มีกอไว กอแปร์ญิก

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (ละติน: Nicolaus Copernicus Torinensis, โปแลนด์: Mikołaj Kopernik มีกอไว กอแปร์ญิก; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้คิดค้นแบบจำลองระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางสมบูรณ์ ซึ่งดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มิใช่โลก[2]

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส
"ภาพเหมือนตอรุญ" (ไม่ทราบผู้วาด, ประมาณ ค.ศ.. 1580) ตั้งอยู่ที่ศาลากลางตอรุญ ประเทศโปแลนด์[a]
เกิด19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473
ทอร์น ปรัสเซียหลวง โปแลนด์
เสียชีวิต24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543(1543-05-24) (70 ปี)
เฟราเอินบวร์ค ปรัสเซียหลวง โปแลนด์
การศึกษา
มีชื่อเสียงจากระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
ทฤษฎีปริมาณของเงิน
กฎเกรแชม–โคเปอร์นิคัส
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
อาจารย์ที่ปรึกษาDomenico Maria Novara da Ferrara
มีอิทธิพลต่อโยฮันเนิส เค็พเพลอร์
ได้รับอิทธิพลจากแอริสตอเติล
อิบน์ รุชด์
ยุคลิด
Haly Abenragel
Regiomontanus
ลายมือชื่อ

การตีพิมพ์หนังสือ De revolutionibus orbium coelestium (ว่าด้วยการปฏิวัติของทรงกลมฟ้า) ของโคเปอร์นิคัส ก่อนหน้าที่เขาเสียชีวิตไม่นาน ถูกพิจารณาว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติโคเปอร์นิคัสและมีส่วนสำคัญต่อความรุ่งเรืองของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามมา ทฤษฎีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางอธิบายกลไกของระบบสุริยะในเชิงคณิตศาสตร์ มิใช่ด้วยคำของอริสโตเติล

โคเปอร์นิคัสเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักนิติศาสตร์ที่สำเร็จดุษฎีบัณฑิตในวิกฎหมาย นักฟิสิกส์ ผู้รู้สี่ภาษา นักวิชาการคลาสสิก นักแปล ศิลปิน สงฆ์คาทอลิก ผู้ว่าราชการ นักการทูตและนักเศรษฐศาสตร์

การปฏิวัติทางดาราศาสตร์ของโคเปอร์นิคัส

แก้

ในเวลานั้นโคเปอร์นิคัสได้เสนอให้ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลแทนโลกในแนวความคิดเดิม โดยให้ดาวเคราะห์ต่าง ๆ เช่น โลก ดาวศุกร์ หรือ ดาวพุธ โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม (ในเวลาต่อมาโยฮันเนิส เค็พเพลอร์ได้เสนอว่าควรเป็นวงรีดั่งโมเดลในปัจจุบัน) ถึงแม้ว่าความแม่นยำในการทำนายด้วยทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นไม่ได้ดีกว่าทฤษฎีเก่าของอริสโตเติลและทอเลมีเลย (ไม่ได้ให้ผลการทำนายตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ แม่นยำกว่าทฤษฎีเก่า) แต่ว่าทฤษฎีนี้ ถูกใจนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังในยุคนั้นหลายคน เช่น เดส์การตส์ กาลิเลโอ และเค็พเพลอร์ เนื่องจากว่าทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นเข้าใจง่ายและซับซ้อนน้อยกว่ามาก โดยกาลิเลโอกล่าวว่าเขาเชื่อว่ากฎต่าง ๆ ในธรรมชาติน่าจะเป็นอะไรที่สวยงามและเรียบง่าย ทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางดูซับซ้อนมากเกินไปจนไม่น่าเป็นไปได้ (ดูทฤษฎีความอลวนเพิ่มเติม) แนวคิดของกาลิเลโอนี้ ตรงกับหลักการของออคแคม (Ockham's/Occam's razor) ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยด้านการเรียนรู้ของเครื่อง

เกียรติยศ

แก้

โคเปอร์นิคัสได้รับเกียรติจากประเทศโปแลนด์ ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัยในตอรุญ ตั้งในปี ค.ศ. 1945 ชื่อของเขาเป็นชื่อธาตุตัวที่ 112 ที่ IUPAC ได้ประกาศไป

หมายเหตุ

แก้
  1. ภาพเหมือนของโคเปอร์นิคัสที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ที่นาฬิกาดาราศาสตร์สทราซบูร์ที่วาดโดย Tobias Stimmer ประมาณ ค.ศ. 1571–74 ข้อความที่จารึกข้างภาพเขียนว่าวาดตามภาพเหมือนตนเองของโคเปอร์นิคัสเอง นั่นทำให้มีแนวคิดว่าภาพเหมือนตอรุญ ซึ่งไม่ทราบผู้วาด อาจคัดลอกจากภาพเหมือนตนเองด้วย[1]

อ้างอิง

แก้
  1. André Goddu, Copernicus and the Aristotelian Tradition (2010), p. 436 (note 125), citing Goddu, review of Jerzy Gassowski, "Poszukiwanie grobu Mikołaja Kopernikaแม่แบบ:-" ("Search for Grave of Nicolaus Copernicus"), in Journal for the History of Astronomy, 38.2 (May 2007), p. 255.
  2. Linton (2004, pp. 39119) อย่างไรก็ดี โคเปอร์นิคัสมิใช่ผู้แรกที่เสนอระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางในบางรูปแบบ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวกรีกคนหนึ่ง ชื่อ อริสตาซูสแห่งซามอส ได้เสนอแนวคิดดังกล่าวมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลแล้ว กระนั้น มีหลักฐานน้อยมากว่าเขาเคยพัฒนาความคิดของเขาไกลเกินแบบร่างง่าย ๆ เท่านั้น (Dreyer, 1953, pp. 135–48).

ข้อมูล

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ข้อมูลปฐมภูมิ

ทั่วไป

เกี่ยวกับ De Revolutionibus

รางวัล

ความร่วมมือระหว่างเยอรมนี-โปแลนด์