นกตีทอง
นกตีทอง | |
---|---|
Megalaima haemacephala --> | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Piciformes |
วงศ์: | Megalaimidae |
สกุล: | Megalaima |
สปีชีส์: | M. haemacephala |
ชื่อทวินาม | |
Megalaima haemacephala Statius Muller, 1776 | |
ชื่อพ้อง | |
Xantholaema haemacephala |
นกตีทอง[2] (อังกฤษ: coppersmith barbet, crimson-breasted barbet, coppersmith, ชื่อวิทยาศาสตร์: Megalaima haemacephala) เป็นนกโพระดก (Megalaimidae) ที่เล็กที่สุด ตัวเขียว คอเหลือง อกและหน้าผากแดง ขอบตาเหลือง มักเกาะบนต้นไม้สูง รู้จักกันดีเพราะร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอเหมือนกับช่างตีทอง (ฝรั่งว่าเหมือนกับช่างตีทองแดง) เป็นนกประจำถิ่นของเอเชียใต้ และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ ทำรังโดยเจาะโพรงไม้เหมือนกับนกโพระดกประเภทอื่น ๆ โดยมากกินผลไม้ เช่น ลูกไทร แต่บางครั้งก็กินแมลงอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะแมลงเม่า (ปลวกมีปีก) ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[3]
คำพรรณนา
แก้นกโพระดกพันธุ์นี้ อาจอยู่ในเขตเดียวกันกับนกโพระดกตัวใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ ที่พบในเอเชียใต้ ในเทือกเขาฆาฏตะวันตกของประเทศอินเดีย จะอยู่ในเขตเดียวกันกับนกโพระดกพันธุ์ M. malabarica ซึ่งมีขนาดคล้ายกัน แต่ร้องถี่กว่า หน้าผากที่แดง ขอบตาและคอที่เหลือง ท้องที่ลาย และตัวด้านบนที่เขียว เป็นลักษณะเฉพาะของนก ลูกนกจะมีสีจางกว่า และไม่มีส่วนสีแดง ตัวผู้ตัวเมียจะคล้ายกัน พันธุ์ย่อยในประเทศศรีลังกามีหน้าที่ดำกว่า มีสีแดงมากกว่าที่อก และมีแถบเข้มกว่าตรงท้อง[4]
ในฤดูผสมพันธุ์ ขนที่สึกหรอจะทำให้หลังด้านบน ดูออกเป็นสีน้ำเงิน[5]
ในบรรดานกโพระดกสกุล Megalaima นกตีทองเป็นสัตว์ "ต้นตระกูล" (basal) ของสกุล ดังที่พบโดยการวิเคราะห์วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetic analysis) ดังนั้น นกสกุลเดียวกันพันธุ์อื่น ๆ ในเอเชีย จึงเป็นนกที่แยกสายพันธุ์ออกจากสกุลนี้ในภายหลัง[6]
มีพันธุ์ย่อย 9 พันธุ์ที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางคือ
- พันธุ์ต้นแบบ haemacephala (P. L. S. Müller, 1776) พบในหมู่เกาะลูซอนและมินโดโร ในประเทศฟิลิปปินส์
- พันธุ์ย่อย indica (Latham, 1790) พบในอินเดียใต้ เริ่มจากเขตตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปากีสถาน ไปจนถึงศรีลังกา ไทย และเวียดนาม มีพันธุ์ย่อยอื่น ๆ ที่เดี๋ยวนี้รวมเข้าในพันธุ์นี้
พันธุ์ย่อย ๆ ที่เหลือ พบในเกาะต่าง ๆ ในเอเชียอาคเนย์
- delica (Parrot, 1907) เกาะสุมาตรา
- rosea (Dumont, 1816) เกาะชวา
- homochroa (Dziadosz & Parkes, 1984) เกาะ Tablas (จังหวัดรอมบลอน ประเทศฟิลิปปินส์)
- celestinoi (Gilliard, 1949) เกาะ Catanduanes, Biliran, ซามาร์, เลย์เต ประเทศฟิลิปปินส์
- intermedia (Shelley, 1891) เกาะปาไนย์, Guimaras, Negros ประเทศฟิลิปปินส์
- cebuensis (Dziadosz & Parkes, 1984) เกาะเซบู ประเทศฟิลิปปินส์
- mindanensis (Rand, 1948) เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์
ที่อยู่และการกระจายพันธุ์
แก้นกมักจะอยู่ในสวน ป่าเล็ก ๆ และป่าโล่ง ๆ ที่ ๆ มีต้นไม้ตายแล้ว ขุดเจาะได้ง่าย เป็นลักษณะสำคัญของที่อยู่ของนก นกจะทำรังและนอนอยู่ในโพรงไม้[7]
ในอินเดียใต้ นกมักจะอยู่ในที่ต่ำกว่า 4,000 ฟุต (1,219 เมตร)[8] ในเทือกเขาหิมาลัย นกจะอยู่ในหุบเขาในเขตรอบนอก จนถึงเขตสูงประมาณ 3,000 ฟุต (914 เมตร) นกจะมีน้อยในเขตทะเลทราย หรือในป่าที่ชื้นมาก[9]
พฤติกรรมและนิเวศน์
แก้นกมักจะอยู่เดี่ยว ๆ เป็นคู่ ๆ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่อาจพบเป็นฝูงใหญ่บนต้นไทรที่ออกผลมาก นกชอบตากแดดตอนเช้า ๆ บนกิ่งไร้ใบบนต้นไม้สูง ๆ บางครั้งจะโฉบไปโฉบมาแล้วมาจับกิ่งใกล้ ๆ กัน นกบินเป็นเส้นตรง โดยกระพือปีกเร็ว ๆ[5]
นกต้องแย่งรังกับนกและสัตว์กินผลไม้อื่น ๆ ที่ทำรังในโพรงไม้ ได้พบว่า นกโพระดกคอสีฟ้าไล่นกตีทองออกจากรัง และนกปรอดพันธุ์ Pycnonotus cafer (red-vented bulbul) จะขโมยผลไม้ที่ตัวผู้นำมาให้ตัวเมีย[10]
รังที่เป็นโพรงจะใช้สำหรับพักด้วย นกบางตัวอยู่ตัวเดียว และบางพวกจะพักตอนกลางวันด้วย ลูกนกจะพักอยู่กับพ่อแม่ แต่บ่อยครั้งต้องกลับมาก่อน ไม่เช่นนั้น พ่อแม่อาจจะไม่ให้เข้ารัง[7]
เสียงร้อง
แก้นกร้องเสียงดัง คล้ายกับช่างเคาะโลหะ ดัง "ป๊ก...ป๊ก...ป๊ก" คล้ายกับช่างตีทอง (หรือตีทองแดง สำหรับฝรั่ง) ซึ่งให้ชื่อกับนก ร้องซ้ำ ๆ กันนาน โดยเริ่มเบา ๆ ก่อน แล้วดังขึ้นจนถึงระดับ เป็นจังหวะสม่ำเสมอที่ 108-121 ครั้งต่อนาที และอาจจะร้องถึง 204 ครั้ง นกไม่อ้าปากเวลาร้อง หนังที่คอทั้งสองข้างจะพองออกแล้วยุบ และจะผงกหัว ในการร้องแต่ละครั้ง นกจะไม่ร้องในฤดูหนาว[5]
อาหาร
แก้นกชอบกินลูกบันยัน โพ ไทรประเภทอื่น ๆ ผลเมล็ดเดียวแข็ง (drupe) ผลประเภทอื่น ๆ และบางครั้งแมลงที่โฉบกินในอากาศ[11][12] และอาจจะกินกลีบดอกไม้บางชนิดด้วย[13] นกกินผลไม้หนักกว่าตนเอง 1.5 - 3 เท่าต่อวัน[14]
การสืบพันธุ์
แก้วิธีจีบกันรวมทั้งร้องเพลง พองคอออก ผงกหัว สะบัดหาง ให้อาหาร และไซ้ขน[7][15]
นกผสมพันธุ์กันโดยมากทั้งปี โดยต่างกันในพื้นที่ต่าง ๆ ฤดูผสมพันธุ์ในอินเดีย อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ในศรีลังกา อยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกันยายน ทั้งตัวผู้ตัวเมียช่วยกันเจาะรัง ใต้กิ่งไม้ตามขวางกิ่งแคบ ๆ นกอาจจะพักนอนอยู่ในรังด้วย[4] นกวางไข่ 3-4 ฟอง แต่เหมือนกับนกที่ทำรังในโพรงไม้อื่น ๆ เวลาฟักไข่นั้น ไม่ค่อยชัดเจน แต่ประมาณว่าอยู่ที่ 2 อาทิตย์ ทั้งตัวผู้ตัวเมียช่วยกันฟักไข่ บางครั้ง นกอาจจะมีลูกสองชุดติด ๆ กัน[5]
ปัจจัยการตาย
แก้นกผู้ใหญ่อาจจะถูกล่า และในเขตเมือง นกอาจจะบินชนสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้งกำแพงขาว[16] การตายเพราะพิษจากสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ ก็ยังปรากฏด้วย[17]
เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ BirdLife International (2012). "Megalaima haemacephala". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 2013-11-26.
- ↑ "ตีทอง", พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒,
น. ชื่อนกชนิด Megalaima haemacephala ในวงศ์ Megalaimidae เป็นนกโพระดกที่เล็กที่สุด ตัวเขียว คอเหลือง อกแดง หน้าผากแดง ขอบตาเหลือง ทำรังในโพรงไม้ กินผลไม้ เช่น ลูกไทร มักเกาะบนต้นไม้สูง ร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอ.
- ↑ "สัตว์ป่าคุ้มครอง". โลกสีเขียว. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 4.0 4.1 Rasmussen, PC & JC Anderton (2005). Birds of South Asia: The Ripley Guide. Vol. 2. Smithsonian Institution & Lynx Edicions. pp. 279–280.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Ali, S & S D Ripley (1983). Handbook of the birds of India and Pakistan. Vol. 4 (2 ed.). Oxford University Press. pp. 163–165.
- ↑ Moyle, RG (2004). "Phylogenetics of barbets (Aves: Piciformes) based on nuclear and mitochondrial DNA sequence data". Molecular Phylogenetics and Evolution. 30 (1): 187–200. doi:10.1016/S1055-7903(03)00179-9. PMID 15022769.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Lok AFSL & Lee TK (2009). "Barbets of Singapore. Part 2: Megalaima haemacephala indica Latham (Coppersmith Barbet), Singapore's only native, urban barbet" (PDF). Nature in Singapore. 1: 47–54. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
- ↑ Dewar, Douglas (1915). Birds of the Indian Hills. John Lane. p. 243.
- ↑ Blanford, WT (1895). The Fauna of British India, Including Ceylon and Burma. Birds. Volume 3. Taylor and Francis. p. 98.
- ↑ Tooth,EE (1901). "Nesting difficulties of the coppersmith". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 13 (4): 713–714.
- ↑ Ali, Salim & Dillon Ripley (1987). Handbook of the Birds of India and Pakistan (Vol 4). Oxford University Press. p. 300.
- ↑ Aitken,EH (1893). "The habits of the coppersmith". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 8 (2): 326–327.
- ↑ Bharos,AMK (1997). "Unusual feeding pattern and diet of Crimsonbreasted Barbet (Megalaima haemacephala)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 94 (2): 411.
- ↑ Muthukrishnan,TS; Sundarbabu,Rajeswari (1982). "Feeding habits of Coppersmith Megalaima haemacephala (Muller)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 79 (1): 197–198.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Sharma,AK (1993). "Territorial fight among crimsonbreasted barbet". Newsletter for Birdwatchers. 33 (5): 95.
- ↑ Vijayaraghavan,B (1957). "Accidental death of a Crimsonbreasted Barbet [Megalaima haemacephala (Muller)]". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 54 (2): 462.
- ↑ Dhindsa, M.S.; Sandhu, J.S.; Sohi, A.S. (1986). "Pesticidal mortality of crimson-breasted barbet (Megalaima haemacephala) with a note on its body size". Bulletin of the British Ornithologists' Club. 106 (3): 93–96.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Coppersmith Barbet videos, photos & sounds on the Internet Bird Collection
- Skull เก็บถาวร 2011-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน