ธานินทร์ ใจสมุทร

นายธานินทร์ ใจสมุทร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล 5 สมัย และ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล

ธานินทร์ ใจสมุทร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองชาติไทยพัฒนา

ประวัติ แก้

ธานินทร์ ใจสมุทร เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2503 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการไปรษณีย์และโทรคมนาคม

การทำงาน แก้

ธานิทร์ เริ่มต้นทำงานไปรษณีย์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในตำแหน่งนายไปรษณีย์ กระทั่งเลื่อนเป็นหัวหน้าแผนก ก่อนจะย้ายเข้าไปปฏบัติหน้าที่ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2535 นายธานินทร์ ได้เข้าร่วมต่อสู้ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในฐานะเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจภาคใต้ หลังจากนั้นจึงได้ลาออกจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสตูล สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งหลายสมัยเรื่อยมา จากนั้นจึงได้ลาออกไปสมัครเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 นายธานินทร์ ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปี เนื่องจากการใช้เทปบันทึกภาพเหตุการณ์ตากใบ หาเสียงในการเลือกตั้งและเป็นการโจมตีฝ่ายตรงกันข้าม ต่อมาหลังได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ถูก กกต. ตัดสิทธิทางการเมืองอีกครั้ง จากกรณีนโยบาย 1 ตำบล 1 ฮัจย์

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[1] โดยการชักชวนของนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคในพื้นที่ภาคใต้

ปัจจุบัน ธานินทร์ วางมือทางการเมืองแล้ว จากกรณีที่ศาลจังหวัดตรัง ได้มีการอ่านคำพิพาษาตัดสินคดีกระทำความผิด พระราชบัญญัติการเลือกตั้งท้องถิ่น มาตรา 57 เมื่อพ.ศ. 2558 โดยมีโทษจำคุก 8 เดือน ปรับแปดหมื่นบาท แต่เจ้าตัวรับสารภาพ จึงให้รอลงอาญา 1 ปี และสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยมีกำหนดสิบปี [2]

ในปี 2563 เขามีชื่อเสียงอีกครั้งเนื่องจากเป็นผู้ประสานงานให้เกิดเที่ยวบิน SL117 ซึ่งเดินทางมาจากจาการ์ตามาลงที่หาดใหญ่พร้อมผู้โดยสารติดเชื้อโควิด19

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ชทพ.เปิดตัว "ธานินทร์ ใจสมุทร" อดีต ส.ส. สตูล พรรคประชาธิปัตย์
  2. ศาลตัดสิทธิทางการเมือง'สมชาย-ธานินทร์'สส.ปชป.10ปี
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕