ท่าเทียบเรือวาลงกู

ท่าเทียบเรือวาลงกู (โปรตุเกส: Cais do Valongo) เป็นท่าเรือเก่าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ท่าเรือรีโอเดจาเนโร ระหว่างถนนกูเวลยู อี กัสตรู กับถนนซากาดูรา กาบรัล ในปัจจุบัน[1]

แหล่งโบราณคดีท่าเทียบเรือวาลงกู *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
แหล่งโบราณคดีท่าเทียบเรือวาลงกูและท่าเทียบเรือจักรพรรดินี
พิกัด22°53′48.1″S 43°11′13.9″W / 22.896694°S 43.187194°W / -22.896694; -43.187194
ประเทศ บราซิล
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(vi)
อ้างอิง1548
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2017 (คณะกรรมการสมัยที่ 41)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ท่าเทียบเรือนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1811 และใช้เป็นสถานที่จอดเรือและค้าทาสชาวแอฟริกาจนกระทั่ง ค.ศ. 1831 เมื่อมีการปิดล้อมแอฟริกาโดยห้ามการส่งทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมายังบราซิล (แต่การลักลอบค้าทาสยังคงดำเนินต่อไปจนถึง ค.ศ. 1888)[2] ตลอดช่วงยี่สิบปีของการเปิดทำการ มีทาสจำนวนระหว่าง 500,000–1,000,000 คนขึ้นฝั่งที่วาลงกู บราซิลได้รับทาสประมาณ 4,900,000 คนจากการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก[3]

ใน ค.ศ. 1843 มีการสร้างเขื่อนท่าเทียบเรือใหม่ทับบนท่าเทียบเรือวาลงกูเพื่อรับเสด็จเจ้าหญิงเตเรซา กริสตีนาแห่งบูร์บง-ซิซิลีทั้งสองซึ่งจะทรงเสกสมรสกับจักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล ท่าเทียบเรือนี้มีชื่อเรียกว่า "ท่าเทียบเรือจักรพรรดินี" (Cais da Imperatriz)[4] แต่ในที่สุดท่าเทียบเรือก็ถูกถมระหว่างการปรับปรุงเมืองใน ค.ศ. 1911[4][5]

ระหว่างการขุดเจาะพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฟื้นฟูบริเวณท่าเรือรีโอเดจาเนโรใน ค.ศ. 2011 ได้มีการค้นพบท่าเทียบเรือจักรพรรดินีและท่าเทียบเรือวาลงกูพร้อมกับเครื่องรางและวัตถุบูชาจำนวนมากจากคองโก แองโกลา และโมซัมบิก[5][6] สถาบันมรดกทางประวัติศาสตร์และศิลปะแห่งชาติบราซิลและนครรีโอเดจาเนโรบรรจุชื่อแหล่งโบราณคดีท่าเรือวาลงกูไว้ในรายชื่อเบื้องต้นเพื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[4][7][8] จากนั้นยูเนสโกก็ขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีดังกล่าวเป็นแหล่งมรดกโลกอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2017[9]

ในช่วง ค.ศ. 1850 ถึง ค.ศ. 1920 บริเวณรอบ ๆ ท่าเทียบเรือเก่ากลายเป็นพื้นที่ที่ทาสผิวดำหรืออิสรชนจากชาติต่าง ๆ เข้าครอบครอง เอย์โตร์ ดุส ปราเซริส นักร้องและจิตรกรชาวบราซิล ขนานนามพื้นที่นี้ว่า "แอฟริกาน้อย" (Pequena África)[5]

อ้างอิง แก้

  1. "Cais do Valongo: a história da escravidão no porto do Rio de Janeiro". Globo.com Educação. Globo.com. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  2. Carneiro, Julia. "Brazil's hidden slavery past uncovered at Valongo Wharf - BBC News". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2017-04-10.
  3. Romero, Simon (2014-03-08). "Rio's Race to Future Intersects Slave Past". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-04-10.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Cais do Valongo é candidato a Patrimônio da Humanidade". Ministério da Cultura do Brasil. 30 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-09. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-11-14.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. Daflon, Rogério (1 March 2011). "Escavações de obra de drenagem da Zona Portuária encontram restos dos cais da Imperatriz e do Valongo". O Globo Rio. O Globo. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  7. "Valongo Wharf Archaeological Site". World Heritage Convention. Unesco. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  8. "Cais de Zona Portuária pode virar patrimônio da humanidade - TV UOL". Tvuol.uol.com.br. สืบค้นเมื่อ 2017-04-10.
  9. "Three new sites and two extensions added to UNESCO's World Heritage List". World Heritage Convention. Unesco. สืบค้นเมื่อ 10 July 2017.