น้อยหน่าออสเตรเลีย

น้อยหน่าออสเตรเลีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Magnoliids
อันดับ: Magnoliales
วงศ์: Annonaceae
สกุล: Annona
สปีชีส์: A.  cherimola
ชื่อทวินาม
Annona cherimola
Mill.
การกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง

Annona pubescens Salisb.
Annona tripetala Aiton[1]

น้อยหน่าออสเตรเลีย หรือ เชอรีโมยา ชื่อวิทยาศาสตร์: Annona cherimola เป็นพืชในวงศ์ Annonaceae ใบรูปไข่หรือไข่แกมหอก มีผงรังแคสีน้ำตาลแกมม่วงแดงที่ใต้ใบ ดอกมีกลิ่นหอม ก้านดอกสั้นมีลักษณะเป็นปม กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ สีเหลืองอ่อน โคนกลีบด้านในมีจุดสีม่วง กลีบชั้นในขนาดเล็กมาก สีออกแดงหรือม่วง ผลเป็นผลกลุ่ม ติดกันเป็นรูปหัวใจหรือทรงกลม ผิวเป็นปุ่มปม ผิวผลมีแอ่งเล็กๆรูปตัวยู เนื้อผลสีขาว รับประทานได้ เนื้อแยกจากเม็ดได้ง่าย เปลือกชั้นนอกของเมล็ดเป็นเยื่อสีน้ำตาลเหี่ยวย่น

เชอรีโมยาเป็นพืชพื้นเมืองในเอกวาดอร์และเปรู ปลูกเป็นการค้าในชิลี โบลิเวีย สเปน สหรัฐ และนิวซีแลนด์ ผลรับประทานสด เนื้อผลใช้แต่งรสไอศกรีม ผลดิบและเมล็ดเป็นยาถ่ายพยาธิและกำจัดแมลง

การกระจายพันธุ์ แก้

เชื่อว่าต้นกำเนิดของน้อยหน่าออสเตรเลียอยู่ที่เทือกเขาแอนดีสที่ระดับความสูง 700 – 2,400 เมตร[2] ในขณะที่มีอีกสมมติฐานหนึ่งเชื่อว่าแหล่งกำเนิดอยู่ที่อเมริกากลางเพราะพบพันธุ์ป่าในบริเวณนี้มาก และที่ต่างจากพืชชนิดอื่นในสกุลAnnona คือพืชชนิดนี้ไม่พบตามธรรมชาติในแอฟริกาตะวันตกและออสเตรเลีย Annona glabra มันถูกเข้าใจผิดว่าเป็นพืชชนิดนี้

สายพันธุ์ แก้

เชอริโมยาแห่งชายฝั่งกรานาดา-มาลากา แก้

เชอริโมยาแห่งชายฝั่งกรานาดา-มาลากาเป็นผลไม้พันธุ์ฟิโนเดเฆเต ที่เจริญตามแนวชายฝั่งกรานาดา-มาลากาทางใต้ของสเปน เป็นพืชอนุรักษ์ของสหภาพยุโรปโดยพิจารณาจากต้นกำเนิด[3] พืชชนิดนี้มีพื้นผิวที่ไว เกิดเป็นสีน้ำตาลเมื่อใช้เครื่องมือจัดการ จึงต้องจัดการด้วยความระมัดระวังสูงมาก เก็บจากต้นด้วยมือ ห่อด้วยมือภายใน 24 ชั่วโมง การห่อใหม่หรือช้ากว่านั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ[4]

อ้างอิง แก้

  1. Germplasm Resources Information Network (GRIN) (1997-07-11). "Taxon: Annona cherimola L." Taxonomy for Plants. USDA, ARS, National Genetic Resources Program, National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
  2. van Zonneveld M, Scheldeman X, Escribano P, Viruel MA, Van Damme P, et al. 2012 Mapping Genetic Diversity of Cherimoya (Annona cherimola Mill.): Application of Spatial Analysis for Conservation and Use of Plant Genetic Resources. PLoS ONE 7(1): e29845.
  3. "COUNCIL REGULATION (EC) No 510/2006 'CHIRIMOYA DE LA COSTA TROPICAL DE GRANADA-MÁLAGA'". EU DOOR. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  4. "COUNCIL REGULATION (EC) No 510/2006 'CHIRIMOYA DE LA COSTA TROPICAL DE GRANADA-MÁLAGA'". EU DOOR. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 87 – 88