ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์

(เปลี่ยนทางจาก ธงชัยราชกระบี่ยุทธ)

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ เป็นธงประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์ไทยโบราณ ใช้เป็นธงชัยสำหรับแห่นำในการเสด็จพระราชดำเนินในกองทัพ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ธงกระบี่ธุช ธงพระครุฑพ่าห์"

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ สำรับใหญ่
ธงชัยพระครุฑพ่าห์ สำรับใหญ่

ลักษณะของธง

แก้

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ถือเป็นธง 2 อย่างแต่จัดอยู่ในสำรับเดียวกัน ธงนี้มีอยู่ 2 สำรับ คือ "ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่" และ "ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย"

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ สำรับใหญ่

แก้

ผืนธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่มีลักษณะเป็นแผงมี 3 ชายอย่างธงชัยโบราณ หุ้มด้วยผ้าสักหลาดสีแดง ปักดิ้นทองลายกนก ยอดเป็นปลายหอก ตัวคันธงนั้นทำเป็นอาวุธอย่างตรีศูลหรือสามง่าม ที่คอคันธงชัยราชกระบี่ยุทธ์มีรูปหนุมานหล่อด้วยโลหะสำริด ในท่ายืนก้าวเท้าออกไปข้างหน้า เท้าอีกข้างหนึ่งติดอยู่ที่คอคันธง ส่วนธงชัยพระครุฑพ่าห์จะมีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑหล่อด้วยโลหะสำริดเช่นกันติดอยู่ที่คอคันธง

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ สำรับน้อย

แก้

ประวัติธง

แก้

ความเป็นมา การพิธีและเครื่องหมายในพิธีที่เป็นสิริสวัสดิมงคลย่อมเป็นที่นิยมอยู่ด้วยกันทั่วโลก ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ตลอดจนกาลประจุบัน อันในทวีปตะวันออกเช่นประเทศสยาม ซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาแต่เดิม ย่อมนิยมว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระนารายณ์อวตารมาโปรดสัตวโลก มีเรื่องรามาวตารเป็นต้น พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระรามาธิบดี ตั้งแต่โบราณกษัตริย์เนื่องมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้ คงมีพระนามาภิไธยเป็นพระรามาธิบดีสืบมา การถวายพระนามเป็นพิเศษย่อมเกิดจากพระคุณสมบัติส่วนพระองค์ พระเจ้าแผ่นดินฤๅเนื่องมาจากพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาไม่ได้ห้ามการถือลัทธิที่ประชาชนนับถือเป็นสวัสดิมงคลโดยสุจริตแห่งไตรทวารธรรมเนียมโบราณที่นับถือพระมหากษัตริย์เป็นพระนารายณ์อวตารซึ่งดำรงอยู่ในความนิยมแห่งประชาชน

ส่วนพระนารายณ์นั้น พราหมณ์นิยมว่า มีพระยาครุฑเป็นพาหนะ กระบี่เป็นบริวาร จึงเป็นพระราชประเพณีมาแต่โบราณ กษัตริย์ใช้ธงกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์เป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศเชิญนำเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชสงคราม ฤๅในกระบวนพยุหยาตราและใช้เป็นเครื่องประดับในงานพระราชพิธีต่างๆสืบมาจนถึงทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จำเดิมแต่ได้พระบรมราชาภิเษกแล้ว ในวันที่ ๑๓ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ (พ.ศ.๒๔๕๓) เสด็จไปทรงสมโภชพระปฐมเจดีย์ และ พระราชมณเทียร ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัด นครปฐม มีพระภิกษุสงฆ์น้อมนำของโบราณ ทำด้วยฝีมืออันดีวิจิตรยิ่งนักมาถวายเพิ่มพูนพระบารมีในปีต้นแห่งรัชสมัย คือ แผ่นสัมฤทธิ์รูปพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์ซึ่งพระกลั่นเจ้าอธิการวัดพระประโทนขุดได้ที่พระประโทน เป็นของโบราณครั้งพระปฐมเจดีย์ เป็นนครราชธานี พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม (ชม) ข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครไชยศรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงศ์ทรงคิดเครื่องประกอบเป็นธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์น้อยขึ้น พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม) เป็นผู้จัดทำแล้วทันงานพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ในวันที่ ๒๕ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ ซึ่งเป็นวันตั้งน้ำวงด้ายเริ่มการพระราชพิธีโปรดเกล้าฯให้ตั้งราวไว้ข้างพระแท่นมณฑลสำหรับจะได้เชิญขึ้นผูกเสาพระแท่นมณฑลเข้าพระราชพิธีต่อไป พร้อมกับพระฤกษ์จุดเทียนไชย

วันที่ ๑๑ มีนาคม รัตนโกสิทรศก ๑๒๙ เวลาเช้า ๔ โมง ๕๒ นาที ๕๖ วินาที ได้พระฤกษ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเทียนนมัสการพระพุทธชินสีห์ในพระอุโบสถแล้ว ทรงจุดเทียนทองเงินที่โต๊ะทองทรงจารึกคาถาที่ด้านหลังพระกระบี่ธุช และพระครุฑพ่าห์ พระสงฆ์ ๕ รูป มีพระอริยกระวี (เซ่ง) เป็นประธาน สวดชัยมงคล พราหมณ์เป่าสังข์ กรมพระแสงในขับไม้บัณเฑาะว์ เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์ดุริยดนตรี โหรบูชาเทวดา ที่ศาลเทวดาบูชาฤกษ์ กันตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ หลวงญาณปรีชา (ร้อง) กรมราชบัณฑิต เจริญรอยพระหัตถ์จารึกด้วยเหล็กจารต่อไป เสร็จแล้วพระมหาราชครูพิธีพราหมณ์ เจิมจุณธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์ เจ้าพนักงานเชิญธงกลับสู่พระบรมมหาราชวัง

ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ ๒๖ มีนาคม เวลาเข้าพระฤกษ์จุดเทียนไชย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงนำศรเครื่องสัมฤทธิ์ศีรษะเป็นนาคราช ๓ เศียร มีสายและลูกพร้อมขึ้นทูลเกล้าฯถวาย เป็นของพระรุ่งเจ้าอธิการวัดหนองตานวล ท้องที่กิ่งตาคลี อำเภอพยุหคีรีได้จากเขาชอนเดื่อพรมแดนเมืองลพบุรี พระนครละโว้ เป็นฝีมือโบราณอันประณีตและไม่มีรอยมือจับหรือส่งใดที่จะส่อให้เห็นว่า จะได้ทำขึ้นสำหรับเทวรูปถือ จึงเห็นว่าศรนี้น่าจะได้สร้างขึ้นไว้สำหรับการพิธีตามลัทธิพราหมณ์เช่นใช้ชุบน้ำทำน้ำมนต์ฤๅแช่งน้ำสาบานอย่างทำน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นต้น ทั้งปลายลูกศรมีรูปวชิระ ประหนึ่งว่าราวกับจะทำขึ้นไว้สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ เป็นสิ่งที่สูงสมควรจะเข้าพิธีได้ต่อไป ประจวบกับเวลาที่จะได้โปรดเกล้าฯให้เชิญธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์น้อยขึ้นผูกเสาพระแท่นมณฑล จึงทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์และทรงเจิมธงและศรโบราณแล้ว เจ้าพนักงานเชิญธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์น้อยขึ้นผูกเสาพระแท่นมณฑลด้านหน้า พระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์ใหญ่ของเดิมผูกเสาพระแท่นมณฑลด้านหลัง เชิญศรขึ้นวางในพระแท่นมณฑล พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ตั้งแต่เช้าวันนั้น และใช้ในพระราชพิธีอื่นต่อไป พระราชทานนามศรโบราณว่า “พระแสงศรกำลังราม” ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพัดครุฑงานรัชมงคลแก่พระรุ่งเจ้าอธิการ และพระราชทานเงินตราแก่ศิษย์เป็นบำเหน็จตามสมควร

การที่พระรุ่งได้ศรโบราณนี้ สอบสวนได้ความว่า เดิมเจ้าอธิการรุ่ง วัดหนองตานวล ท้องที่กิ่งตากคลี อำเภอพยุหคีรี คุมคนกับช้างไปตั้งตัดไม้อยู่ในดงหนองคันไถ ครั้นเมื่อ ณ วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๗ มกราคม ร.ศ. ๑๒๙ อธิการรุ่งให้นายตี๋กับเด็กแบนซึ่งเป็นลูกศิษย์ไปเที่ยวหาใบตองกล้วยป่ามามวนบุหรี่ นายตี๋กับเด็กแบนซึ่งเป็นลูกศิษย์ไปเที่ยวหาใบตองบนเขาชอนเดื่อ ถึงไหล่เขามีศิลา ๒ ก้อนอยู่เคียงกัน นายตี๋แลเห็นศีรษะนาคโผล่จากใบไม้ที่ร่วงสะสมอยู่ในซอกศิลา สำคัญว่าพระพุทธรูปจึงหยิบยกขึ้นมา เห็นเป็นศรทั้งคัน เด็กแบนค้นที่ซอกศิลาต่อไปได้ลูกศรอีกลูก ๑ จึงนำมาถวายอธิการรุ่งอาจารย์ในเวลานั้นขุนวิจารณ์พยุหพล ปลัดว่าการกิ่งอำเภอตากคลีกำลังเดินทางตรวจราชการได้ข่าวเรื่องศรนี้จึงไปขอดูแล้วรายงานขึ้นไปยังมณฑลนครสวรรค์ พระยาศิริชัยบุรินทร์ (ศุข) ข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์จึงได้พาอธิการรุ่งกับนายตี่เด็กแบนพร้อมด้วยศรเข้ายังกรุงเทพฯ เพื่อจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย

ส่วนกระบี่ธุชพระคุรฑพ่าห์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัตติวงศ์ ทรงติดเครื่องประกอบและทำเป็นธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์น้อยขึ้นนั้น ธงพระกระบี่ธุชพื้นแดงเขียนรูปกระบี่ขาว ธงพระครุฑพ่าห์สีเหลืองเขียนรูปครุฑสีแดง ภายในธงแนบผ้าขาวลงยันต์และอักษรตามแบบธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์ของเดิม ซึ่งพระครูสุทธธรรมสมาจารวัดประดู่ ได้ทำพิธีลงยันต์และอักษรที่วัดตูม ณ กรุงเทพทวาราดีศรีอยุธยา คันธงไม้ไชยพฤกษ์ ยอดหอกคร่ำทอง กาบธงผูกหางนกยูงเป็นรูปแพนสอดลงในแผ่นธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์ของโบราณนั้น เหมือนกันทั้งคู่

ครั้นเสร็จจากพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เชิญธงพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์นั้นไปถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อจะได้จารึกคาถาบนแผ่นสัมฤทธิ์ด้านหลังรูปพระกระบี่ธุชพระครุฑพ่าห์

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ ราชองครักษ์ เชิญธงพระกระบี่ธุช และ พระครุฑพ่าห์น้อย นำเสด็จพระราชดำเนินในกระบวนราบ ทหารบกเชิญธงธงพระกระบี่ธุชไปทางขวา ทหารเรือเชิญธงพระครุฑพ่าห์น้อยไปทางซ้าย แต่ถ้าเสด็จเป็นกระบวนรถม้าให้ราชองครักษ์ทหารบกเชิญทั้ง ๒ นาย

จนถึง พ.ศ.๒๔๗๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงวังได้กราบบังคมทูลเรียนพระราชปฏิบัติระเบียบการเชิญธง โดยอ้างว่าสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทานพระกระแสว่า ธงพระกระบี่ธุชควรอยู่ซ้าย ธงพระครุฑพ่าห์น้อยควรอยู่ทางขวาโดยถือหลักประเพณีเดิม ซึ่งปรากฏอยู่ในตอนหนึ่งของโคลงพระราชพิธีทวาทศมาศ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ว่า เมื่อได้ความแน่ชัดถึงประเพณีเดิมแล้วก็ให้เปลี่ยนเสียให้ถูก กระทรวงวังจึงถือเป็นหลักปฏิบัติสืบมา และเรียกว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ และธงชัยพระครุฑพ่าห์

การใช้ธง

แก้
 
การเชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2547

แต่เดิมในสมัยโบราณ ธงชัยราชกระบี่ยุทธและธงชัยพระครุฑพ่าห์นี้จะเชิญไปใช้นำเสด็จพระราชดำเนินในกองทัพ เมื่อมีการสร้างธงชัยราชกระบี่ยุทธและธงชัยพระครุฑพ่าห์สำรับน้อยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ราชองครักษ์เชิญธงสำรับน้อยเหล่านี้นำเสด็จฯ หากเป็นการเสด็จฯ โดยกระบวนราบ ให้ทหารบกเชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ ทหารเรือเชิญธงชัยพระครุฑพ่าห์ ถ้าเสด็จกระบวนรถม้า จึงให้ราชองครักษ์ทหารบกเชิญธงทั้งสองนาย โดยธงชัยราชกระบี่ยุทธอยู่ข้างขวา ธงชัยพระครุฑพ่าห์อยู่ข้างซ้าย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จกรมพระ ได้ประทานพระกระแสว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธควรอยู่ข้างซ้าย ส่วนธงชัยพระครุฑพ่าห์ควรอยู่ข้างขวา โดยถือหลักประเพณีเดิมจากพระราชพิธีทวาทศมาศ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระบรมราชโองการฯ ให้เปลี่ยนเสียให้ถูกต้อง เป็นราชประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้

อ้างอิง

แก้