นีโอบอมเบอร์แมน
นีโอบอมเบอร์แมน[b] เป็นวิดีโอเกมอาร์เคดแนววงกต-แอ็กชัน ที่พัฒนาโดยบริษัทโพรดิวซ์!และเผยแพร่โดยบริษัทฮัดสันซอฟต์สำหรับนีโอจีโอ เอ็มวีเอส เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1997[2][3][4] โดยเป็นหนึ่งในสองเกมในแฟรนไชส์บอมเบอร์แมนที่เปิดตัวสำหรับแพลตฟอร์มระบบนีโอจีโอ ซึ่งเกมแรกคือแพนิกบอมเบอร์ ส่วนนีโอบอมเบอร์แมนเป็นเกมเดียวในแพลตฟอร์มนี้ที่ยังคงรูปแบบการเล่นจากบนลงล่างแบบดั้งเดิมไว้[5] โดยได้เปิดตัวสำหรับนีโอจีโอ เอ็มวีเอส (อาร์เคด) และยังไม่ได้รับการเผยแพร่สำหรับเครื่องเล่นภายในบ้านจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเกมบอมเบอร์แมนดั้งเดิมภาคสุดท้ายที่วางจำหน่ายสำหรับอาร์เคดจนกระทั่งเป็นบอมเบอร์เกิร์ลของบริษัทโคนามิใน ค.ศ. 2018[6]
นีโอบอมเบอร์แมน | |
---|---|
ผู้พัฒนา | โพรดิวซ์![a] |
ผู้จัดจำหน่าย | ฮัดสันซอฟต์ |
กำกับ | เอดดี จ้าว |
อำนวยการผลิต | ฮิโรชิ อิการิ |
ออกแบบ | ชินจิ อิมาดะ ทากายูกิ ฮิราอิ |
โปรแกรมเมอร์ | ทากูจิ โคซาซะ |
ศิลปิน | อัตสึชิ ซูงิยามะ ฮิโรมิ ชิมาดะ จุง คูซากะ |
แต่งเพลง | นาวโปรดักชัน |
ชุด | บอมเบอร์แมน |
เครื่องเล่น | อาร์เคด |
วางจำหน่าย |
|
แนว | แอ็กชัน, วงกต |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
ระบบอาร์เคด | นีโอจีโอ เอ็มวีเอส |
ในนีโอบอมเบอร์แมน เนื้อเรื่องนั้นเกี่ยวกับไวต์บอมเบอร์แมนและแบล็กบอมเบอร์แมน พร้อมกับนักสู้คนอื่น ๆ ที่มารวมตัวกันเพื่อการแข่งบอมเบอร์แมนทัวร์นาเมนต์ ก่อนที่ศาสตราจารย์บากูราจะปรากฏตัวในป้อมปราการเคลื่อนที่เพื่อทำลายทัวร์นาเมนต์ดังกล่าว รวมถึงได้ลักพาตัวเหล่านักสู้ด้วยการขังพวกเขาไว้ในกรง และผลที่ตามมาก็คือบอมเบอร์แมนทั้งไวต์และแบล็กได้ออกเดินทางเพื่อช่วยเหลือเพื่อน ๆ และหยุดบากูรา ควบคู่ไปกับอะตอมมิกบอมเบอร์ ซึ่งเป็นสิ่งสร้างใหม่ภายใต้คำสั่งของเขา เกมนี้มีความคล้ายคลึงกับซูเปอร์บอมเบอร์แมน 4 สำหรับซูเปอร์แฟมิคอม เนื่องจากได้รับการพัฒนาโดยทีมเดียวกันเป็นส่วนใหญ่
รูปแบบการเล่น
แก้นีโอบอมเบอร์แมนเป็นเกมแอ็กชันวงกตที่เล่นเหมือนกับเกมอื่น ๆ ในแฟรนไชส์บอมเบอร์แมน ในเกมนี้ ผู้เล่นจะได้ควบคุมตัวละครโดยตำแหน่งซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการทำลายมอนสเตอร์ทั้งหมดที่อยู่เต็มสนามด้วยการวางระเบิด[7] และการชนะมอนสเตอร์ทั้งหมดจะเปิดประตูของด่านและนำผู้เล่นไปยังพื้นที่ถัดไป[8]
เพื่อช่วยในการทำลายมอนสเตอร์ ผู้เล่นสามารถวางระเบิดซอฟต์บล็อก ซึ่งอาจค้นพบไอเทมที่มีประโยชน์ ไอเทมดังกล่าวได้แก่ สิ่งที่เพิ่มจำนวนระเบิดที่สามารถวางได้ในคราวเดียว, ระยะหรือการระเบิดของระเบิด หรือความเร็ว นอกจากนี้ ยังมีไอเทมสำหรับผ่านซอฟต์บล็อกและระเบิด, เตะและขว้างระเบิด ตลอดจนสร้างระเบิดควบคุมจากระยะไกลหรือทะลวงหลายบล็อกในคราวเดียว ส่วนด่านต่อมาจะแนะนำส่วนสำคัญเพิ่มเติม เช่น การช่วยชีวิตตัวละครบอมเบอร์แมนคนอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยผู้เล่นตลอดทั้งด่านนั้น และศัตรูที่สามารถขี่หรือขับเคลื่อนหลังจากปราบพวกมันได้
เกมนี้ได้ยกให้ผู้เล่นสูงสุดสองคนเล่นผ่านการทัพผู้เล่นเดี่ยวร่วมกันได้ แต่เช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่ก็มีโหมดประจัญบานเช่นกัน[7][9] โดยในโหมดประจัญบานเ ผู้เล่นสามารถเลือกหนึ่งในสิบตัวละครที่แตกต่างกันและปะทะกับคู่ต่อสู้ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ได้มากถึงสามคนในห้ายกในสี่สนามที่ต่างกัน[9] เช่นเดียวกับโหมดเนื้อเรื่อง ผู้เล่นสามารถทำลายซอฟต์บล็อกเพื่อค้นพบไอเทมที่จะช่วยพวกเขาได้ หากผู้เล่นคนที่สองเข้าร่วม เกมจะเปลี่ยนเป็นโหมดประจัญบานแบบตัวต่อตัว และผู้ชนะการแข่งดังกล่าวจะเล่นเกมต่อจากตรงนั้น
การพัฒนาและการตลาด
แก้นีโอบอมเบอร์แมนได้รับการพัฒนาโดยบริษัทโพรดิวซ์! ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำงานในซีรีส์ย่อยของซูเปอร์บอมเบอร์แมนสามภาคสำหรับซูเปอร์แฟมิคอม ในขณะที่พนักงานเอดีเอสสองคนร่วมมือกันสร้างอาร์ตเวิร์กสำหรับเกมนี้[1][10][11] แม้ว่าผู้แต่งเพลงสำหรับเกมนี้จะไม่ได้รับเครดิต แต่บริษัทนาวโปรดักชันก็ได้อยู่ในรายชื่อสำหรับการสร้างทั้งดนตรีและเอฟเฟกต์เสียง[1] เกมนี้เปิดตัวครั้งแรกแก่ผู้ชมที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าสมาคมเครื่องจักรและการตลาดเพื่อความบันเทิงแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAMMA) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1996 พร้อมด้วยเกมนีโอจีโออื่น ๆ ที่กำลังจะมีตามมา เช่น คิซูนะเอนเคาน์เตอร์ และซามูไรโชดาวน์ IV[12][13][14] รวมทั้งงานอะมิวส์เมนต์แมชชีนโชว์และการแสดงสมาคมผู้ประกอบการสวนสนุกและดนตรีที่จัดขึ้นในปีเดียวกัน[15][16][17] เกมนี้เปิดตัวสำหรับนีโอจีโอ เอ็มวีเอส ในอาร์เคดโดยบริษัทฮัดสันซอฟต์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1997[2][4] อย่างไรก็ตาม เกมนี้ไม่เคยได้รับการแปลงสำหรับนีโอจีโอ เออีเอส และนีโอจีโอ ซีดี[18] รวมถึงเมื่อเล่นในระบบยุโรป ข้อความจะแสดงเป็นภาษาสเปนแทนที่จะเป็นภาษาอังกฤษ
การตอบรับ
แก้การตอบรับ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
|
ในการเขียนบทวิจารณ์นีโอบอมเบอร์แมนนั้น[20] ไคล์ ไนต์ ชื่นชมภาพที่มีสีสัน, รูปแบบการเล่นที่น่าดึงดูด และการออกแบบเสียงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าดีเหนือสิ่งอื่นใด รวมถึงมองว่าเป็นการเพิ่มที่น่ายินดีในคลังเกมของนีโอจีโอ[19]
หมายเหตุ
แก้- ↑ งานเพิ่มเติมโดยเอดีเอส[1] และบริษัทนาวโพรดักชัน
- ↑ ネオ・ボンバーマン Neo Bonbāman
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Produce!, ADS (1997). Neo Bomberman (Arcade). Hudson Soft. Level/area: Staff roll.
- ↑ 2.0 2.1 "Dossier: Neo Geo Y SNK — Otros". GamesTech (ภาษาสเปน). No. 11. Ares Informática. July 2003. p. 63.
- ↑ "NEOGEO 20th Anniversary: NEOGEO Games All Catalog". Monthly Arcadia (ภาษาญี่ปุ่น). No. 119. Enterbrain. April 2010. pp. 12–22.
- ↑ 4.0 4.1 "Title Catalogue - NEOGEO MUSEUM". SNK Playmore. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-28. สืบค้นเมื่อ 2020-06-04.
- ↑ Hunt, Stuart (August 2009). "The Complete History Of Bomberman". Retro Gamer. No. 67. Imagine Publishing. pp. 27–34.
- ↑ Ashcraft, Brian (2017-02-10). "Konami Turns Bomberman Into Bombergirl". Kotaku. Gizmodo Media Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-11. สืบค้นเมื่อ 2020-09-16.
- ↑ 7.0 7.1 "New Game: ネオ・ボンバーマン". Neo Geo Freak (ภาษาญี่ปุ่น). No. 19. Geibunsha. December 1996. pp. 40–45.
- ↑ P. 鈴木 (15 December 1996). "攻略 - ネオボンバーマン". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 185. Shinseisha. p. 139.
- ↑ 9.0 9.1 P・鈴木 (15 November 1996). "紹介 - ネオボンバーマン". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 183. Shinseisha. p. 227.
- ↑ "ネオジオ関連メーカーリレーインタビュー 7: ハドソン". Neo Geo Freak (ภาษาญี่ปุ่น). No. 18. Geibunsha. November 1996. pp. 90–91.
- ↑ CRV (February 19, 2017). "Produce!". Game Developer Research Institute. สืบค้นเมื่อ 2018-10-28.
- ↑ Levy, Stuart; Williams, Ken; Semrad, Ed (November 1996). "Special Feature - JAMMA". Electronic Gaming Monthly. No. 88. Ziff Davis. pp. 162–171.
- ↑ Castel, Rodney (November 1996). "L'arcade dépasse les bornes! - JAMMA le show continue". Player One (ภาษาฝรั่งเศส). No. 69. Média Système Édition. pp. 44–45.
- ↑ "Breaking - JAMMA 96: Konami joins coin-op's elite". Next Generation. No. 25. Imagine Media. January 1997. pp. 18–19.
- ↑ "34th Amusement Machine Show - ネオ・ボンバーマン (ハドソン/SNK)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 527. Amusement Press, Inc. 1 October 1996. p. 10.
- ↑ "Feature: AM Show - JAMMA — Hudson - Neo Bomberman". Computer and Video Games. No. 181. EMAP. December 1996. p. 57.
- ↑ "Special Feature - AMOA". Electronic Gaming Monthly. No. 89. Ziff Davis. December 1996. pp. 136–150.
- ↑ Scullion, Chris (February 26, 2017). "The complete history of Bomberman". Tired Old Hack. WordPress. สืบค้นเมื่อ 2019-06-15.
- ↑ 19.0 19.1 Knight, Kyle (1998). "Neo Bomberman (Arcade) - Review". AllGame. All Media Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2014. สืบค้นเมื่อ 2019-05-26.
- ↑ Delpierre, Christophe; Daniel, François (December 1996). "L'arcade dépasse les bornes! - Neo Bomberman (Hudson)". Player One (ภาษาฝรั่งเศส). No. 70. Média Système Édition. p. 39.