หอคอยธรหรา [ทะ-ระ-หะ-รา] (เนปาล: धरहरा) หรือ หอคอยภีมเสน[1] เป็นหอคอยสูง 61.88 ม. (203.0 ฟุต) เป็นจำนวน 9 ชั้น[2] ตั้งอยู่ในจัตุรัสดูร์บาร์ ในกรุงกาฐมาณฑุ ได้ถูกสร้างขึ้นในปี 1832 โดยนายภีมเสน ถาปา นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น อาคารได้รับการจำแนกจากองค์การยูเนสโกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมกาฐมาณฑุ สถาปัตยกรรมเฉพาะตัวของเมืองกาฐมาณฑุ

หอคอยธรหรา
Dharahara
หอคอยธรหรา
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะถูกรื้อถอน
ประเภทหอคอย
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมกาฐมาณฑุ
เมืองกาฐมาณฑุ
ประเทศประเทศเนปาล
เริ่มสร้างพ.ศ. 2375
รื้อถอน25 เมษายน พ.ศ. 2558 (ถูกทำลาย)
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างภีมเสน ถาปา

ภายในหอคอยประกอบด้วย บันไดวนแบบสไปรอล จำนวน 213 ขั้น โดยในชั้นที่ 8 เป็นส่วนระเบียงสามารถมองทิวทัศน์ได้โดยรอบเมืองกาฐมาณฑุ และมีเสาสัมฤทธิ์ ซึ่งสูง 5.2 ม. (17 ฟุต) ประดับในส่วนยอดของหอคอย หอคอยได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมภายในตั้งแต่ปี 2005 จนถึงวันที่อาคารถล่มในปี 2015[3]

โครงสร้างส่วนใหญ่ของอาคารได้พังถล่มลงมา จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ในเนปาล แต่ก็ยังมีส่วนฐานที่ยังหลงเหลืออยู่[4][5]

ประวัติ แก้

หอคอยธรหรา เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงสุดในประเทศเนปาลและเป็นอดีตสูงอันดับ 2 เดิมหอคอยแรก ชื่อหอคอยภีมเสน (Bhimsen tower) ได้ถูกสร้างขึ้นก่อน 8 ปี ในปี 1824 ประกอบด้วย จำนวนชั้นความสูง 11 ชั้น ซึ่งสูงกว่าหอคอยธรหรา 2 ชั้น โดยหอคอยทั้งสองถูกสร้างขึ้นโดยภีมเสน ถาปา นายกรัฐมนตรีเนปาลสมัยนั้น เพื่อถวายให้แก่สมเด็จพระราชินีลลิตตริปุราสุนทรี (Lalit Tripura Sundari) ผู้ซึ่งเป็นหลานสาวของภีมเสน[6]

ในปี 1834 ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ในเนปาล หอคอยทั้ง 2 ก็สามารถรอดเหตุการณ์ครั้นนั้นมาได้ แต่หอคอยภีมเสนได้รับความเสียหายหนัก จนมาถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่อีกครั้งในวันที่ 15 มกราคม 1934 หอคอยภีมเสนก็พังถล่มลงมา เหตุการณ์นี้ทำให้หอคอยเหลือเพียง 2 ชั้นจากเดิม 11 ชั้น ในเวลาต่อมา นายชุทธสัมเศร นายกรัฐมนตรีเนปาลสมัยนั้น ก็ได้สั่งให้ปรับปรุงหอคอยธรหราที่เสียหายบางส่วน ส่วนหอคอยภีมเสนก็ได้รื้อถอนไป สมเด็จพระราชินีลลิตตริปุราสุนทรีจึงได้พระราชทานชื่อให้หอคอยธรหรา เป็นหอคอยภีมเสนแทนหอคอยเดิมที่ถล่มไป

หอคอยธรหรา ส่วนหนึ่งได้ถูกสร้างเพื่อใช้เป็นหอสังเกตการณ์สำหรับกองทัพ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ ก็จะมีการส่งสัญญาณผ่านแตรเขาวัวจากด้านบนของหอคอย และประเพณีการเป่าแตรเขาวัวก็ยังคงมีให้เห็นจนถึงวันสุดท้ายที่หอคอยถล่มลงมา

ในวันที่ 25 เมษายน 2015 ก็ได้เกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งในเนปาล ขนาด 7.8 แมกนิจูด มีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจากเมืองลัมชุง ประเทศเนปาล ออกไป 29 กิโลเมตร เป็นเหตุให้อาคารถล่มลงมาทั้งหมดเหลือเพียงส่วนฐาน และร่างผู้เสียชีวิตภายในหอคอยกว่า 180 ศพในซากปรักหักพัง[7][8][9]

สถาปัตยกรรม แก้

หอคอยธรหรา เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมของโมกุล และอังกฤษ มีลักษณะคล้ายกับหอมินาเรตในศาสนาอิสลาม แต่มีศิวลึงค์พร้อมรูปภาพพระอิศวรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของฮินดู ประดิษฐานไว้ในส่วนบนสุดของหอคอย[10]

อ้างอิง แก้

  1. http://www.thairath.co.th/content/495447
  2. http://www.dnaindia.com/world/photo-gallery-in-pictures-earthquake-in-nepal-demolishes-darahara-tower-2080626
  3. http://www.lonelyplanet.com/nepal/kathmandu/sights/landmarks-monuments/bhimsen-tower-dharahara
  4. http://zeenews.india.com/news/india/massive-earthquake-rattles-nepal-rocks-india-as-it-happened_1584785.html
  5. http://www.dnaindia.com/world/report-historic-dharahara-tower-collapses-in-kathmandu-after-quake-2080587
  6. http://www.bustle.com/articles/78886-nepal-earthquake-destroys-dharahara-tower-a-significant-tourist-attraction-in-the-heart-of-kathmandu
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-01.
  8. http://news.worldsnap.com/international/asia/historical-bhimsen-tower-dharhara-in-kathmandu-destroyed-in-earthquake-184163.html
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-27.
  10. http://www.bustle.com/articles/78886-nepal-earthquake-destroys-dharahara-tower-a-significant-tourist-attraction-in-the-heart-of-kathmandu