นายนริศร ทองธิราช (เกิด 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 3 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคชาติไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย อดีต สจ.สกลนคร, อดีตประธานสภา สจ.สกลนคร, อดีต สว.สกลนคร, อดีตสส.สกลนคร 2 สมัย

นริศร ทองธิราช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 (63 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสสุลักษณ์ ทองธิราช

ประวัติ แก้

ดร.นริศร ทองธิราช เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายนิยุต และนางหนูไสย ทองธิราช เป็นหลานชายโดยสายเลือดของหลวงศรีสุราษฎร์ ทองธิราช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก สาขารัฐศาสตร์ การปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท MBA จากประเทศอเมริกา ปริญาเอกจากประเทศอินเดีย สมรสกับนางสุลักษณ์ (อดีต ส.อบจ.เขตอำเภอพรรณานิคม[1]) มีบุตร 3 คน

งานการเมือง แก้

อดีตเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ตามลำดับ

พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ในสังกัดพรรคชาติไทย โดยเอาชนะนายเฉลิมชาติ การุญ จากพรรคความหวังใหม่ แต่ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 นายนริศรพ่ายให้กับนายเฉลิมชาติ ซึ่งย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย

ต่อมา พ.ศ. 2549 นายนริศรลงสมัคร และได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสกลนคร หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นายนริศรลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง สังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 5 ของเขต (มี ส.ส.ได้ 3 คน) หลังจากนั้นนายนริศรจึงไปดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2554 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง สังกัดพรรคเพื่อไทย ซึ่งในปี พ.ศ. 2556 เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กดบัตรแสดงตนอิเล็กทรอนิกส์แทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนอื่น ในการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติให้ดำเนินคดีอาญาต่อเขา เนื่องจากไม่ตรวจทานร่างรัฐธรรมนูญ [2]

วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งส่งผลให้เขา ถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการ เป็นเวลา 5 ปี [3]

วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนริศร เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าพนักงานของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ฯ (คดีเสียบบัตรแทน) [4] กระทั่งศาลมีคำพิพากษา ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ให้จำคุก 16 เดือน[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นริศร ทองธิราช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. การเมืองของส.อบจ.เขต3สกลนคร มีสามีหนุนหลัง-ให้กำลังใจตลอด
  2. http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9590000090423[ลิงก์เสีย]
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-05. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
  4. isranews (2019-08-14). "อัยการฟ้องศาลฎีกาฯ'นริศร ทองธิราช' คดีเสียบบัตรแทนกัน-ป.ป.ช.เหลือสอบอีกหลายสำนวน". สำนักข่าวอิศรา.
  5. ด่วน! ศาลสั่งจำคุก 16 เดือนไม่รอลงอาญา “นริศร ทองธิราช” ปมเสียบบัตรแทนกัน
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น แก้