นพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา (เดิม โนบุโกะ ทาคากิ; 17 กันยายน พ.ศ. 2455 — 26 มีนาคม พ.ศ. 2533) อดีตอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษเพลงพระราชนิพนธ์ Falling Rain (สายฝน), Near Dawn (ใกล้รุ่ง), Lullaby (ค่ำแล้ว)
นพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา | |
---|---|
เกิด | โนบุโกะ ทาคากิ 17 กันยายน พ.ศ. 2455 รัฐโรดไอแลนด์ สหรัฐ |
เสียชีวิต | 26 มีนาคม พ.ศ. 2533 (77 ปี) |
สัญชาติ | ญี่ปุ่น-อเมริกัน |
มีชื่อเสียงจาก | อดีตอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ |
บุตร | หม่อมหลวงประจักษศิลป ทองใหญ่ หม่อมหลวงนีลนารา ชิโมมุระ หม่อมหลวงจักรานพคุณ ทองใหญ่ หม่อมหลวงสุนทรานี ทองใหญ่ |
บิดามารดา | โรกุจิโร ทาคากิ ลูลูเบล วินนี |
ประวัติ
แก้ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา มีนามเดิมว่า โนบุโกะ ทาคากิ เป็นบุตรคนที่สี่ของโรกุจิโร ทาคากิ (ชาวญี่ปุ่น) กับลูลูเบล วินนี (ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช) เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2455 ที่ รัฐโรดไอแลนด์ สหรัฐ มีพี่สาวสองคน พี่ชายหนึ่งคน เธอเติบโตในเมืองอีทากา รัฐนิวยอร์ก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมด้านอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วิชารองครุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล รัฐนิวยอร์ก สมรสกับหม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ (อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร; โอรสในพลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ กับหม่อมลุดมิลา ทองใหญ่ ณ อยุธยา) มีบุตรธิดา 4 คน คือ
- หม่อมหลวงประจักษศิลป ทองใหญ่ สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันดี ทองใหญ่ ณ อยุธยา อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีบุตร 3 คน คือ
- ประวาลทอง ทองใหญ่ ณ อยุธยา
- ประคองศิลป์ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
- ประวีณศรี ไตรประคอง
- หม่อมหลวงนีลนารา ชิโมมุระ สมรสกับยาซุโอะ ชิโมมุระ นักวิทยาศาสตร์ด้านพลังงานนิวเคลียร์ ชื่อดังชาวญี่ปุ่น มีบุตร 3 คนคือ
- ฮิโรโนบุ ชิโมมุระ
- บุนจิโร ชิโมมุระ
- มิโนรุ ชิโมมุระ
- หม่อมหลวงจักรานพคุณ ทองใหญ่ นักวิชาการทางการเกษตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หม่อมหลวงสุนทรานี ทองใหญ่
ท่านผู้หญิงนพคุณ เป็นผู้มีความสามารถทางภาษาอย่างยิ่ง และมีคติประจำใจว่า "ยิ่งได้รับเกียรติยศสูงขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งต้องทำงานให้สมกับเกียรติยศมากขึ้นเท่านั้น" และเป็นศาสตราจารย์หญิงคนแรกของไทย
ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2533 สิริอายุ 78 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2533
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[2]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[3]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘๗, ๔ มกราคม ๒๕๐๖