ธวัช (สันสกฤต: ध्वज, อักษรโรมัน: Dhvaja, แปลตรงตัว'ธง'; ธวช, ทิเบต: རྒྱལ་མཚན, ไวลี: rgyal-msthan) เป็นคำภาษาสันสกฤตหมายถึงธง หรือนิยมแปลว่าเป็น "ธงชัย" ธวัชปรากฏในประติมานวิทยา ปรัมปราวิทยา และสถาปัตยกรรมของศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ และศาสนาไชนะ รวมถึงเป็นหนึ่งในอัษฏมงคลหรือสัญลักษณ์อันเป็นมงคลแปดประการ[1]

ธวัชสตมภ์ด้านหน้าเจนนเกศวเทวาลัย ในเพลูรุ ประเทศอินเดีย
พระเวสสุวรรณทรงธวัชในหัตถ์ขวา ภาพเขียนในอารามแห่งหนึ่งในอำเภอโมนการ์ ประเทศภูฏาน
ธวัชแบบทิเบตในฐานะองค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่อารามโชคังในลาซา

ในศาสนาฮินดู

แก้

ในประติมานวิทยาฮินดู ธงมรความสัมพันธ์และอาจบูชาร่วมกับเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ในโบสถ์พราหมณ์สามารถพบโครงสร้างธวัชสตมภ์หรือเสาธงชัย ตั้งอยู่ด้านหน้าหรือด้านบนสุดของวิหาร[2] เสาธงชัยยังใช้งานเป็นสัญลักษณ์ถึงแกนโลก[3] และเป็นเสาที่แบ่งโลกกับสวรรค์ข้อความตัวเอน[4]

ตอนหนึ่งในมหาภารตะมีกล่าวถึงธงต่าง ๆ พร้อมกับอาวุธที่บรรดานักรบใข้ในสงครามกุรุเกษตร เช่น[5] อรชุน - หนุมาน, ภีมะ - สิงห์ เป็นต้น

ในธรรมเนียมทิเบต

แก้

ตามเกิมปาหรืออารามแบบทิเบตและวิหารแบบทิเบตนิยมสร้างธวัชหรือธงชัยในรูปทรงกระบอกบนเสา บนยอดมีฉัตร ประดับด้วยจินตามณึ ที่ขอบฉัตรอาจมีมกร หรือบ้างอาจประดับยอดด้วยตรีศูลแบบที่พระราชวังโปตาลา นอกจากนี้ยังมีธวัชในรูปธงสำหรับถือที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ เช่น พระเวสสุวรรณ[6][7]

อ้างอิง

แก้
  1. Byghan, Yowann (2020-03-12). Sacred and Mythological Animals: A Worldwide Taxonomy (ภาษาเบงกอล). McFarland. p. 279. ISBN 978-1-4766-3887-4.
  2. Stutley, Margaret (2019-04-09). The Illustrated Dictionary of Hindu Iconography (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 126. ISBN 978-0-429-62425-4.
  3. Werner, Karel (2005-08-11). A Popular Dictionary of Hinduism (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 41. ISBN 978-1-135-79753-9.
  4. Nugteren, Albertina (2018-08-14). Belief, Bounty, and Beauty: Rituals around Sacred Trees in India (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 32. ISBN 978-90-474-1561-9.
  5. Walker, Benjamin (2019-04-09). Hindu World: An Encyclopedic Survey of Hinduism. In Two Volumes. Volume I A-L (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 408. ISBN 978-0-429-62421-6.
  6. A Handbook of Tibetan Buddhist Symbols by Robert Beer, Shambhala, 2003, p.13
  7. The Encyclopedia of Tibetan Symbols and Motifs by Robert Beer, Shambhala, 1999, p.180