ธง แจ่มศรี หรือ สหายประชา ธัญญไพบูลย์ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2464 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)[2] อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2525 แม้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์ฯ จะยุติการดำเนินการไปแล้ว แต่นายธง ยังคงมีความเคลื่อนไหวในการออกแถลงการณ์ของพรรคฯ เมื่อปี พ.ศ. 2551[3]

ธง แจ่มศรี
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2553
ก่อนหน้ามิตร สมานันท์
ถัดไปวิชัย ชูธรรม[1]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 ธันวาคม พ.ศ. 2464
เมืองพิจิตร ประเทศสยาม
เสียชีวิต9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (97 ปี)
จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
พรรคการเมืองคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

ประวัติ แก้

ธง แจ่มศรี เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2464 ที่ตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรของเสา กับยอ แจ่มศรี โดยเป็นชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม มีพี่น้อง 3 คน

ธงเข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองบัว จนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 จาก โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี และเข้าศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในขณะที่ศึกษาอยู่ ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับพรรคคอมมิวนิสต์ โดยการเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ต่อมาถูกจับในข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2479 ภายหลังศาลตัดสินให้ทำทัณฑ์บนแล้วปล่อยตัว เนื่องจากอายุยังน้อย แต่ไม่มีผู้ปกครองมารับตัว จึงต้องติดคุกเป็นเวลา 3 ปี 4 เดือน ในระหว่างนั้นได้ดำเนินการขออุทธรณ์สู้คดีด้วยตัวเอง กระทั่งได้รับการลดโทษกึ่งหนึ่ง แต่เนื่องจากถูกคุมขังมาแล้ว 1 ปี 8 เดือน ศาลจึงสั่งให้ปล่อยตัวทันที จากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จึงได้มีมติรับเข้าเป็นสมาชิกพรรค ในขณะที่มีอายุเพียง 17 ปี[4]

ในปี พ.ศ. 2510 (สิงหาคม)​ ธง​ แจ่มศรีถูกจับข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์​อีกครั้งพร้อมสหายหลายคนที่กทม.​ ธง​ แจ่มศรีได้รับการปล่อยตัวหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แล้วเข้าป่าร่วมกับพคท.(สหายหลายคนได้นับการปล่อยตัวหลังการพิจารณาคดี2ปีเนื่องจากไม่มีพยานหลักฐาน)​

ในปี พ.ศ. 2551 ธง แจ่มศรี ในฐานะเลขาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ โดยได้ออกถ้อยแถลงในโอกาสครบรอบ 66 ปีของพรรคฯ[3] ปี 2553 ธง แจ่มศรี ออกแถลงการณ์ยุติการนำแต่ไม่ยุบพรรค จนเกิดความไม่พอใจและกดดันให้เขาลาออกจากเลขาธิการพรรค และเลือกให้วิชัย ชูธรรม เป็นเลขาธิการพรรคแทน ในที่สุดธง แจ่มศรี และสหายจึงไปจัดตั้งพรรคประชาธิปไตยประชาชนไทย" (พปท.) และมีการเคลื่อนไหวแบบ “ปิดลับที่สุด”[5]

ธง แจ่มศรี ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สิริอายุรวม 97 ปี[6]

บรรณานุกรม แก้

อ้างอิง แก้

  1. มาสขาว, เมธา. ""ธง แจ่มศรี" วีรชนปฏิวัติตลอดกาล". The Isaan Record. สืบค้นเมื่อ 2021-01-24.
  2. "บนสถานการณ์ "คอมฯแดง" แตกหัก "คอมฯ เหลือง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-30. สืบค้นเมื่อ 2011-05-02.
  3. 3.0 3.1 ถ้อยแถลงเนื่องในโอกาสวันก่อตั้งพรรคครบรอบ 66 ปี
  4. "ธง แจ่มศรี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-21. สืบค้นเมื่อ 2011-04-29.
  5. “คอมมิวนิสต์ไทย” บนเส้นทางรัฐสภา?
  6. อำลา 'ธง แจ่มศรี' เลขาธิการ พคท. ที่วัดพระประโทณเจดีย์ ประชาไท สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562
ก่อนหน้า ธง แจ่มศรี ถัดไป
มิตร สมานันท์    
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
(2525 – 2553)
  วิชัย ชูธรรม