นิรันดร์ ศิรินาวิน

พลเรือเอก นิรันดร์ ศิรินาวิน (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547) เป็นนายทหารเรือชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ เช่น สมุหราชองครักษ์, รองเจ้ากรมสารบรรณทหารเรือ, รองเจ้ากรมกำลังพลทหารเรือ และผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไทเป ไต้หวัน เป็นบิดาของอภิรัต ศิรินาวิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคมหาชน

นิรันดร์ ศิรินาวิน
สมุหราชองครักษ์
ดำรงตำแหน่ง
2 เมษายน พ.ศ. 2521 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าพลเอก จำเป็น จารุเสถียร
ถัดไปพลเอก นวล จันทร์ตรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เฮง ต่อตระกูล

6 พฤษภาคม พ.ศ. 2461
อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ประเทศสยาม
เสียชีวิต31 สิงหาคม พ.ศ. 2547 (86 ปี)
โรงพยาบาลรามาธิบดี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสสอาด สงวนเงิน (สมรส 2492)
บุตร5 คน
บุพการี
  • ฮั้ว ต่อตระกูล (บิดา)
  • เง็ก ต่อตระกูล (มารดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์
โรงเรียนนายเรือ
โรงเรียนเสนาธิการทหาร
วิทยาลัยการทัพเรือ
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
อาชีพทหารเรือ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพเรือไทย
ไฟล์:ตรากรมราชองค์รักษ์.png กรมราชองครักษ์
ประจำการพ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2526
ยศ พลเรือเอก
บังคับบัญชากรมราชองครักษ์
ผ่านศึกกรณีพิพาทอินโดจีน
สงครามมหาเอเชียบูรพา

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

พลเรือเอก นิรันดร์ ศิรินาวิน[1] เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 ที่ตำบลอินทประมูล หมู่ 8 อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เมื่อเกิดมีนามเดิมว่า เฮง ต่อตระกูล เปลี่ยนชื่อเป็น นิรันดร์ เมื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนนายเรือ และเมื่อจบจากโรงเรียนนายเรือได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น ศิรินาวิน เป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 5 คน ของฮั้วและเง็ก ต่อตระกูล

พลเรือเอก นิรันดร์ ศิรินาวิน สมรสกับท่านผู้หญิงสอาด ศิรินาวิน (สกุลเดิม สงวนเงิน) ธิดาของประวิทย์และสุภาพ สงวนเงิน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 มีบุตรธิดารวม 5 คน คือ

  1. บัณฑูรย์ ศิรินาวิน
  2. สุทธินี ศิรินาวิน
  3. ดุษฎี ศิรินาวิน
  4. พลเรือเอก กิตตินันท์ ศิรินาวิน
  5. อภิรัต ศิรินาวิน

พลเรือเอก นิรันดร์ ศิรินาวิน อุปสมบทเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ที่วัดเทพศิรินทราวาส จังหวัดพระนคร โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ และลาสิกขาบทในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน

การศึกษา

แก้

พลเรือเอก นิรันดร์ ศิรินาวิน เรียบจบมัธยมปีที่ 8 ที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ และต่อมาศึกษาที่โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 34 พรรคนาวิน จบในปี พ.ศ. 2484 และได้เข้าศึกษาต่อ ดังนี้[1]

การทำงาน

แก้

พลเรือเอก นิรันดร์ ศิรินาวิน รับราชการที่กองทัพเรือ ในตำแหน่งต้นหน เรือหลวงสุโขทัย และยังดำรงตำแหน่งสำคัญๆ เช่น[1]

การรับราชการ

แก้

ราชการพิเศษ

แก้
  • 12 กันยายน พ.ศ. 2491 – ไปรับเรือ แอล.ซี.ที 1 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ในตำแหน่งผู้บังคับการเรือ
  • 19 ตุลาคม พ.ศ. 2495 – ไปรับเรือ พี.ซี.570 (เรือหลวงล่องลม) ที่เมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน สหรัฐ ในตำแหน่งผู้บังคับการเรือ
  • 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 – เป็นกรรมการฝ่ายการฝึกหัดและศึกษา ประสานงานกับหน่วย จัสแมก ฝ่ายกองทัพเรือ
  • 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 – ไปดูงานการทำจริยาบรรณประวัติทหารและโรงเรียนนายเรือ (นายเรือพาณิชย์) ณ สหรัฐและญี่ปุ่น เป็นเวลา 4 เดือน
  • 8 มีนาคม พ.ศ. 2507 – เป็นราชองครักษ์เวร[5]
  • 4 มิถุนายน พ.ศ. 2519 – เป็นราชองครักษ์พิเศษ[6]
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2523 – เป็นนายทหารพิเศษประจำกองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ[7]

หลังเกษียณอายุราชการ พลเรือเอก นิรันดร์ ได้เข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ศรีกรุงวัฒนา จำกัด และบริษัทในเครือ ดังต่อไปนี้[1]

  • บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ยูไนเต็ดฟลาวมิลล์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ยูไนเต็ดไซโลแอนด์เซอร์วิส จำกัด
  • บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลแวร์เฮ้าซิ่ง จำกัด
  • บริษัท ยูจีซี แวร์เฮ้าซิ่ง จำกัด
  • บริษัท ยูไนเต็ดเกรนส์ จำกัด
  • บริษัท เจ้าพระยาพืชไร่ จำกัด

ถึงแก่อสัญกรรม

แก้

พลเรือเอก นิรันดร์ ศิรินาวิน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เวลา 22.55 น. ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 86 ปี 117 วัน มีการสวดพระอภิธรรมศพที่ศาลาร้อยปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลเรือเอก นิรันดร์ ศิรินาวิน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 (2548). ตามรอยจารึก พลเรือเอกนิรันดร์ ศิรินาวิน อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอกนิรันดร์ ศิรินาวิน ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๘. บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์ประจำ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๖ ง หน้า ๒๕๖๕, ๖ ตุลาคม ๒๕๐๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๗๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑ พฤษภาคม ๒๕๑๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ เมษายน ๒๕๒๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๑๓๒๕, ๒๘ เมษายน ๒๕๐๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๑๗๘๕, ๖ กรกฎาคม ๒๕๑๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ และเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับผู้กระทำความชอบมีบาดเจ็บหนึ่งครั้ง, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๒๕, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๘๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐๔, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๒ ง หน้า ๒๖๔๖, ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖๕, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๖๙๕, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๐๔