นากใหญ่ธรรมดา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Mustelidae
วงศ์ย่อย: Lutrinae
สกุล: Lutra
สปีชีส์: L.  lutra
ชื่อทวินาม
Lutra lutra
(Linnaeus, 1758)
ชนิดย่อย[2]
  • L. l. angustifrons Lataste, 1885
  • L. l. aurobrunneus Hodgson, 1839
  • L. l. barang F. G. Cuvier, 1823
  • L. l. chinensis Gray, 1837
  • L. l. hainana Xu and Lu, 1983
  • L. l. kutab Schinz, 1844
  • L. l. lutra (Linnaeus, 1758)
  • L. l. meridionalis Ognev, 1931
  • L. l. monticolus Hodgson, 1839
  • L. l. nair F. G. Cuvier, 1823
  • L. l. seistanica Birula, 1913
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของนากใหญ่ธรรมดา
ชื่อพ้อง[1]
  • Lutra nippon Imaizumi & Yoshiyuki, 1989

นากใหญ่ธรรมดา หรือ นากยุโรป (อังกฤษ: Common otter, European otter; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lutra lutra) เป็นนากชนิดที่สามารถพบได้กว้างขวางมาก มีลำตัวยาว ขนหนาและหยาบเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมเข้ามา ทำให้ว่ายน้ำได้คล่องแคล่ว และป้องกันอากาศเย็นได้เป็นอย่างดี สีขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน ในบางครั้งอาจเปลี่ยนหรือเห็นเป็นสีเทา บริเวณท้องมีสีขนที่อ่อนกว่า หัวแบนและกว้าง หูกลม หางเรียวยาว ขนสั้น นิ้วเท้ามีพังผืดยึดติดกัน

ขนาด

แก้

มีความยาวลำตัวและหัว 55-72 เซนติเมตร ความยาวหาง 37.5-48 เซนติเมตร น้ำหนักสูงสุด 3-5 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่

แก้

มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมากตั้งแต่ทวีปยุโรปจนถึงทวีปเอเชีย พบตั้งแต่ สหราชอาณาจักร, ยุโรปตะวันตก, รัสเซีย, ตุรกี, ซีเรีย, อิหร่าน, เลบานอน, ซาอุดิอาระเบีย, คูเวต, อิรัก, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะชวา (มีทั้งสิ้น 11 ชนิดย่อย ดูในตาราง[2])

พฤติกรรม

แก้

มีพฤติกรรมสามารถปรับตัวให้อาศัยในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ป่าใกล้ลำธารหรือทะเลสาบ แม่น้ำขนาดใหญ่ สามารถขึ้นไปอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบนพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,000 เมตร อาหารหลัก คือ สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเป็ดและไก่และนกน้ำชนิดต่าง ๆ ด้วย สามารถหาอาหารในน้ำที่มืดและขุ่นได้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสจากหนวด ทำหน้าที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ ออกหากินตามลำพังหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน มีพฤติกรรมในการถูตัวเกลือกกลิ้งกับทรายเพื่อเป็นการทำให้ขนแห้งและช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว ลูกนากใหญ่ธรรมดาจะเริ่มหัดอาหารกินเองเมื่ออายุได้ 4 เดือน โดยมีนากใหญ่ธรรมดาที่โตเต็มที่คอยช่วยเหลือและแบ่งปันอาหารให้ โดยบางครั้งอาจรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์นักล่าได้ด้วย[3]

ปฏิสัมพันธุ์กับมนุษย์

แก้

จากคุณสมบัติของขนที่ทั้งหนาและกันหนาวได้เป็นอย่างดี ทำให้ถูกล่าเพื่อเอาขนและหนังทำเป็นเสื้อขนสัตว์ในอดีต ก่อนที่ในปี ค.ศ. 1975 ทางกองทุนสัตว์ป่าโลก ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ยกเลิกการค้าหนังนาก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งสถานะของนากใหญ่ธรรมดาในปัจจุบัน จัดอยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix 1) ของอนุสัญญาไซเตส[4]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Ruiz-Olmo, J., Loy, A., Cianfrani, C., Yoxon, P., Yoxon, G., de Silva, P.K., Roos, A., Bisther, M., Hajkova, P. & Zemanova, B. (2008). Lutra lutra. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 21 March 2009. Database entry includes justification for why this species is near threatened
  2. 2.0 2.1 จาก itis.gov
  3. "Planet Earth 19 ธันวาคม 2558 พิภพโลก ตอนที่ 3". นาว 26. 19 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 10 January 2016.
  4. "นากใหญ่ธรรมดา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-29. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lutra lutra ที่วิกิสปีชีส์