นันทนา คำวงศ์
นันทนา คำวงศ์ ชื่อเล่น แป๋ว เกิดวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2523 เป็นนักกีฬาเทเบิลเทนนิสชาวไทย เธอเข้าแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และสามารถเข้าสู่รอบที่สองของการแข่งขันหญิงเดี่ยว รวมทั้งสามารถเข้าสู่รอบที่สามในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004[1] และได้รับการกล่าวว่าเป็นนักกีฬาเทเบิลเทนนิสชาวไทยที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยการเข้าแข่งขันกีฬาปิงปองในโอลิมปิก 4 สมัยติดต่อกัน[2] รวมทั้งถือได้ว่าเป็นนักกีฬาผู้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นจำนวนครั้งมากที่สุดของทีมชาติไทยในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012[3]
นันทนา คำวงศ์ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | นันทนา คำวงศ์ | |||||||||||||||||
ชื่อเล่น | แป๋ว | |||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | |||||||||||||||||
ถิ่นพำนัก | กรุงเทพมหานคร | |||||||||||||||||
สโมสร | โอสถสภา เอ็ม-สปอร์ต กองทัพบก | |||||||||||||||||
วันเกิด | 13 กันยายน พ.ศ. 2523 จังหวัดลำปาง ประเทศไทย | |||||||||||||||||
ส่วนสูง | 159 ซม. | |||||||||||||||||
น้ำหนัก | 51 กก. | |||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
ทั้งนี้ นันทนา คำวงศ์ มี วิโรจน์ จันผะกา เป็นผู้ฝึกสอนคนปัจจุบัน[4]
ประวัติ
แก้นันทนา คำวงศ์ เกิดที่จังหวัดลำปาง เป็นบุตรของนายวิรัช และนางอนงค์ คำวงศ์ ซึ่งนันทนามีพี่น้อง 2 คน เธอเริ่มเล่นเทเบิลเทนนิสครั้งแรกเมื่ออายุ 9 ปี โดยมีอาจารย์สิทธิเดช มโนน้อม เป็นผู้ฝึกสอนคนแรก[2] นันทนา คำวงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย[2] ในการแข่งขันกีฬาปิงปองในโอลิมปิกในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เธอสามารถผ่านเข้าสู่รอบสอง และในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ เธอสามารถผ่านเข้าสู่รอบสาม ตลอดจนในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เธอสามารถผ่านเข้าสู่รอบสอง[5]
นันทนายังได้แข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิสในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 โดยรอบแรกเธอได้พบกับ เล่ย หวง เมนเดส ซึ่งเป็นนักกีฬาทีมชาติโปรตุเกสที่โอนสัญชาติมาจากจีน และนันทนาเป็นฝ่ายชนะ 4-3 เกม ที่คะแนน 4-11, 3-11, 11-6, 12-14, 11-8, 11-2 และ 12-10[6][7][8][9] ส่วนในการแข่งขันรอบที่สอง เธอได้พบกับ อิเวตา วาเซนอฟสกา ผู้เป็นนักกีฬาจากสาธารณรัฐเช็ก และนันทนาเป็นฝ่ายแพ้ 1-4 เกม ที่คะแนน 16-14, 6-11, 4-11, 5-11 และ 3-11[10][11] ปัจจุบันเธอพำนักอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
ผลงานที่ผ่านมา
แก้- เหรียญเงิน ประเภทหญิงคู่ ซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซีย[5]
- เหรียญทองแดง ประเภทคู่ผสม ซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซีย[5]
- เหรียญเงิน ประเภททีมหญิง ซีเกมส์ 2009 ที่ประเทศลาว[5]
- เหรียญทองแดง ประเภทหญิงคู่, คู่ผสม, หญิงเดี่ยว ซีเกมส์ 2009 ที่ประเทศลาว[5]
- เหรียญเงิน ประเภททีมหญิง ซีเกมส์ 2007 ที่ประเทศไทย[5]
- เหรียญทองแดง ประเภทหญิงคู่, คู่ผสม, หญิงเดี่ยว ซีเกมส์ 2007 ที่ประเทศไทย[5]
- เหรียญเงิน ประเภททีมหญิง ซีเกมส์ 2005 ที่ประเทศฟิลิปปินส์[5]
- เหรียญทองแดง ประเภทหญิงคู่, คู่ผสม, หญิงเดี่ยว ซีเกมส์ 2005 ที่ประเทศฟิลิปปินส์[5]
- เหรียญทองแดง ประเภทหญิงคู่, คู่ผสม, หญิงเดี่ยว ซีเกมส์ 2003 ที่ประเทศเวียดนาม[5]
- เหรียญเงิน ประเภททีมหญิง ซีเกมส์ 2001 ที่ประเทศมาเลเซีย[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ITTF_Database". Ittf.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-16. สืบค้นเมื่อ 2012-10-04.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "แป๋ว นันทนา คำวงศ์ หนึ่งเดียวลูกเด้งสาวไทย ก้าวสู่บนสังเวียน อลป.สมัยที่ 4 ติดต่อกัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-04.
- ↑ นันทนา คำวงศ์ : ข่าวสดออนไลน์
- ↑ ลูกเด้งอลป.ไทยประเดิมฝอยทอง 28 กค.นี้ : มติชนออนไลน์
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 นันทนา คำวงศ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ Sport - Manager Online - นันทนา ฮึดบดฝอยทองลิ่วรอบ 2 ปิงปอง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ′แป๋ว′ ประเดิมโอลิมปิกสวยตบ ′จีน′ กระเจิง - ′เอกซ์′ ปืนด้านจบที่ 37 อัดลม 10 เมตร
- ↑ นันทนา คำวงศ์ ผ่านเข้ารอบ 2 เทเบิลเทนนิส ลอนดอนเกมส์[ลิงก์เสีย]
- ↑ หวิดไป! 'นันทนา' ฮึดซิวฝอยทอง 4-3 ลิ่วรอบ 2 ปิงปอง - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ "น้องแป๋วต้านไม่ไหว!นำก่อนพ่ายสาวเช็ก 1-4 เกม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-30. สืบค้นเมื่อ 2012-10-04.
- ↑ "แป๋ว" พ่ายสาวเช็กร่วงรอบ 2