บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และนิคมอุตสาหกรรม มีที่ตั้งโครงการจำนวน 2 แห่ง คือ เขตอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานีและเขตอุตสาหกรรมนวนคร นครราชสีมา ดำเนินธุรกิจประกอบด้วย 4 ธุรกิจหลัก อันได้แก่การพัฒนาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การลงทุนทางด้านสาธารณูปโภค การลงทุนทางด้านการบริการ และการลงทุนทางด้านพลังงาน[1]

บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:NNCL
อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์
ก่อตั้ง26 มีนาคม พ.ศ. 2514
สำนักงานใหญ่เลขที่ 999 หมู่ 13 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ปทุมธานี 12120
บุคลากรหลักสุทธิพร จันทวานิช (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร)
เว็บไซต์www.navanakorn.co.th

บริษัท นวนคร จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2514[2] โดยดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร บนถนนพหลโยธิน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ด้วยเนื้อที่เริ่มต้น 5,000 ไร่ ต่อมา พ.ศ. 2534 บริษัท เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ได้เข้ามาถือหุ้นร้อยละ 53.35 ต่อมาบริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ในปี พ.ศ. 2547 บริษัทได้เปิดทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[3]

บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทร่วมค้าและบริษัทที่เกี่ยวข้อง

แก้
บริษัทย่อย
  • บริษัท อาร์อีเอ็น โคราชเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (REN)
  • บริษัท ๙ สมาร์ท เรสซิเดนซ์ จำกัด
  • บริษัท ๙ สมาร์ท ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด
  • บริษัท ๙ เฟรชมาร์เก็ตเพลส จำกัด
  • บริษัท ๙ โฮเทล แอนด์เซอร์วิส จำกัด
บริษัทร่วม/บริษัทร่วมค้า
  • บริษัท ไทธนันต์ จำกัด
  • บริษัท ผลิตไฟฟ้า นวนคร จำกัด (NNEG)
  • บริษัท อาร์อีเอ็น โคราชเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด
  • บริษัท รักษาความปลอดภัย นวนคร อินเตอร์เนชั่นแนลการ์ดดิ้ง จำกัด (เดิม บริษัท นวนคร อินเตอร์เนชั่นแนลการ์ด จำกัด)
  • บริษัท ซูมิโชโกลบอลโลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (เดิม บริษัท นวนคร ดิสตริบิวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด)

อ้างอิง

แก้
  1. "แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2564". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-08. สืบค้นเมื่อ 2022-08-08.
  2. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร". วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง.
  3. "ประวัติของเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร" (PDF).