ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง

ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นแถบสีขนาดเท่ากัน 4 แถบ ได้แก่แถบสีน้ำเงิน สีขาว สีเขียว และสีเหลือง ที่มุมธงบนด้านคันธงในแถบสีน้ำเงินมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง[1] กลางธงชาตินั้นมีแถบสีแดงพาดผ่านตามแนวตั้ง กว้างประมาณ 1 ใน 5 ส่วนของความยาวธง ธงนี้ออกแบบโดย บาร์เตเลมี โบกองดา (Barthélemy Boganda) ประธานาธิบดีคนแรกของดินแดนปกครองตนเองอูบองกี-ชารี (Oubangui-Chari - ต่อมาคือประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง) ซึ่งเชื่อว่า "ฝรั่งเศสและแอฟริกาต้องก้าวเดินไปด้วยกัน" และได้ประกาศใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2501 หลังการประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสประมาณ 4 เดือน


สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง
การใช้ ธงชาติ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Reverse side is mirror image of obverse side
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 1 ธันวาคม 1958; 65 ปีก่อน (1958-12-01)
ลักษณะ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งเป็นแถบสีขนาดเท่ากัน 4 แถบ ได้แก่แถบสีน้ำเงิน สีขาว สีเขียว และสีเหลือง ที่มุมธงบนด้านคันธงในแถบสีน้ำเงินมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง กลางธงชาตินั้นมีแถบสีแดงพาดผ่านตามแนวตั้ง
ออกแบบโดย บาร์เตเลมี โบกองดา

ด้วยความเชื่อข้างต้น โบกองดาจึงได้รวมเอาสีจากธงชาติฝรั่งเศสเข้ากับสีพันธมิตรแอฟริกาในธงนี้ โดยสีแดงนั้นหมายถึงเลือดของประชาชนที่หลั่งออกมาในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช และจะไหลรินเพื่อปกป้องชาติต่อไป[2] สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและเสรีภาพ สีขาวคือตัวแทนของความบริสุทธิ์และความสง่างาม สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและความเชื่อมั่น และสีเหลืองเป็นเครื่องหมายของความมีขันติธรรม ดังนั้น ความหมายโดยรวมของธงชาติ จึงหมายถึงความปรารถนาของชาวแอฟริกากลางในความเป็นเอกภาพของชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนชาวแอฟริกาด้วยกัน[3]

วิวัฒนาการของธงชาติ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Flags, Symbols & Currency of Central African Republic". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-24.
  2. "Central African Republic". www.fotw.info.
  3. "Flag of Central African Republic". flagpedia.net (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้