นกหวีด (อังกฤษ: whistle หรือ call) เป็นเครื่องเป่าลม ที่สร้างเสียงจากการไหลของอากาศ โดยทำให้เกิดลมเคลื่อนผ่านส่วนที่มีลักษณะเป็นใบแคบๆ (ฟิบเปิล, fipple) ทำให้เกิดเป็นลมหมุนวนจนกระทั่งอากาศสั่นสะเทือนกลายเป็นคลื่นเสียง [1]

นกหวีด "Acme Thunderer" (ซ้าย) และนกหวีด "Metropolitan" (ขวา) ที่ใช้งานโดยตำรวจอังกฤษ
นกหวีด "Fox 40" ที่ผู้ตัดสินกีฬานิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน

เครื่องมือส่งเสียงในลักษณะเดียวกับนกหวีด มีมาตั้งแต่สมัยคริสต์สตวรรษที่สาม [ต้องการอ้างอิง] ทหารยามจีนโบราณใช้การเป่าลมผ่านส่วนบนของเปลือกผลโอค [2] ส่งเสียงแจ้งเตือนการโจมตีของข้าศึกชาวมองโกล ส่วนชาวอียิปต์โบราณ [ต้องการอ้างอิง] ใช้ใบพาไพรัสสองใบประกบกันด้วยฝ่ามือ เป่าให้เกิดเสียงดัง

นกหวีดที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ถือกำเนิดขึ้นโดยโจเซฟ และเจมส์ ฮัดสัน ชาวเมืองเบอร์มิงแฮม ได้ประดิษฐ์นกหวีดทำด้วยทองเหลือง มีชื่อว่า "Acme City" ซึ่งได้ใช้โดยผู้ตัดสินในการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอคัพระหว่างนอตทิงแฮมฟอเรสต์กับเชฟฟิลด์ [3] เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1878 แทนการใช้ผ้าเช็ดหน้าที่ใช้มาแต่เดิม ต่อมาโจเซฟ ฮัดสันได้ค้นพบโดยบังเอิญว่า ถ้าบรรจุเมล็ดถั่วเล็กๆ ลงไป จะทำให้นกหวีดส่งเสียงดังไปได้ไกลกว่าเดิมมาก จึงเป็นต้นกำเนิดของนกหวีด "Acme Thunderer" ใช้ไม้คอร์กกลมช่วยให้เกิดเสียงดัง [4] ที่ใช้งานโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจอังกฤษ และกลายเป็นนกหวีดที่มีการใช้งานมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน

ในการแข่งขันกีฬา ปัจจุบันนิยมใช้นกหวีด "Fox 40" ที่ประดิษฐ์โดย รอน ฟ็อกครอฟต์ อดีตผู้ตัดสินบาสเกตบอลชาวแคนาดา ในปี 1987 เป็นนกหวีดที่ไม่มีการใช้ลูกไม้คอร์ก และแก้ปัญหาข้อผิดพลาดจากการชำรุดของนกหวีดแบบเดิม [5]

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติศาสตร์"นกหวีด"บนเส้นทางการต่อสู้[ลิงก์เสีย] โพสต์ทูเดย์ 5 พฤศจิกายน 2556
  2. http://www.sciencetoymaker.org/acorn/assembl.html
  3. "History of the Whistle".
  4. History of the Whistle
  5. นกหวีด ประวัติที่น่าสนใจ ตราชู กาญจนสถิตย์

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Whistles