ธงชาติอินโดนีเซีย

ธงชาติอินโดนีเซีย หรือ ซังเมระฮ์ ปูติฮ์ (อินโดนีเซีย: Sang Merah Putih, สีแดง-ขาว)[1] เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ ครึ่งล่างสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม

ธงชาติอินโดนีเซีย
Sang Merah Putih
การใช้ธงชาติ ensign Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flagSmall vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง2:3
ประกาศใช้17 สิงหาคม ค.ศ. 1945
ลักษณะธงสองแถบแบ่งครึ่งตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง ครึ่งล่างสีขาว
'''Ular-ular Perang'''
การใช้ธงนาวี
สัดส่วนธง2:3
ลักษณะธงลายแถบแดงและขาว 9 แถบ

ธงนี้มึความคล้ายคลึงกับธงชาติโปแลนด์และธงชาติสิงคโปร์ และเหมือนกับธงชาติโมนาโกเกือบทุกประการ แต่ต่างกันที่สัดส่วนธงเท่านั้น

ธงฉานอินโดนีเซียซึ่งธงผืนนี้ใช้โดยกองทัพเรืออินโดนีเซีย จากภาพธงนี้ชักขึ้นที่เสาธงฉานหน้าหัวเรือรบ[2] ธงผืนนี้มีลักษณะเป็นธงลายแถบแดงและขาว9แถบ. ธงนี้มีชื่อว่า Ular-ular Perang (ธงผู้บังคับการเรือ หรือ litterally "ธงหางจระเข้"), มีลักษณะเป็นธงแถบสองแถบ ซึ่งความยาวของธงนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการประจำการของเรือลำนั้นๆ ธงฉานอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดจากอาณาจักรมัชปาหิต โดยธงใช้เป็นธงเรืออันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรมัชปาหิต, ปัจจุบันนี้ใช้เป็นธงฉาน ชักขึ้นที่หน้าหัวเรือรบ[3]

ความหมาย

แก้

สัญลักษณ์ในธงชาติอินโดนีเซียมีความหมายดังนี้

  • สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพของมนุษย์
  • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ หรือจิตวิญญาณของมนุษย์ [4]

ประวัติ

แก้
 
การเชิญธงชาติอินโดนีเซียขึ้นสู่ยอดเสาครั้งแรกในพิธีประกาศเอกราช วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945

สีแดงและสีขาวของธงชาติอินโดนีเซียมีที่มาจากสีธงของอาณาจักรมัชปาหิต ซึ่งเป็นอาณาจักรชวาโบราณในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขบวนการชาตินิยมในอินโดนีเซียได้ฟื้นฟูธงนี้ขึ้นใช้เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านการกดขี่ของเนเธอร์แลนด์ในอาณานิคมอินเดียตะวันออกของดัตช์ โดยธงสีแดง-ขาวได้โบกสะบัดครั้งแรกบนเกาชวาในปี ค.ศ. 1928 ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์ในระยะนั้นทำให้ธงนี้มีสถานะเป็นธงต้องห้าม ต่อมาเมื่ออินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ธงสีแดง-ขาว จึงได้ถูกชักขึ้นในฐานะสัญลักษณ์ของประเทศอินโดนีเซียครั้งแรก และมีฐานะเป็นธงชาติอย่างแท้จริงนับแต่นั้นเป็นต้นมา[4]

นอกจากนี้ยังมีประวัติของธงชาติอินโดนีเซียอีกทางหนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อธงชาติเนเธอร์แลนด์ ประวัติศาสตร์สายนี้กล่าวว่า ในสมัยภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์นั้น ทุกพื้นที่การปกครองของอินเดียตะวันออกของดัตช์ จะต้องชักธงสามสีของเนเธอร์แลนด์เป็นเครื่องหมายสำคัญ ธงใด ๆ ก็ตามที่หมายถึงอินโดนีเซียจะเป็นธงต้องห้ามทั้งหมด เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความต้องการขับไล่ชาวดัตช์ นักชาตินิยมและขบวนการเรียกร้องเอกราชของอินโดนีเซียกลุ่มต่าง ๆ จึงทำลายธงชาติเนเธอร์แลนด์โดยการฉีกเอาส่วนล่างสุดที่เป็นสีน้ำเงินออก คงไว้แต่เฉพาะสีแดงกับสีขาวเท่านั้น เหตุผลสำคัญคือสีน้ำเงินของธงชาติเนเธอร์แลนด์ในความคิดของพวกชาตินิยมคือเครื่องหมายของ "พวกอภิชนเลือดน้ำเงิน" ผู้กดขี่คนพื้นเมือง ในทางกลับกัน สีแดงได้กลายเป็นสัญลักษณ์เลือดในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช ส่วนสีขาวนั้นอาจมีความหมายถึงความบริสุทธิ์ของชาวอินโดนีเซีย[4]

ชื่อธง

แก้

ธงชาติอินโดนีเซียมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้

  • "ซังเมระฮ์ปูติฮ์" ("Sang Merah Putih", สีแดง-ขาว) - ชื่ออย่างเป็นทางการตามที่บัญญัติในมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ค.ศ. 1945
  • "ซังดวีวาร์นา" ("Sang Dwiwarna", สองสี) หรือ "เบินเดราเมระฮ์ปูติฮ์" ("Bendera Merah Putih", ธงแดง-ขาว) - ชื่อเรียกโดยทั่วไป
  • "ซังซากาเมอระฮ์ปูติฮ์" ("Sang Saka Merah Putih", สีแดง-ขาวอันสูงส่ง) - ชื่อที่ใช้อ้างอิงถึงธงในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อว่า "เบินเดราปูซากา" ("Bendera Pusaka", อาจแปลความว่า "ธงอันเป็นมรดกตกทอด") และผืนธงที่ทำจำลองขึ้นจากธงนี้ ธงเบินเดราปูซากาเป็นธงที่ได้ปลิวสะบัดอยู่ที่หน้าบ้านพักของนายซูการ์โนในเวลาไม่นานหลังจากที่เขาได้กล่าวคำประกาศเอกราชของประเทศ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ผืนธงตัวต้นแบบนั้นเย็บโดยนางฟัตมาวาตี ซูการ์โน (ภริยาคนที่ 3 ของซูการ์โน มารดาของนางเมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี) และจะมีการอัญเชิญขึ้นสู่ยอดเสาธงที่หน้าทำเนียบประธานาธิบดีในพิธีฉลองวันประกาศเอกราชของทุกปี ธงนี้ได้ถูกชักขึ้นครั้งสุดท้ายในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลังจากนั้นจึงได้มีการผ่านกระบวนการอนุรักษ์และจัดทำธงจำลองขึ้นใช้แทน เพราะตัวธงของเดิมมีสภาพที่บอบบาง เสี่ยงต่อการชำรุดเสียหายมาก[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "National Flag, Coat of Arms, Anthem". Embassy of Indonesia, Oslo, Norway. 2007-05-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-19. สืบค้นเมื่อ 2009-06-22.
  2. "(Indonesian) KRI Karang Unarang-985 Akhiri Pengabdian". Pikiran Rakyat. 2010-10-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-24. สืบค้นเมื่อ 2010-12-21.
  3. "(Indonesian) TNI : terima kasih ku terdalam padamu". Connie Rahakundini on Multiply.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-04. สืบค้นเมื่อ 2010-12-21.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Indonesia". Flags of the World. 2006-09-06. สืบค้นเมื่อ 2007-12-26.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้