นิโกลัส มาดูโร

(เปลี่ยนทางจาก นีโกลัส มาดูโร)

นิโกลัส มาดูโร โมโรส (สเปน: Nicolás Maduro Moros; 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 – ) เป็นนักการเมืองชาวเวเนซุเอลาที่ได้เป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เขาเคยเป็นรองประธานาธิบดีเวเนซุเอลาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มาดูโรรักษาราชการแทนประธานาธิบดีหลังอูโก ชาเบซถึงแก่อสัญกรรม เขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

นิโกลัส มาดูโร
มาดูโรใน พ.ศ. 2558
ประธานาธิบดีเวเนซุเอลาคนที่ 46
เริ่มดำรงตำแหน่ง
19 เมษายน พ.ศ. 2556[1]
พิพาทกับฮวน กวยโด
ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561
รองประธานาธิบดี
ดูรายชื่อ
ก่อนหน้าอูโก ชาเบซ
เลขาธิการขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
เริ่มดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน พ.ศ. 2559
ก่อนหน้าHassan Rouhani
ประธานชั่วคราวแห่งสหภาพชาติอเมริกาใต้
ดำรงตำแหน่ง
23 เมษายน พ.ศ. 2559 – 21 เมษายน พ.ศ. 2560
ก่อนหน้าตาบาเร บัซเกซ
ถัดไปเมาริซิโอ มากริ
รองประธานาธิบดีเวเนซุเอลา
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2556
ประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ
ก่อนหน้าเอลิอัส ฮาวา
ถัดไปฮอร์เฮ อาร์เรอาซา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2549 – 15 มกราคม พ.ศ. 2556
ประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ
ก่อนหน้าอาลี โรดริเกซ อาราเก
ถัดไปเอลิอัส ฮาวา
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
5 มกราคม พ.ศ. 2548 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าฟรันซิสโก อาเมเลียช
ถัดไปซิเลีย โฟลเรส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
นิโกลัส มาดูโร โมโรส

23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (61 ปี)
การากัส, ธงของประเทศเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา
พรรคการเมืองสหพรรคสังคมนิยม (พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน)
ขบวนการสาธารณรัฐที่ 5 (ก่อน พ.ศ. 2550)
คู่สมรสอาเดรียนา เกร์รา อังกูโล (หย่า)
ซิเลีย โฟลเรส (สมรส พ.ศ. 2556)
บุตรนิโกลัส มาดูโร เกร์รา
ที่อยู่อาศัยทำเนียบมิราโฟลเรส
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

มาดูโรเป็นอดีตพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ก่อนมาเป็นผู้นำสหภาพแรงงาน และได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2543 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงหลายตำแหน่งในรัฐบาลเวเนซุเอลาภายใต้ชาเบซ จนที่สุดได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2549 เขาได้การบอกเล่าในช่วงนั้นว่า "นักปกครองและนักการเมืองผู้มีความสามารถที่สุดในวงในของชาเบซ"[2]

หลังชาเบซถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 มาดูโรสืบทอดอำนาจและความรับผิดชอบในตำแหน่งประธานาธิบดี มีการจัดการเลือกตั้งพิเศษขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน เพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งมาดูโรชนะด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 50.62 ในฐานะผู้สมัครจากสหพรรคสังคมนิยม คู่แข่งหลักของเขาในการเลือกตั้ง คือ เอนริเก กาปริเลส (Henrique Capriles) ผู้ว่าการรัฐมิรันดา ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการเถลิงอำนาจและการเลือกตั้งเขาเข้ารับตำแหน่งถูกฝ่ายค้านตั้งคำถาม[3][4]

แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้มาดูโรสละตำแหน่งประธานาธิบดีหลังครบวาระแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562 แต่เขาก็สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ในพิธีที่ดำเนินการโดยศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งเวเนซุเอลา ส่งผลให้มีการตำหนิติเตียนอย่างกว้างขวาง ไม่กี่นาทีหลังจากมาดูโรสาบานตน สภาถาวรแห่งองค์การรัฐอเมริกาได้ผ่านมติในสมัยประชุมวิสามัญ ประกาศให้มาดูโรเป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่[5] สภานิติบัญญัติแห่งชาติระบุว่าประเทศกำลังเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉินและบางชาติได้ถอนคณะทูตของตนออกจากเวเนซุเอลา ด้วยความเชื่อว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นไปอย่างไม่ชอบธรรม สภานิติบัญญัติอ้างว่ามาดูโรจะเปลี่ยนเวเนซุเอลาเป็นรัฐเผด็จการโดยพฤตินัยหากเขาขึ้นครองอำนาจอีกครั้ง[6][7][8][9]

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562 ฮวน กวยโด ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับการประกาศให้เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวโดยสภานั้น เขาได้รับการรับรองทันทีในฐานะประธานาธิบดีชอบด้วยกฎหมายจากชาติและองค์การต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสหรัฐ บราซิล และองค์การรัฐอเมริกา มาดูโรคัดค้านการอ้างเป็นประธานาธิบดีของกวยโดและประกาศยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับหลายชาติที่รับรองการอ้างดังกล่าว[10]

อ้างอิง แก้

  1. ชั่วคราว: 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 19 เมษายน พ.ศ. 2556
  2. de Córdoba, José; Vyas, Kejal (9 December 2012). "Venezuela's Future in Balance". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
  3. Carroll, Rory; Lopez, Virginia (9 March 2013). "Venezuelan opposition challenges Nicolás Maduro's legitimacy". The Guardian.
  4. "Venezuela poll: Maduro opponent Capriles demands recount". BBC News. 15 April 2013.
  5. "La OEA aprobó la resolución que declara ilegítimo al nuevo gobierno de Nicolás Maduro". Infobae. 10 January 2019.
  6. "Venezuela's Maduro starts new term, as US describes him as "usurper"". Reuters. 10 January 2019. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
  7. "Alemania apoya para que asuma poder" [Germany supports Assembly taking power off Maduro]. El Nacional. 9 January 2019. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
  8. "Peru, Paraguay, etc. recall diplomats after Maduro inauguration". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
  9. "National Assembly declares State of Emergency with the usurpation of Maduro as President". Asamblea Nacional. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-11. สืบค้นเมื่อ 10 January 2019.
  10. "US says it now backs Venezuela opposition". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-01-24. สืบค้นเมื่อ 2019-01-24.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้