การฝึกงาน เป็นช่วงเวลาหาประสบการณ์ทำงานที่องค์การเสนอให้เป็นระยะเวลาจำกัด[1] คำว่า intern เดิมจำกัดเฉพาะบัณฑิตแพทย์ (หมายถึง "แพทย์จบใหม่") แต่ปัจจุบันคำนี้มีใช้แพร่หลายในธุรกิจ องค์การไม่แสวงหาผลกำไร และหน่วยงานราชการ โดยทั่วไปนักเรียนนักศึกษาและบัณฑิตเข้าฝึกงานเพื่อมุ่งได้รับทักษะและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชานั้น ๆ นายจ้างได้รับประโยชน์จากตำแหน่งเหล่านี้เพราะมักรับสมัครลูกจ้างจากพนักงานฝึกงานที่ดีที่สุด ซึ่งมีสมรรถภาพที่ทราบกันอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงประหยัดเวลาและเงินได้ในระยะยาว ปกติองค์การภายนอกเป็นผู้จัดการการฝึกงาน ซึ่งรับสมัครพนักงานฝึกงานในนามของกลุ่มอุตสาหกรรม มีกฎต่างกันในแต่ละประเทศว่าพนักงานฝึกงานควรถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ระบบการฝึกงานอาจเปิดช่องให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างบางคน

การฝึกงานในวิชาชีพมีความคล้ายกันในบางด้าน แต่ไม่เข้มงวดเท่ากับการเป็นลูกมือฝึกหัด (apprenticeship) สำหรับวิชาชีพ การค้าและงานอาชีวะ[2] ด้วยเหตุที่ไม่มีการวางมาตรฐานและการกำกับดูแล คำให้คำว่า "การฝึกงาน" เปิดช่องให้ตีความอย่างกว้างขวาง พนักงานฝึกงานอาจเป็นได้ทั้งนักเรียนไฮสกูลหรือมัธยม นักศึกษาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย หรือผู้ใหญ่หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ตำแหน่งเหล่านี้อาจได้หรือไม่ได้รับค่าจ้าง และเป็นตำแหน่งชั่วคราว[3]

ตรงแบบการฝึกงานประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนบริการกับประสบการณ์ระหว่างพนักงานฝึกงานและองค์การ การฝึกงานยังใช้ตัดสินว่าพนักงานฝึกงานผู้นั้นยังมีความสนใจในสาขานั้นหรือไม่หลังได้ประสบการณ์ชีวิตจริงหรือไม่ นอกจากนี้ การฝึกงานยังสามารถใช้สร้างเครือข่ายวิชาชีพที่สามารถช่วยเหลือเรื่องจดหมายแนะนำหรือนำไปสู่โอกาสการจ้างงานในอนาคต ประโยชน์ของการนำพนักงานฝึกงานเข้าสู่การจ้างงานเต็มเวลา คือ พนักงานฝึกงานจะมีความคุ้นเคยกับบริษัทและตำแหน่งเดิมอยู่แล้ว และโดยทั่วไปแล้วต้องการการฝึกอบรมเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องการเลย การฝึกงานให้นักศึกษาปัจจุบันสามารถมีส่วนร่วมในสาขาที่ตนเลือกเพื่อรับการเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพในอนาคต และเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานเต็มเวลาหลังสำเร็จการศึกษา[3][4]

ประเภท แก้

มีการฝึกงานในอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมหลากหลาย การฝึกงานมีทั้งได้รับค่าจ้าง ไม่ได้รับค่าจ้าง หรือได้รับค่าจ้างบางส่วน (ในรูปค่าครองชีพ)[5] การฝึกงานอาจเป็นแบบไม่เต็มเวลาหรือเต็มเวลาก็ได้ และมักยืดหยุ่นกับตารางเวลาของนักศึกษา การฝึกงานทั่วไปกินเวลาประมาณหนึ่งถึงสี่เดือน แต่อาจสั้นหรือยาวกว่านั้นขึ้นอยู่กับองค์การที่เกี่ยวข้อง การให้ติดตามการทำงาน (job shadowing) อาจถือเป็นการฝึกงานด้วย[6]

  • การฝึกงานที่ได้รับค่าจ้าง พบปกติในสาขาวิชาชีพ เช่น แพทยศาสตร์ สถาปัตยกรรม วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม กฎหมาย ธุรกิจ (โดยเฉพาะการบัญชีและการเงิน) เทคโนโลยี และการโฆษณา[7] การฝึกงานเพื่อประสบการณ์การทำงานปกติจัดขึ้นในช่วงปีที่สองหรือสามของการเล่าเรียน การฝึกงานประเภทนี้เป็นการเพิ่มพูนความรู้ของผู้ฝึกงานทั้งในการศึกษาในโรงเรียนและในบริษัทด้วย คาดหมายว่าพนักงานฝึกงานจะนำความคิดและความรู้จากสถาบันการศึกษาเข้าสู่บริษัท[8][9]
  • การทำงานวิจัย การวิจัยเสมือน (สำเร็จการศึกษา) หรือวาทนิพนธ์: ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาปีสุดท้าย การฝึกงานประเภทนี้ นักศึกษาต้องทำวิจัยให้แก่บริษัทหนึ่ง ๆ[10] บริษัทอาจมีบางด้านที่รู้สึกว่าจำเป็นต้องปรับปรุง หรือนักศึกษาสามารถเลือกหัวข้อในบริษัทนั้นเอง ผลการศึกษาวิจัยจะมีการเตรียมเป็นรายงานและมักต้องนำเสนอ[10]
  • การฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ปกติมักผ่านงานการกุศลไม่แสวงผลกำไร และ think tank มักเป็นตำแหน่งไม่ได้รับค่าจ้างหรืออาสาสมัคร กฎหมายรัฐและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐอาจกำหนดข้อกำหนดต่อโครงการการฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างภายใต้รัฐบัญญัติค่าจ้างขั้นต่ำ โครงการจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์จึงจำแนกอย่างเหมาะสมว่าเป็นการฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน
  • การฝึกงานแบบได้รับค่าจ้างบางส่วน คือ เมื่อนักศึกษาได้รับค่าจ้างในรูปค่าครองชีพ ซึ่งปกติเป็นเงินจำนวนตามที่กำหนดซึ่งจ่ายเป็นประจำ ปกติ พนักงานฝึกงานที่ได้รับค่าจ้างแบบนี้จะได้รับค่าจ้างตามตารางที่องค์การกำหนด

การฝึกงานอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้น คือ การฝึกงานเสมือน ซึ่งพนักงานฝึกงานทำงานทางไกล คือ ไม่ได้มาฝึกงานด้วยตัวเอง นับเป็นการมอบความสามารถในการหาประสบการณ์อาชีพโดยไม่ต้องกำหนดว่ามาทำงานด้วยตัวเองที่สำนักงาน การฝึกงานดังกล่าวดำเนินการด้วยวิธีเสมือน เช่น โทรศัพท์ อีเมลและการสื่อสารทางเว็บ พนักงานฝึกงานเสมือนโดยทั่วไปมีโอกาสเลือกจังหวะการทำงานของตนเองได้

ค่าธรรมเนียมการฝึกงาน แก้

บริษัทที่มองหาพนักงานฝึกงานมักค้นหาและมอบหมายนักศึกษาในตำแหน่งไม่ได้รับค่าจ้างโดยมีค่าธรรมเนียม[11] บริษัทเหล่านี้เรียกเก็บเงินจากนักศึกษาเพื่อช่วยในการวิจัยโดยสัญญาว่าจะคืนเงินค่าธรรมเนียมหากไม่พบการฝึกงาน[12] โปรแกรมดังกล่าวมีหลากหลายและมุ่งจัดการหาพนักงานฝึกงานให้แก่บริษัทที่มีชื่อเสีงย บางบริษัทอาจให้การเคหะที่มีการควบคุมในนครใหม่ ระบบพี่เลี้ยง การสนับสนุน เครือข่าย กิจกรรมสุดสัปดาห์หรือหน่วยกิตวิชาการ[5]

บางบริษัทเจาะจงจัดหาทุนการศึกษาและเงินอุดหนุนแก่ผู้สมัครรายได้น้อย นักวิจารณ์การฝึกงานวิจารณ์ว่าระบบต้องการหน่วยกิตมหาวิทยาลัยซึ่งจะได้มาต่อเมื่อการฝึกงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างเท่านั้น[13] ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายของโรงเรียน พฤติการณ์ดังกล่าวมักถูกมองว่าเป็นการปฏิบัติที่ไร้จริยธรรม เพราะกำหนดให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนหน่วยกิตค่าเล่าเรียนที่ต้องเสียเงินและมักมีจำกัดเพื่อทำงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน[14] การจ่ายค่าหน่วยกิตวิชาการเป็นวิธีรับประกันว่านักศึกษาสำเร็จระยะเวลาของการฝึกงาน เพราะพวกเขามีสถาบันวิชาการรับผิดชอบอยู่ ตัวอย่างเช่น นักศึกษาอาจได้รับหน่วยกิตวิชาการเฉพาะหลังมหาวิทยาลัยได้รับบทปฏิทัศน์ททางบวกจากผู้ควบคุมดูแลของพนักงานฝึกงานที่องค์การผู้สนับสนุน[15]

อ้างอิง แก้

  1. Definition of Internship (as set forth in the Ohio State University Department of Political Science, accessed January 22, 2013
  2. "The difference between Internships and Apprenticeships" เก็บถาวร 2016-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนinternstars.co.uk.
  3. 3.0 3.1 Perlin, Ross (2013). "Internships". Sociology of Work: An Encyclopedia. doi:10.4135/9781452276199.n165. ISBN 9781452205069.
  4. Dailey, Stephanie L. (2016-08-07). "What Happens Before Full-Time Employment? Internships as a Mechanism of Anticipatory Socialization" (PDF). Western Journal of Communication. 80 (4): 453–480. doi:10.1080/10570314.2016.1159727. hdl:2152/24733. ISSN 1057-0314.
  5. 5.0 5.1 "Unpaid internships face legal, ethical scrutiny" เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Bowdoin Orient, Bowdoin College, April 30, 2004
  6. "Job Shadow". FVHCA. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
  7. [ต้องการอ้างอิง]
  8. "Insight Programs". Morgan Stanley (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ April 5, 2020.
  9. "Goldman Sachs | Student Programs - Insight Series". Goldman Sachs (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ April 5, 2020.
  10. 10.0 10.1 "Five principles for research ethics". American Psychological Association (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
  11. Sue Shellenbarger (January 28, 2009). "Do You Want An Internship? It'll Cost You". The Wall Street Journal.
  12. Timothy Noah (January 28, 2009). "Opportunity for Sale; Psst! Wanna buy an internship?".
  13. Yglesias, Matthew (2013-12-04). "Two Cheers for Unpaid Internships". Slate (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 1091-2339. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
  14. Discenna, Thomas A. (2016-08-07). "The Discourses of Free Labor: Career Management, Employability, and the Unpaid Intern". Western Journal of Communication. 80 (4): 435–452. doi:10.1080/10570314.2016.1162323. ISSN 1057-0314.
  15. "Unpaid Internships: Unfair and Unethical | The Bottom Line". The Bottom Line (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-02-28. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.