นกกระติ๊ดตะโพกขาว

นกกระติ๊ดตะโพกขาว
จาก บังคาลอร์ ประเทศอินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Estrildidae
สกุล: Lonchura
สปีชีส์: striata
ชื่อทวินาม
Lonchura striata
(Linnaeus, 1766)
การกระจายพันธุ์ของนกนกกระติ๊ดตะโพกขาวในปัจจุบัน (สีเขียว) (ประชากรในส่วนตอนเหนือไม่ได้ระบุไว้)
ชื่อพ้อง
  • Loxia striata Linnaeus, 1766
  • Uroloncha striata (Linnaeus, 1766)

นกกระติ๊ดตะโพกขาว (อังกฤษ: White-rumped Munia; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lonchura striata) เป็นนกขนาดเล็กอยู่ในอันดับนกเกาะคอน ในวงศ์นกกระติ๊ด มีลักษณะทั่วไปคล้ายนกฟินช์ (Fringillidae) หรือนกกระจอก (Passeridae)

มีถิ่นกำเนิดในทวีป เอเชีย เขตร้อน และบางเกาะที่อยู่ติดกัน ได้รับการนำเข้าเป็นนกเลี้ยงในบางส่วนของ ประเทศญี่ปุ่น ลูกผสมที่ได้รับการเลี้ยงในกรง อาจเรียกชื่อเป็น นกฟินช์สังคม หรือ เบงกาเลสฟินช์ พบได้ทั่วโลกในฐานะสัตว์เลี้ยง และเป็นสิ่งมีชีวิตตัวแบบในการศึกษาพฤติกรรมทางชีววิทยา

อนุกรมวิธาน แก้

ในปี ค.ศ. 1760 Mathurin Jacques Brisson นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศสได้รวม นกกระติ๊ดตะโพกขาวไว้ในหนังสือ Ornithologie โดยอาศัยตัวอย่างที่เขาเชื่อว่าเก็บมาจาก Isle de Bourbon (ในเรอูนียง) ซึ่งปัจจุบันสันนิษฐานว่ามาจากประเทศศรีลังกา[2] โดยใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศส Le gros-bec de l'Isle de Bourbon และภาษาละติน Coccothraustes Borbonica [3] แม้ว่า Brisson จะบัญญัติชื่อภาษาละติน แต่ไม่สอดคล้องกับระบบทวินาม และไม่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยระบบการตั้งชื่อทางสัตววิทยา[4] ในปี ค.ศ. 1766 คาโรลัส ลินเนียส นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดนได้ปรับปรุงชื่อทวินามของนกกระติ๊ดตะโพกขาวในหนังสือระบบธรรมชาติ (Systema Naturae) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 12 ซึ่งรวมไว้กับการเพิ่มชื่อสิ่งมีชีวิต 240 ชนิดที่ Brisson จำแนกไว้ก่อนหน้า และลินเนียสให้คำอธิบายสั้น ๆ ของชื่อทวินามคือ Loxia striata และอ้างถึงงานของ Brisson[5] ชื่อเฉพาะ striata เป็นภาษาละตินสำหรับความหมาน "เป็นริ้ว (striated)" [6] ปัจจุบันสายพันธุ์นี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Lonchura ซึ่งได้รับการแนะนำโดยนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ William Henry Sykes ในปี พ.ศ. 2375 [7]

มี 6 สายพันธุ์ย่อย ดังนี้ [8]

  • L. s. striata (Linnaeus, 1766) − อนุทวีปอินเดียตอนใต้ และศรีลังกา มีสีน้ำตาลช็อคโกแลตด้านบน สีขาวด้านล่าง

นกกระติ๊ดตะโพกขาวลูกผสมที่เลี้ยงในกรงเรียกว่า นกฟินช์สังคม (Lonchura striata domestica) ที่มีบางแหล่งข้อมูลอ้างว่ามี L. s striata เป็นต้นวงศ์วิวัฒนาการ โดยทฤษฎีอื่น ๆ อาจระบุว่ามีส่วนวิวัฒนาการร่วมจากนกกระติ๊ดคอขาว นกกระติ๊ดตะโพกขาวลูกผสมนี้ (นกฟินช์สังคม) มีชื่อเรียกอื่นเช่น นกกะทิญี่ปุ่น และลูกผสมอื่น ๆ ที่มีขนนกหลากหลายรูปแบบ เหล่านี้ได้รับการคัดสายพันธุ์โดยนักเลี้ยงนกใน ญี่ปุ่น[9]

ลักษณะทางชีววิทยา แก้

 
วงสีขาวบนตะโพกของ นกกระติ๊ดตะโพกขาว และมีลายขีดเล็ก ๆ สีขาวแทรกในสีน้ำตาลบริเวณหัว

ลักษณะทั่วไป นกกระติ๊ดตะโพกขาวมีลำตัวยาวประมาณ 10 ถึง 11 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยมีจะงอยปากเป็นรูปกรวย หนา สีเทาคล้ายตะกั่ว

ตัวเต็มวัย ลำตัวส่วนบนมีขนสีน้ำตาลเข้ม มีลายขีดเล็ก ๆ สีขาว อกสีน้ำตาลอ่อนกว่าและมีลายเกล็ดสีเนื้อ ตะโพก (ช่วงใต้ปีก-เหนือหาง) เป็นวงสีขาว ท้องสีขาวมีลายขีดสีเข้มไม่เด่นชัด หางสีดำ ปลายหางแหลม ขนห่างคู่กลางยื่นยาวกว่าขนหางคู่อื่น ๆ [10]

มีความแตกต่างระหว่างชนิดย่อย นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน โดยทั่วไปตัวผู้มีศีรษะและจะงอยปากที่ใหญ่กว่า

พฤติกรรม แก้

 
รังเป็นรูปทรงกลม

การผสมพันธุ์ แก้

ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน นกกระติ๊ดตะโพกขาวจะจับคู่ทำรังวางไข่ แต่ถ้าอุดมสมบูรณ์ก็สามารถทำรังวางไข่ได้ตลอดปี นกตัวผู้บางตัวอาจจับคู่ทำรังได้มากกว่า 1 รัง ในฤดูเดียวกัน ทำรังตามไม้พุ่ม ต้นไม้ที่มีกิ่งรก กอหญ้ารกหรือไม้เลื้อยที่ค่อนข้างรก เช่น ต้นเฟื่องฟ้า รังเป็นรูปทรงกลมมีทางเข้าออกด้านข้าง สูงจากพื้นดิน 2-6 เมตร ทำจากใบไม้ ใบหญ้า ดอกหญ้า ขนนก โดยนำวัสดุสร้างรังมากองรวมกันตามง่ามไม้ อาจรองรังด้วยขนนก ดอกหญ้า หรือวัสดุอื่นๆ รังนกกระจาบ

วางไข่ครอกละ 5-6 ฟอง เปลือกไข่สีขาว ขนาด 11.2 x 17.4 มม. พ่อแม่นกช่วยกันทำรัง ใช้เวลาฟักไข่ 11-12 วัน และเลี้ยงลูกอ่อนในรัง 14-15 วัน ลูกนกออกจากรังก็จะรวมฝูงกับลูกนกจากครอบครัวอื่นหรือรวมฝูงกับพ่อแม่

ถิ่นที่อยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์ แก้

นกกระติ๊ดตะโพกขาว มีถิ่นที่อยู่ทั่วไปตั้งแต่ อนุทวีปอินเดีย ไปจนถึง ประเทศจีนทางตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเกาะไต้หวัน และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึง สุมาตรา มักพบตามป่ารุ่น ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า ทุ่งโล่ง และแหล่งกสิกรรมต่าง ๆ พบเป็นคู่ ชอบอยู่เป็นฝูงใหญ่ เวลาบินออกหากินมักพบบินเกาะกลุ่มกัน ลักษณะคล้ายฝูงผึ้ง[11] และบางครั้งก็มาพร้อมกับนกชนิดอื่น ๆ เช่น นกจาบดินอกลาย (Pellorneum ruficeps)

รังเป็นรูปทรงกลม หรือทรงโดมขนาดใหญ่ ทำจากใบหญ้า ฟาง ใบไม้ ดอกหญ้า ขนนก สร้างรังตามง่ามต้นไม้ พุ่มไม้ หรือกอหญ้า โดยทั่วไปแต่ละรังมีไข่ 3-8 ฟอง แต่ที่พบมากเฉลี่ยประมาณ 5-6 ฟอง ไข่สีขาว ระยะเวลาฟักไข่ 10-11 วัน[11] นกกระติ๊ดตะโพกขาวยังรู้จักใช้รังร้างของนกจาบธรรมดาด้วย โดยทั่วไปนกกระติ๊ดตะโพกขาวมักทำรังใกล้บ้านคนเช่นเดียวกับนกกระติ๊ดขี้หมู (Scaly-breasted Munia) แต่เรามักพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก นอกจากตอนรวมฝูงกันกินขุยไผ่หรือเมล็ดข้าวในนา เนื่องจากมันเป็นนกที่มีสีมอๆไม่สดใส และมีพฤติกรรมที่ค่อนข้างสันโดษ (ค่อนข้างขี้อาย) โดยมักอาศัยอยู่ในพงไม้ที่หนาแน่นมัน ไม่ค่อยเกาะนานๆในที่โล่งเหมือนนกกระติ๊ดขี้หมู[12] จึงอาจไม่เป็นที่สังเกตได้ง่ายแม้ว่าจะมีประชากรเป็นจำนวนมากก็ตาม[2] มักพบรังของนกกระติ๊ดตะโพกขาวใกล้น้ำ และยังสังเกตเห็นการกินสาหร่าย โดยสันนิษฐานว่าได้รับโปรตีนเสริมจากการกินสาหร่ายซึ่งมักพบในสายพันธุ์ Spirogyra ซึ่งเติบโตใน นาข้าว[13][14][15]

ในประเทศไทย นกกระติ๊ดตะโพกขาว เป็นนกประจำถิ่น[16] เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.[17] และอาศัยในระดับความสูงไม่เกิน 1,830 เมตรจากน้ำทะเล[18]

นกกระติ๊ดตะโพกขาวเป็นนกที่พบได้ทั่วไปและมีประชากรแพร่หลายในช่วงการกระจายพันธุ์ขนาดใหญ่ ดังนั้น IUCN จึงถือว่าเป็น "มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์" (LC)

ในความเป็นจริง นกกระติ๊ดตะโพกขาวอาจกลายเป็น ศัตรูพืช ของข้าว ข้าวฟ่างลูกเดือย และธัญพืชอื่น ๆ ในแต่ละท้องถิ่น ในหมู่เกาะนิโคบาร์ นกกระติ๊ดตะโพกขาวชนิดย่อย แม้ว่ามีถิ่นการกระจายพันธุ์ที่จำกัด แต่สามารถปรับตัวเข้ากับการตั้งชุมชนของมนุษย์ได้ดี[19]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. แม่แบบ:Url=https://www.iucnredlist.org/details/22719806/0
  2. 2.0 2.1 Paynter, Raymond A. Jr, บ.ก. (1968). Check-list of birds of the world. Vol. Volume 14. Cambridge, Massachusetts: Museum of Comparative Zoology. p. 373. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  3. Brisson, Mathurin Jacques (1760). Ornithologie, ou, Méthode contenant la division des oiseaux en ordres, sections, genres, especes & leurs variétés (ภาษาฝรั่งเศส และ ละติน). Vol. Volume 3. Paris: Jean-Baptiste Bauche. pp. 243–244, Plate 13 fig 4. {{cite book}}: |volume= has extra text (help) The two stars (**) at the start of the section indicates that Brisson based his description on the examination of a specimen.
  4. Allen, J.A. (1910). "Collation of Brisson's genera of birds with those of Linnaeus". Bulletin of the American Museum of Natural History. 28: 317–335.
  5. Linnaeus, Carl (1766). Systema naturae : per regna tria natura, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาละติน). Vol. Volume 1, Part 1 (12th ed.). Holmiae (Stockholm): Laurentii Salvii. p. 306. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  6. Jobling, J.A. (2018). del Hoyo, J.; Elliott, A.; Sargatal, J.; Christie, D.A.; de Juana, E. (บ.ก.). "Key to Scientific Names in Ornithology". Handbook of the Birds of the World Alive. Lynx Edicions. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  7. Sykes, William Henry (1832). "Catalogue of birds of the raptorial and insessorial orders (systematically arranged,) observed in the Dukhun". Proceedings of the Zoological Society of London. 2 (18): 77–99 [94].
  8. Gill, Frank; Donsker, David, บ.ก. (2018). "Waxbills, parrotfinches, munias, whydahs, Olive Warbler, accentors, pipits". World Bird List Version 8.1. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 2 May 2018.
  9. Svanberg, Ingvar (2008). "Towards a cultural history of the Bengalese Finch (Lonchura domestica)". Der Zoologische Garten. 77 (5–6): 334–344. doi:10.1016/j.zoolgart.2008.05.003. ISSN 0044-5169.
  10. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ นกกระติ๊ดตะโพกขาว (White- rumped Munia) สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
  11. 11.0 11.1 กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ นกกระติ๊ดตะโพกขาว (White- rumped Munia) สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
  12. แพร่ข่าวออนไลน์ นกกระติ๊ดตะโพกขาว 30 เมษายน 2561.
  13. Pillai, NG. "On the food of the Whitebacked Munia Lonchura striata". Newsletter for Birdwatchers. 7 (12): 6–7.
  14. Pillai, N. G. (1968). "The greenalgae, Spirogyra sp., in the diet of the White-backedMunia, Lonchura striata (Linn.)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 65: 490–491.
  15. Avery, ML. "Diet and breeding seasonality of sharp-tailed munias, Lonchura striata, in Malaysia" (PDF). Auk. 97 (1): 160–166.
  16. Bird of Thailand: Siam Avifauna. https://www.birdsofthailand.org/bird/white-rumped-munia สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
  17. ธงชัย เปาอินทร์ นกกระติ๊ดตะโพกขาว
  18. OKnation นกกระติ๊ดตะโพกขาว / White-rumped Munia (Lonchura striata) เก็บถาวร 2020-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
  19. BirdLife International (2012). "Lonchura striata". IUCN Red List of Threatened Species. 2012. Retrieved 26 November 2013.CS1 maint: ref=harv (link)