ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน รามางกูร)

ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน รามางกูร) นายกองข้าพระธาตุพนมลำดับ ๒ ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาชระบุว่าเป็นเจ้าโอกาสเมืองธาตุพนม ดำรงตำแหน่งหลังสงครามเจ้าอนุวงศ์และอาจดำรงตำแหน่งก่อนพระอัคร์บุตร (สุวัณณบุญมี รามางกูร) ในอารักขาฝรั่งเศส[1]

ท้าวสุริยะราชวัตร์
(อ้วน รามางกูร)
นายกองข้าอุปัฏฐากพระมหาธาตุพนม, หัวหน้าผู้ควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระธาตุพนม, กรมการบ้านชะโนด
ก่อนหน้าหลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร)
ถัดไปท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ รามางกูร)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดเวียงชะโนด เมืองมุกดาหาร
เสียชีวิตเวียงชะโนด เมืองมุกดาหาร
ศาสนาศาสนาพุทธ
คู่สมรสอาดยานางเกสนา

ประวัติ แก้

ท้าวสุริยะราชวัตร์นามเดิมว่าท้าวคำอ้วนหรือท้าวอ้วน[2] บรรดาศักดิ์เดิมที่ท้าวสุริยะกรมการบ้านชะโนดเมืองมุกดาหาร เป็นเจ้านายจากตระกูลผู้ปกครองและตั้งเมืองหลวงโพนสิมในแขวงสุวรรณเขต[3] ที่เข้ามามีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับกลุ่มตระกูลขุนโอกาสเดิมในราชวงเวียงจันทน์ซึ่งปกครองธาตุพนม เป็นเหตุให้มีโอกาสขึ้นปกครองธาตุพนม[4] ต่อจากหลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร) บิดา ก่อนขึ้นปกครองกองข้าพระธาตุพนมถูกส่งตัวไปเรียนวิชาการปกครองที่ราชสำนักกรุงเทพฯ พร้อมกับท้าวคูณน้องชาย คงเนื่องจากธรรมเนียมบุตรหลานเจ้านายหัวเมืองลาวหลังตกเป็นเมืองขึ้นสยาม เมื่อสำเร็จการศึกษากลับมาบิดาสละตำแหน่งนายกองข้าพระธาตุพนมให้ท้าวสุริยะ (อ้วน) ขึ้นปกครองแทน จึงโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็นที่ท้าวสุริยะราชวัตร์นายกองข้าพระธาตุพนม ตำแหน่งดังกล่าวในท้องถิ่นเรียกว่าเจ้าโอกาสดังปรากฏหลักฐานในพื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาชระบุนามท้าวสุริยะราชวัตร์ว่าอาดยาสุลิยะลาสเจ้าโอกาด[5]

ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับตระกูลเจ้าโอกาสเมืองธาตุพนมและเจ้าเมืองหลวงโพนสิม แก้

ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน) เป็นลูกพี่ลูกน้องกับอาดยานางบุษดีชายาเอกของเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) หรือแสนกางน้อยสีมุงคุลเจ้าเมืองหรือขุนโอกาสธาตุพนมลำดับ ๒ อาดยานางบุษดีเป็นธิดาหมื่นนำรวงหรือหมื่นพระน้ำฮุ่ง (คำยาด) พี่ชายร่วมบิดามารดากับหลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร) นายกองข้าพระธาตุพนมลำดับแรกซึ่งเป็นบิดาท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน) นอกจากนี้ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน) ยังเป็นหลานปู่เจ้าสุวรรณสีหะหรือท้าวคำสิงห์กวานเวียงชะโนดผู้ตั้งบ้านชะโนดท่านแรก[6] และเป็นเหลนทวดหม่อมบ่าวหลวงกับนางสิมมาผู้ตั้งบ้านหลวง บ้านโพน บ้านสิม บ้านท่าแฮ่ และบ้านดงดอกไม้ ต่อมาคือเมืองหลวงโพนสิม ปัจจุบันคือบ้านโพนสิมและเมืองคันทะบูลีหรือนครไกสอนพมวิหานในแขวงสุวรรณเขต[7]

พี่น้อง แก้

ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน) มีพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดา ๑๑ ท่านคือ

๑. นางหล้า

๒. นางตุ๊

๓. ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน รามางกูร) นายกองข้าพระธาตุพนมลำดับ ๒

๔. ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ รามางกูร) นายกองข้าพระธาตุพนมลำดับ ๓

๕.ท้าวสีหานาม (กวานสีหานาม) ผู้ตั้งบ้านหว้าน ต่อมาแยกเป็นบ้านหว้านใหญ่และหว้านน้อย ปัจจุบันคืออำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร มีบุตรธิดาคือท้าวหมาคำผู้ร่วมกับท้าวสีหานามตั้งบ้านหว้าน และนางแก้วฝาหม่อมของท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ)

๗. ท้าวราชวัตริ์ (กวานราชวัตริ์) ผู้ตั้งบ้านนาดี

๘. ท้าวทา ร่วมกับท้าวราชวัตริ์ตั้งบ้านนาดี

๙. ท้าวโพธิ์สะราช (กวานโพชะราช) ผู้ตั้งบ้านหนองผือ

๑๐. แสนจันทร์ ร่วมกับท้าวโพธิ์สะราชตั้งบ้านหนองผือ

๑๑. นางซาว

อนิจกรรม แก้

ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน) อนิจกรรมราว พ.ศ. ๒๓๙๙ พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาชระบุเพียงว่า "...สังกลาสได้ ๒ ฮ้อยสิบ ๘ ตัว อาดยาสุลิยะลาสเจ้าโอกาดตนอ้ายจุตติก่อร..."[8]


ก่อนหน้า ท้าวสุริยะราชวัตร์ (อ้วน รามางกูร) ถัดไป
หลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร)   นายกองข้าพระธาตุพนม,
เจ้าโอกาส

  ท้าวสุริยะราชวัตร์ (คูณ รามางกูร)

อ้างอิง แก้

  1. สิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), พระครู, คัดลอก. คัมภีร์เรื่อง พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาช (พื้นพระยาธัมมิกราช). วัดศรีสุมังค์ บ้านนาถ่อนท่า ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. เอกสารเขียนบนกระดาษ ๑ ฉบับ. อักษรธรรมลาว, อักษรลาวเดิม. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นเขียน. ม.ป.ป. (ต้นฉบับ พ.ศ. ๒๔๔๙). ไม่ปรากฏเลขรหัส. ๒๓ ใบ ๖ หน้า. ไม่ปรากฏหมวด. หน้า ๕.
  2. ฎิสสโร (หนูกร) ใจสุข, พระ และพันธุโร ตา (ใจสุข), พระ, ประวัติบ้าน ของ พระฎิสสโร (หนูกร) ใจสุข วัดมะโนภิรมย์ บ้านหมู่ที่ ๗: พิมพ์แจกทายก ทายิกา โดยคำร้องขอเหล่าสานุศิษย์ เพื่อไว้เปนที่สักการปูชาในการที่ท่านได้ปฏิสังขรณ์อารามต่าง ๆ, (กรุงเทพฯ: วัดมะโนภิรมย์ ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนมฯ, ม.ป.ป.), หน้า ๖.
  3. ธวัชชัย พรหมณะ, "ความสำคัญของการอพยพเคลื่อนย้ายกลุ่มชาติพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงต่อความเป็นเมืองสุวรรณเขต ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๕๔", สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์เอเชีย), (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๕), หน้า ๑๙๐ (ภาคผนวก ข ประวัติบ้าน).
  4. มหาดวง รามางกูร, พระ, พื้นเมืองพนม (ประวัติวงส์เจ้าเมืองธาตุพนม), (กรุงเทพฯ: วัดบวรนิเวศวิหาร คณะแดงรังสี, ม.ป.ป.), ไม่ปรากฏหน้า (อัดสำเนา).
  5. สิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), พระครู, คัดลอก. คัมภีร์เรื่อง พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาช (พื้นพระยาธัมมิกราช). วัดศรีสุมังค์ บ้านนาถ่อนท่า ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. หน้า ๕.
  6. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร กระทรวงวัฒนธรรม, (๖ มิถุนายน ๒๕๕๙). "โบราณสถาน โบราณวัตถุ: วัดมโนภิรมย์", สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร กระทรวงวัฒนธรรม (Minister Of Culture) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.m-culture.go.th/mukdahan/ewt_news.php เก็บถาวร 2021-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน? [๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓]. และ ศูนย์ปฏิบัติการส่วนกลาง กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (Ministry of Tourism and Sports), (๒๕๖๓). "วัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด ต.ชะโนด อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร", Thailand Tourism Tirectory [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/ เก็บถาวร 2022-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓].
  7. สัญญา ชีวะประเสริฐ, "ความทรงจำของเมืองสองฝั่งแม่น้ำโขง: มุกดาหาร และสะหวันนะเขด", วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (๒๕๕๕): ๔๙-๖๐.
  8. สิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), พระครู, คัดลอก. คัมภีร์เรื่อง พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาช (พื้นพระยาธัมมิกราช). วัดศรีสุมังค์ บ้านนาถ่อนท่า ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. หน้า ๕.