ธรรมราชิกสถูป (ตักศิลา)

ธรรมราชิกสถูป (อูรดู: دھرم راجک اسٹوپا) มีอีกชื่อว่า มหาสถูปแห่งตักศิลา เป็นสถูปของศาสนาพุทธใกล้ตักศิลา ประเทศปากีสถาน ที่สร้างขึ้นโดยกุษาณะในคริสต์ศตวรรษที่ 2[1] เพื่อบรรจุชิ้นส่วนพระอัฐิขนาดเล็กของพระพุทธเจ้า[2][3] สถูปนี้กับอารามขนาดใหญ่ที่ถูกพัฒนาในภายหลัง อยู่ในกลุ่มซากตักศิลา - ซึ่งถูกบรรจุลงในแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกใน ค.ศ. 1980[4]

ธรรมราชิกสถูป
دھرم راجک اسٹوپا
ธรรมราชิกสถูป ตักศิลา
ธรรมราชิกสถูปตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
ธรรมราชิกสถูป
ธรรมราชิกสถูป
แสดงที่ตั้งภายในประเทศปากีสถาน
ธรรมราชิกสถูปตั้งอยู่ในคันธาระ
ธรรมราชิกสถูป
ธรรมราชิกสถูป
ธรรมราชิกสถูป (คันธาระ)
ที่ตั้งTaxila Cantonment แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
พิกัด33°44′N 72°47′E / 33.73°N 72.78°E / 33.73; 72.78
ประเภทอาราม
ส่วนหนึ่งของซากตักศิลา
ความเป็นมา
ผู้สร้างจักรวรรดิกุษาณะ
สร้างคริสต์ศตวรรษที่ 2
ละทิ้งคริสต์ศตวรรษที่ 5
วัฒนธรรมกุษาณะ, Kidarite
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ผู้ขุดค้นเซอร์ จอห์น มาร์แชลล์
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนตักศิลา
เกณฑ์iii, iv
ขึ้นเมื่อ1980
เลขอ้างอิง139

ประวัติ แก้

มีความเชื่อว่าสถูปนี้ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 โดยกุษาณะเพื่อบรรจุพระธาตุของพระพุทธเจ้า[1] ซึ่งอาจมาจากอนุสรณ์ก่อนหน้า[2] และถูกฝังในบริเวณนี้ช่วง ค.ศ. 78[2] คัมภีร์ศาสนาพุทธระบุถึงการใช้กำยานในพิธีทางศาสนาที่ธรรมราชิก ในขณะที่บริเวณรอบ ๆ ถูกปูด้วยกระเบื้องแก้วสีสันสดใส[5] มีการอ้างว่าธรรมราชิกสถูปสร้างขึ้นบนซากสถูปที่มีอายุเก่าแก่กว่า ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราชในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช[1] แม้ว่านักโบราณคดีบางส่วนกล่าวแนะว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้[6] มีผู้พบเหรียญอินโด-กรีกที่สืบถึงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชในพื้นที่นี้ กล่าวแนะถึงการสร้างอนุสรณ์ทางศาสนาช่วงแรกสุดในบริเวณนี้[6]

การทำลาย แก้

 
แปลนธรรมราชิกสถูป

พื้นที่นี้ถูกทำลายโดยชาวฮันขาวในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และถูกทอดทิ้งไป[3] Mihirakula กษัตริย์ฮัน กดขี่ชาวพุทธในภูมิภาคนี้[6] ในรัชสมัยนี้ มีอารามศาสนาพุทธถูกทำลายมากกว่าพันแห่งทั่วแคว้นคันธาระ[6]

การขุดค้น แก้

เซอร์ จอห์น มาร์แชลล์ขุดค้นบริเวณนี้ใน ค.ศ. 1913 ตัวสถูปถูกปล้นสดมภ์ก่อนหน้าการค้นพบของมาร์แชลล์ และอยู่ในสภาพย่ำแย่มาก[7] มาร์แชลล์กล่าวว่ามีการสร้างคูขนาดใหญ่เพื่อนำของมีค่าจากสถูปออกมา[2] มีผู้พบโครงกระดูกมนุษย์ในพื้นที่เปิดทางใต้ของสถูป และส่วนเหลือของพระสงฆ์ที่ถูกฆ่าในช่วงการรุกรานของชาวฮันขาว

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Dharmarajika: The Great Stupa of Taxila". GoUNESCO. UNESCO. 1 September 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-20. สืบค้นเมื่อ 22 June 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Scarre, Geoffrey; Coningham, Robin (2013). Appropriating the Past: Philosophical Perspectives on the Practice of Archaeology. Cambridge University Press. ISBN 9780521196062. สืบค้นเมื่อ 22 June 2017.
  3. 3.0 3.1 Higham, Charles (2014). Encyclopedia of Ancient Asian Civilizations. Infobase Publishing. ISBN 9781438109961.
  4. "Taxila". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 23 June 2017.
  5. The Silk Road in World History. Oxford University Press. 2010. ISBN 9780195338102. สืบค้นเมื่อ 23 June 2017.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Behrendt, Kurt A. (2004). Handbuch der Orientalistik. BRILL. ISBN 9789004135956.
  7. Le, Huu Phuoc (2010). Buddhist Architecture. Grafikol.

บรรณานุกรม แก้

  • "Taxila" Sir John Marshall