นาฏศิลป์ล้านนา หรือ ฟ้อนล้านนา เป็นศิลปะการแสดงทางภาคเหนือของประเทศไทย ปรากฏอยู่ในการฟ้อนประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงที่มีความเข้มแข็ง หนักแน่นในแบบฉบับของการตีกลองสะบัดชัยและการตบมะผาบ การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือนอกจะมีลักษณะเป็นแบบพื้นเมืองเดิม ไทยลานนา ไทยใหญ่ เงี้ยวรวมถึงพม่า ผสมกันอยู่แล้ว ยังรวมถึงการแสดงของภาคกลางรวมอยู่ด้วย

ลักษณะการฟ้อนแบบพื้นเมืองเดิม เช่น ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น ลักษณะการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น อาทิ พม่า ไทยใหญ่ เงี้ยว เช่น ฟ้อนไต ฟ้อนโต ฟ้อนเงี้ยว เป็นต้น ลักษณะการฟ้อนแบบคุ้มหลวง เป็นการฟ้อนที่เกิดขึ้นในคุ้มของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งมีลักษณะการฟ้อนของภาคกลางผสมอยู่ เช่น ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนน้อยใจยา เป็นต้น

ฟ้อนล้านนายุคดั้งเดิม พบหลักฐานจากวรรณกรรมต่าง ๆ ได้แก่ จามเทวีวงศ์ ของพระโพธิรังสี แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2020[1] โคลงนิราศหริภุญชัย แต่งประมาณปี พ.ศ. 2000–2181[2] เทศน์มหาชาติ กัณฑ์มหาราช ฉบับ ไม้ไผ่แจ้เรียวแดง[3] และ ตำนานพื้นเมืองฉบับเชียงใหม่ 700 ปี ซึ่งระบุว่าใช้ฉบับวัดพระงาม จารเมื่อ พ.ศ. 2397 [4]

เครื่องดนตรี แก้

  1. ซึง
  2. สะล้อ
  3. กลองเต่งถิ้ง
  4. ขลุ่ย
  5. ปี่จุม
  6. กลองสะบัดชัย
  7. กลองตึ่งโนง
  8. ปี่แน
  9. ตะหลดปด (มะหลดปด)
  10. กลองปู่จา (กลองบูชา หรือ ปู่จา)
  11. วงกลองปูเจ่ (กลองปูเจ)
  12. วงปี่ป๊าดก้อง (วงปี่พาทย์ล้านนา)
  13. พิณเปี๊ยะ

การแสดง แก้

การร้อง แก้

การร้องแบบภาคเหนือแบ่งออกเป็น หลายอย่าง โดยการร้องจะมีความหลากหลายของทำนองเพื่อไม่ให้ผู้ฟังเกิดการเบื่อหน่าย เช่น ทำนอง ตั้งเชียงใหม่ อื่อ ล่องน่าน เชียงแสน เงี้ยวสิบชาติ ปั่นฝ้าย พม่า น่านก๋าย จะปุ เป็นต้น โดยการร้องแบ่งออกได้ดังนี้

การฟ้อน แก้

 

การฟ้อน คือการแสดงของชาวเหนือโดยมีลีลาอ่อนช้อยงดงามการฟ้อนจะฟ้อนไปตามจังหวะของดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้มักเป็นเครื่องดนตรีของพื้นเมืองเกือบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสะล้อ ซึง กลองต่าง ๆ เป็นต้น ชาวอำเภอป่าแดดมักใช้ฟ้อนในงานสำคัญต่าง ๆ เช่นงานบุญงานทาน งานฉลอง งานรื่นเริง โดยการฟ้อนอาจแบ่งเป็นฟ้อนผู้หญิง ฟ้อนผู้ชาย

ป้จจุบันผู้หญิงอาจฟ้อนของผู้ชาย ผู้ชายฟ้อนของผู่หญิงก็ได้ไม่ผิด โดยหลัก ๆ ฟ้อนแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ

  • ฟ้อนบ่าเก่า (ฟ้อนโบราณ)
  • ฟ้อนประดิษฐ์ในพระราชสำนัก
  • ฟ้อนแบบเงี้ยว และ
  • ฟ้อนประยุค

โดยแยกได้ดังนี้

ฟ้อนประดิษฐ์ในพระราชสำนัก แก้

การฟ้อนแบบนี้หมายถึงการฟ้อนที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงประดิษฐ์ขึ้น หรือการฟ้อนที่ผู้ใกล้ชิดกับพระราชชายาฯ ได้ประดิษฐ์ ซึ่งพบว่ามี 9 กระบวนท่าฟ้อน คือ

  1. ฟ้อนเล็บ-ฟ้อนแห่ครัวทาน
  2. ฟ้อนเทียน
  3. ฟ้อนเงียว (แบบในวัง)
  4. ฟ้อนล่องน่าน (ฟ้อนน้อยไชยา)
  5. ฟ้อนกำเบ้อ
  6. ฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตา
  7. ฟ้อนมูเซอ
  8. ฟ้อนโยคีถวายไฟ

ฟ้อนแบบเงี้ยว แก้

หมายถึงการฟ้อนแบบไทใหญ่ พบว่ามีอยู่ 6 อย่าง คือ

  1. ฟ้อนเงี้ยว
  2. ฟ้อนไต
  3. ฟ้อนนก หรือฟ้อนกิงกะหร่า
  4. ฟ้อนก้าลาย
  5. ฟ้อนโต
  6. ฟ้อนก้าไต

ฟ้อนประยุค (ฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นในระยะหลัง) แก้

เมื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไปแล้ว ก็ได้มีผู้ประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นมาอีกหลายแบบ โดยชาวอำเภอป่าแดดมักนำการฟ้อนประยุคนี้มาฟ้อนในงานแห่ครัวทาน อาจจะรับอทธิพลจาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้าง ภาคกลาง ภาคใต้ก็ดี บ้างก็คิดเองขอเพียงมีจังหวะชาวอำเภอป่าแดดก็สามารถฟ้อนได้ในขบวนครัวทาน เช่นการฟ้อนภูไท ฟ้อนชาวเขา เซิ้ง ฟ้อนประยุค เป็นต้น

ในที่นี้จะขอยกการฟ้อนประยุคที่มีความนิยมทั่วไปไม่เฉพาะอำเภอป่าแดดเท่านั้น พบว่ามีหลายกระบวนท่าฟ้อนมาก ดังนี้

  1. ฟ้อนหริภุญชัย
  2. ฟ้อนร่ม
  3. ฟ้อนเก็บใบยาสูบ
  4. ฟ้อนยอง
  5. ฟ้อนศิลามณี
  6. ฟ้อนผางประทีป
  7. ฟ้อนล่องแม่ปิง
  8. ฟ้อนเชียงแสน
  9. ฟ้อนล่องน่าน
  10. ฟ้อนน่านนันทบุรี
  11. ฟ้อนวี (ฟ้อนพัด)
  12. ฟ้อนขันดอก
  13. ฟ้อนร่มฟ้าไท-ยวน (ฟ้อนร่มฟ้าล้านนา หรือฟ้อนยวนสาวไหม)
  14. ฟ้อนเบิกฟ้าป่าแดด
  15. ฟ้อนขันส้มป่อย

อ้างอิง แก้

  1. พระโพธิรังษี. จามเทวีวงศ์. 2554 หน้า 211
  2. อุดม รุ่งเรืองศรี. โคลงนิราศหริภุญชัย ใน วรรณกรรมล้านนา. 2546 หน้า 385
  3. อุดม รุ่งเรืองศรี. เวสสันตรชาดก ฉบับ ไม้ไผ่แจ้เรียวแดง. 2545 หน้า 408.
  4. วิทยาลัยครูเชียงใหม่. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี. 2545 หน้า 408