ธงศาสนาคริสต์

(เปลี่ยนทางจาก ธงคริสเตียน)

ธงศาสนาคริสต์ (อังกฤษ: Christian Flag) เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์[1] ถูกออกแบบในช่วงคริสศตวรรษที่ 20 และได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มของโบสถ์นิกายโปรเตสแตนต์ ในทวีปอเมริกา แอฟริกา และละตินอเมริกา[2] โดยสีพื้นของธงเป็นสีขาว ประกอบด้วยสัญลักษณ์กางเขนละตินสีแดง บนกรอบสีน้ำเงินสี่เหลี่ยม

  • กางเขนละตินสีแดง เป็นสัญลักษณ์ของการหลั่งเลือดบนกางเขนของพระเยซูคริสต์[3]
  • สี่เหลี่ยมสีน้ำเงินมุมบนซ้าย หมายถึงน้ำที่ใช้ในพิธีบัพติศมาซึ่งแสดงถึงความสัตย์ซื่อของพระเยซูคริสต์[4]
  • พื้นสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ของพระเยซูคริสต์
ธงศาสนาคริสต์ หรือธงคริสเตียน

โดยลักษณะทั่วไปของธงที่ประกอบด้วยสีขาว[5] จะมีความเกี่ยวข้องกับข้อในคัมภีร์ไบเบิลของพระเยซู ซึ่งพระองค์สอนให้รู้จักสันติสุขและการยอมรับพระผู้เป็นเจ้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอด[6] ขนาดของธงยังไม่มีข้อกำหนดขนาดอย่างเป็นทางการ

ต้นกำเนิด แก้

ธงคริสเตียนเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ.1897 ที่โบสถ์ไบรตัน รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ชาลส์ โอเวอร์ตัน ผู้อำนวยการโรงเรียนซันเดย์ ได้นัดหมายให้นักเรียนในโรงเรียนมารวมตัวกัน เพื่อร่วมกันพูดคุยในหัวข้อ "ธงของศาสนาคริสต์ควรมีลักษณะอย่างไร"[7] และได้ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า ธงควรมีลักษณะอย่างไร สีเป็นอย่างไร และความหมายเป็นอย่างไร

ในปี ค.ศ.1907 ชาลส์ โอเวอร์ตัน และ ราล์ฟ ดีเฟนเดอร์เฟอร์ เลขานุการของกลุ่มมิชันนารีได้ออกมาเคลื่อนไหว เรื่องการออกแบบธงที่จะเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์[8] และได้ร่วมกันส่งเสริมให้ธงคริสเตียนนี้เป็นธงประจำศาสนาคริสต์อีกด้วย

พื้นของธงเป็นสีขาว เป็นตัวแทนของความสงบสุขความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสา ในมุมด้านในเป็นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีของท้องฟ้าที่สดใส เป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์บ้านของคริสเตียนที่แท้จริง และยังเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อและความไว้วางใจในพระเจ้า กางเขนละตินสีแดงที่อยู่ในสีเหลี่ยมของสีน้ำเงินแสดงถึงความเป็นคริสตชนตามแบบฉบับของชาวคริสต์ ซึ่งสื่อถึงการไถ่บาปของพระเยซูคริสต์ให้กับมนุษย์[9]

องค์กรคริสเตียนทั่วโลกและสภาคริสตจักรแห่งชาติ ได้ประสบความสำเร็จในขณะนั้นโดยสภาคริสตจักรแห่งชาติได้ประกาศให้ประดับธงคริสเตียนพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 23 มกราคม ค.ศ.1942[10] นักเขียนเพลงที่มีชื่อเสียงได้ประพันธ์เพลงประกอบธงคริสเตียนในชื่อ "คริสเตียน แฟลก" และได้รับเกียรติในการเรียบเรียงจาก อาร์ฮันติงตัน วูดแมน[11] ซึ่งธงคริสเตียนและเพลงคริสเตียนแฟลกนี้ไม่ได้มีการจดสิทธิบัตรแต่อย่างใด[12] เนื่องจากเป็นการร่วมมือกันในการสรรค์สร้างขึ้นมาในหมู่คริสตชน และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน ค.ศ.1997 ที่ผ่านมา เป็นวันฉลองวันครบรอบ 100 ปี ธงคริสเตียน

 
 
 
ธงคริสเตียน (ขวา)
ประดับคู่กับธงชาติสหรัฐอเมริกา (ซ้าย)
ในโบสถ์ลูเทอแรน สหรัฐอเมริกา
การประดับธงคริสเตียน
บริเวณหน้าสำนักงาน
Focus on the Family's
รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา
ธงคริสเตียน (ขวา)
ประดับคู่กับธงชาติสหรัฐอเมริกา (ซ้าย)
ในโบสถ์รัฐแคลิฟอร์เนีย
โดยบนยอดเสาธงทั้งสอง
ประดับด้วยนกอินทรีและกางเขน
 
 
 
ธงนครวาติกัน
นิกายโรมันคาทอลิก
ธงคริสเตียน
นิกายโปรเตสแตนต์
ธงคริสเตียนออร์ทอดอกซ์
นิกายออร์ทอดอกซ์

การประกาศใช้ แก้

ธงคริสเตียนได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรกโดยนิกายโปรเตสแตนต์ ได้ประกาศใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1980 หลายสถาบันได้รณรงค์ให้จัดแสดงไว้ภายในโบสถ์ ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยธงคริสเตียนจะประดับพร้อมกับธงชาติสหรัฐอเมริกา ในคริสตจักรลูเทอแรน หลายคนที่มีภูมิลำเนาเดิมที่อาศัยอยู่ในเยอรมัน ต้องการจะแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากนั้นธงคริสเตียนได้แพร่หลายไปยังนอกทวีปอเมริกา กับมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนต์ เราสามารถเห็นธงคริสเตียนได้จากโบสถ์โปรเตสแตนต์ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในละตินอเมริกาและแอฟริกา และนิกายโรมันคาทอลิก ก็จะประดับธงคริสเตียนในพระราชพิธีศักดิ์สิทธ์ในเร็ว ๆ นี้

คำปฏิญาณ แก้

"เราสัญญาว่าจะจงรักภักดีต่อคริสต์ศาสนาและพระผู้ช่วยให้รอด ซึ่งราชอาณาจักรทั้งหลายต้องให้ความเคารพ พวกเราพี่น้องคริสเตียนและมวลมนุษยชาติจะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเราจะร่วมกันประกาศข่าวประเสริฐ"

ธัชวิทยา แก้

ธงที่มีกางเขนประกอบทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ เช่น ธงประจำชาติของฟินแลนด์ธงของหมู่เกาะแฟโร ธงประจำชาติของประเทศไอซ์แลนด์ธงประจำชาติของประเทศนอร์เวย์และประเทศสวีเดน ธงประกอบด้วยกางเขนคริสเตียนที่เป็นตัวแทนของศาสนาคริสต์[13][14]

ธงยูเนียนแจ็ก หรือ ธงสหราชอาณาจักร เป็นธงที่หมายถึงสามนักบุญองค์อุปถัมภ์ องค์อุปถัมภ์อังกฤษแสดงเป็นกากบาทสีแดงของนักบุญจอร์จ องค์อุปถัมภ์ไอร์แลนด์แสดงเป็นกากบาทไขว้สีแดงของนักบุญแพทริก และองค์อุปถัมภ์สก็อตแลนค์แสดงเป็นกากบาทไขว้ของนักบุญอันดรูว์[15]

นอกจากนี้ธงประจำชาติของกรีซ และธงประจำชาติของสวิตเซอร์แลนด์ มีกางเขนพระคริสต์เพื่อเป็นตัวแทนของความศรัทธา [16]ธงของสาธารณรัฐโดมินิกัน แสดงให้เห็นถึงสามสี โดยที่กางเขนประกอบด้วยทรินิตีแสตน และ ลักษณะภาพบนธงประจำชาติของสโลวาเกียจะแสดงกางเขนลอแรนในตราอาร์ม [17]ธงของสาธารณรัฐโดมินิกันแสดงให้เห็น พระคัมภีร์และกางเขน ธงประจำชาติของจอร์เจีย ธงประจำชาติมอลโดวา และ ธงประจำชาติของประเทศเซอร์เบียทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการเป็นตัวแทนของกางเขนพระคริสต์ ธงประจำชาติของโปรตุเกสมีสัญลักษณ์คริสเตียนแบกห้าบาดแผลของพระคริสต์[18]

ธงที่ใช้เครื่องหมายกางเขน แก้

 
 
 
 
 
 
 
ออสเตรเลีย บุรุนดี เดนมาร์ก ดอมินีกา สาธารณรัฐโดมินิกัน ฟินแลนด์ จอร์เจีย
 
 
 
 
 
 
 
กรีซ ไอซ์แลนด์ จาเมกา มอลตา นอร์เวย์ เซอร์เบีย สโลวาเกีย
 
 
 
 
 
 
 
สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตองงา สหราชอาณาจักร ซาร์ดิเนีย Bandera de Basauri มีดี-ปีเรเน

ตัวอย่างของตราอาร์มที่ใช้กางเขน แก้

 
 
 
 
 
 
 
กางเขนลาติน
ตำรวจอิตาลี
กางเขนเขาแพะ
Antoine de Beck
กางเขนเขา
แพะน้อย
John Fordham
กางเขนไขว้
Crion
กางเขนปลาย
ดอกจิก
Ain
กางเขนพระสันตะปาปา
Le Monastier-Pin-Mories
กางเขนงู
Montfort en Bretagne
 
 
 
 
 
 
 
กางเขนลอย
Courcelles
กางเขน fitchy
Jean de Commercy
กางเขนพระอาทิตย์
จักรวรรดิลาติน
แห่งคอนสแตนติโนเปิล
กางเขนปลายบาน
Ostoja - Sciborye
กางเขนเยรูซาเลม
Beaumont-du-Ventoux
กางเขนลิลลี
Edwin of Tegeingl
กางเขนปลายที
Irañeta

ธงศาสนาคริสต์ในประเทศไทย แก้

 
ธงศาสนาคริสต์ที่ใช้ในประเทศไทยทุกนิกาย
ตามกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย มีการประกาศใช้ธง"กางเขน"[19] โดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ธงมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาว กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน และบริเวณตรงกลางมีกางเขนสีแดง

  • กางเขนละตินสีแดง หมายถึงพระเยซูคริสต์
  • สีขาว เป็นสีประจำของศาสนาคริสต์

ธงศาสนาคริสต์ที่ใช้ในประเทศไทยนี้เป็นธงอย่างง่าย ซึ่งปัจจุบันคริสตจักรและโบสถ์ ก็ได้ประดับธงศาสนาคริสต์นี้ไว้เป็นสัญลักษณ์

อ้างอิง แก้

  1. "Resolution". Federal Council Bulletin (Religious Publicity Service of the Federal Council of the Churches of Christ in America). 25-27. 1942.
  2. Fifty-Eighth Annual Session (in English). Order of the Eastern Star. 1932. "Today the Christian Flag is flying over Europe, Asia and Africa, as well as America."
  3. "The Christian Flag". Bob Jones University. Archived from the original on Sep 5, 2005. Retrieved 2007-10-18. "The white on the flag represents purity and peace. The blue stands for faithfulness, truth, and sincerity. Red, of course, is the color of sacrifice, in this case calling to mind the blood shed by Christ on Calvary, represented by the cross."
  4. The American Lutheran. 22–24. American Lutheran Publicity Bureau. 1939.
  5. A Theological Miscellany. Thomas Nelson. 24 March 2005. "The flag is white (for purity and peace), with a blue field (faithfulness, truth, and sincerity) and a red cross (the sacrifice of Christ)."
  6. "The Christian Flag". Prayer Foundation. Retrieved 2007-10-18. "The flag's most conspicuous symbol is the Christian cross, the most universal symbol for Christianity. The red color represents the blood of Christ and brings to mind his crucifixion. Christians believe that Jesus Christ's death and resurrection is the means God uses to save believers from their sins. The cross and blood have been used since earliest Christianity to symbolize salvation through Jesus; in the words of the Apostle Paul, "And having made peace through the blood of his cross, by him to reconcile all things unto himself;" — Colossians 1:20. The white field draws on symbolism throughout the Bible equating white clothes with purity and forgiveness. People who have been "washed white as snow" in the Bible have been cleansed from their sins (Isaiah 1:18; Psalm 51:2). In conventional vexillology (the study of flags, their history and symbolism), a white flag is linked to surrender, a reference to the Biblical description Jesus' non-violence and surrender to God's will. The symbolism behind the blue canton has been interpreted to represent Heaven, truth, or the Christian ritual of Baptism in water."
  7. "Christian Flag". The Christian Advocate (in English) (New York: T. Carlton & J. Porter) 84. 7 January 1909. "Within recent years (1897) a flag has been designed which shall stand as an emblem around which all Christian nations and various denominations may rally in allegiance and devotion. This banner is called the Christian flag. It was originated by Charles C. Overton of Brooklyn, N.Y., whose first thought of it came to him while addressing a Sunday school at a rally day service. The flag is most symbolic. The ground is white, representing peace, purity and innocence. In the upper corner is a blue square, the color of the unclouded sky, emblematic of heave, the home of the Christian; also a symbol of faith and trust. in the center of the blue is the cross, the ensign and chosen symbol of Christianity: the cross is red, typical of Christ's blood. The use of the national flag in Christian churches has become almost universal throughout the world."
  8. Coffman, Elesha. "Do you know the history of the Christian flag?". Christianity Today. Retrieved 24 April 2014.
  9. "Christian Flag". The Christian Advocate (in English) (New York: T. Carlton & J. Porter) 84. 7 January 1909. "Within recent years (1897) a flag has been designed which shall stand as an emblem around which all Christian nations and various denominations may rally in allegiance and devotion. This banner is called the Christian flag. It was originated by Charles C. Overton of Brooklyn, N.Y., whose first thought of it came to him while addressing a Sunday school at a rally day service. The flag is most symbolic. The ground is white, representing peace, purity and innocence. In the upper corner is a blue square, the color of the unclouded sky, emblematic of heave, the home of the Christian; also a symbol of faith and trust. in the center of the blue is the cross, the ensign and chosen symbol of Christianity: the cross is red, typical of Christ's blood. The use of the national flag in Christian churches has become almost universal throughout the world."
  10. "Resolution". Federal Council Bulletin (Religious Publicity Service of the Federal Council of the Churches of Christ in America). 25-27. 1942.
  11. "Resolution". Federal Council Bulletin (Religious Publicity Service of the Federal Council of the Churches of Christ in America). 25-27. 1942.
  12. James R. Pollock, Ph.D., D.D. (23 March 1996). Congratulations to The Christian Flag, Fourth Edition (in English).
  13. Temperman, Jeroen (2010). State-Religion Relationships and Human Rights Law: Towards a Right to Religiously Neutral Governance (in English). Brill Academic. p. 88. ISBN 9789004181489. "Many predominantly Christian states show a cross, symbolising Christainity, on their national flag. Scandinavian crosses or Nordic crosses on the flags of the Nordic countries–Denmark, Finland, Iceland, Norway and Sweden–also represent Christianity."
  14. Evans, Andrew (2008). Iceland (in English). Bradt Travel Guides. p. 27. ISBN 9781841622156. "Legend states that a red cloth with the white cross simply fell from the sky in the middle of the 13th-century Battle of Valdemar, after which the Danes were victorious. As a badge of divine right, Denmark flew its cross in the other Scandinavian countries it ruled and as each nation gained independence, they incorporated the Christian symbol."
  15. Temperman, Jeroen (2010). State-Religion Relationships and Human Rights Law: Towards a Right to Religiously Neutral Governance (in English). Brill Academic Publishers. p. 88. ISBN 9789004181489. "Many predominantly Christian states show a cross, symbolising Christianity, on their national flag. The Union flag of the United Kingdom of Great Britain and Northern-Ireland makes reference to three Christian patron saints: the patron saint of England, represented by the red cross of Saint George, the patron saint of Ireland, represented by the red saltire of Saint Patrick, and the patron saint of Scotland, represented by the saltire of Saint Andrew."
  16. Foley, Carol A. (1 January 1996). The Australian Flag (in English). Federation Press. p. 10. ISBN 9781862871885. "The Christian cross, for instance, is one of the oldest and most widely used symbols in the world, and many European countries, such as the United Kingdom, Norway, Sweden, Finland, Denmark, Iceland, Greece and Switzerland, adopted and currently retain the Christian cross on their national flags."
  17. Temperman, Jeroen (2010). State-Religion Relationships and Human Rights Law: Towards a Right to Religiously Neutral Governance (in English). Brill Academic. p. 88. ISBN 9789004181489. "The cross on the flag of Dominica represents Christianity while the three colours of which the cross consists stand for the Trinity. The coat of arms depicted on the flag of Slovakia shows a double cross. The flag of the Dominican Republic represents Christianity while the three colours of which the cross consists stand for the Tinity. The coat of arms depicted on the flag of Slovakia shows a double cross. The flag of the Dominican Republic shows the words "God, Fatherland, Liberty", an opened bible and a cross (depicted in the coat of arms which is represented in the centre). The 'five-cross-flag' of George shows four small crosses and a large St. George's Cross, referring to the patron saint of Georgia (the national flag of England shows the St. George's Cross as well). The white cross on the flag of Greece symbolizes Greek Orthodoxy. The flag of Moldova shows its coat of arms in the centre: an eagle with a Christian Orthodox cross in its beak. The coat of arms of Serbia, as depicted on the national flag, also shows an Orthodox cross."
  18. McCandless, Byron; Grosvenor, Gilbert Hovey (1917). Flags of the World (in English). National Geographic Society. p. 403. "The Portugal man-of-war (1182) and merchant flags (1183 and 1184) bore the same distinguishing features— five shields with the five circles representing the five wounds of Christ, the castles surrounding the inner shields and the armillary sphere, reminiscent of that nation's maritime prowess in the sixteenth century, 200 years ago, as they do now."
  19. กระทรวงวัฒนธรรม, กรมการศาสนา, ศาสนาคริสต์