03″E / 20.205278°N 100.450833°E / 20.205278; 100.450833