ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Thai Credit Bank Public Company Limited) เป็นธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นธนาคาร เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เริ่มเปิดดำเนินกิจการธนาคารเพื่อรายย่อย เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2550 และได้รับอนุมัติให้ดำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ ในปี พ.ศ. 2566 มีนาย วานิช ไชยวรรณ ที่ปรึกษาคณะกรรมการธนาคาร

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)
ก่อตั้ง24 ธันวาคม พ.ศ. 2547
สำนักงานใหญ่123 อาคารไทยประกันชีวิต ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400
บุคลากรหลัก
เว็บไซต์https://www.thaicreditbank.com

ประวัติ แก้

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)[1] เริ่มก่อตั้งภายใต้ชื่อ บริษัท กรุงเทพสินทวี จำกัด เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2513 ด้วยการดำเนินธุรกิจที่ซื่อตรงและความเชื่อมั่น ที่ได้รับจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ ดังนี้ วันที่ 28 มีนาคม 2523 และ 2 กรกฎาคม 2524 ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เครดิตฟองซิเอร์กรุงเทพสินทวี จำกัด และบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ไพบูลย์เคหะ จำกัด จากนั้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2526 ได้จดทะเบียน เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไทยเคหะ จำกัด ตามลำดับ เพื่อดำเนินธุรกิจให้กู้ยืมเงิน โดยมีหลักประกันตามขอบเขตธุรกรรมของธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ไทยเคหะ จำกัด ได้ขออนุญาตดำเนิน การจัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย และกระทรวงการคลังพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการ จัดตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ตามหนังสือ ที่ กค.1004/364 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2547 และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ และใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศจากกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2549 พร้อมดำเนินการเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 ในนาม "ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)"

ต่อมาในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ธนาคารได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ โดยเริ่มดำเนินการภายใต้ชื่อ "ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)" ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ปีเดียวกัน[2][3]

สาขาของธนาคาร แก้

ธนาคารไทยเครดิต[4] มีสาขาที่เป็นสาขาของธนาคารดังต่อไปนี้

สาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อย แก้

ธนาคารไทยเครดิต[5] มีสาขาที่เป็นสาขาสำหรับสินเชื่อเพื่อรายย่อยดังต่อไปนี้

สำนักงานนาโนเครดิต แก้

ธนาคารไทยเครดิต[6] มีสาขาที่เป็นสำนักงานนาโนเครดิตดังต่อไปนี้

อ้างอิง แก้

  1. ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)
  2. "ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย ยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ภายใต้ชื่อ ธนาคารไทยเครดิต". www.bot.or.th.
  3. ประวัติความเป็นมา: ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารไทยเครดิต
  5. ธนาคารไทยเครดิต
  6. ธนาคารไทยเครดิต