ทูฟ่า ชู่จีเหนิง

ทูฟ่า ชู่จีเหนิง (จีน: 禿髮樹機能; พินอิน: Tūfà shùjīnéng; เวด-ไจลส์: t'u-fa shu-chi-neng; เสียชีวิต มกราคมหรือกุมภาพันธ์ ค.ศ. 280[1]) เป็นผู้นำชนเผ่าเซียนเปย์ที่มีชีวิตในยุคสามก๊กของจีน ทูฟ่า ชู่จีเหนิงในฐานะผู้นำของเผ่าเซียนเปย์ตระกูลทูฟ่าแห่งโฮไส (河西 เหอซี) ได้นำการก่อกบฏชนเผ่าในมณฑลเลียงจิ๋ว (涼州 เหลียงโจว) และมณฑลฉินโจว (秦州) ต่อต้านการปกครองของราชวงศ์จิ้นระหว่างปี ค.ศ. 270 ถึง ค.ศ. 280 กบฏทูฟ่า ชู่จีเหนิงกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับราชวงศ์จิ้นที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ และในปี ค.ศ. 279 ทูฟ่า ชู่จีเหนิงและพันธมิตรก็สามารถยึดมณฑลเลียงจิ๋วได้ แต่ไม่นานหลังจากนั้น ทูฟ่า ชู่จีเหนิงก็พ่ายแพ้และถูกสังหารโดยขุนพลหม่า หลง (馬隆) ผู้ใช้กลยุทธ์นอกแบบแผนหลายอย่างในการปราบปรามกบฏในปีถัดมา

ทูฟ่า ชู่จีเหนิง
禿髮樹機能
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิตมกราคมหรือกุมภาพันธ์ ค.ศ. 280
อาชีพผู้นำชนเผ่าเซียนเปย์

ประวัติ

แก้

ภูมิหลัง

แก้

ปู่ของทูฟ่า ชู่จีเหนิงคือทูฟ่า โช่วเถียน (禿髮壽闐) ทวดของทูฟ่า ชู่จีเหนิงคือผี่กู (匹孤) ผี่กูเป็นบุตรชายของทั่วป๋า เจี๋ยเฝิน (拓跋詰汾) ผู้นำชนเผ่าเซียนเปย์เผ่าพงศ์ทั่วป๋า (拓跋) น้องชายของผี่กูคือทั่วป๋า ลี่เหวย์ (拓拔力微) ผี่กูนำตระกูลสาขาเซียนเปย์ของตนไปยังโหไส (河西 เหอซี) ส่วนลี่เหวย์สืบทอดตำแหน่งผู้นำชนเผ่าถัดจากบิดาเมื่อ ค.ศ. 218 เว่ยชู (魏書) ระบุว่าอาณาเขตของผี่กูทอดยาวจากไม่เถียน (麥田; อยู่ในอำเภอจิ้ง-ยฺเหวี่ยน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และเชียนถุน (牽屯; อยู่ในนครกู้-ยฺเหวียน เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย) ทางตะวันออกไปถึงชือหลัว (濕羅; ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทะเลสาบชิงไห่) ทางตะวันตก และจากเจียวเหอ (澆河; อยู่ในอำเภอกุ้ยเต๋อ มณฑลชิงไห่ในปัจจุบัน) ทางใต้ไปถึงทะเลทรายโกบีทางเหนือ

มีสองทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของชื่อตระกูลทูฟ่า ทฤษฎีแรกคือคำว่า "ทูฟ่า" (禿髮) และ "ทั่วป๋า" (拓拔) เป็นคำพ้องรูปพ้องเสียงกัน และใช้เป็นคำดูถูกตระกูลสาขาของผี่กูเพราะคำว่า "ทูฟ่า" มีความหมายว่า "ผมบนหัวล้าน"[2] ทัศนะดั้งเดิมกว่านั้นคือโช่วเถียนตั้งชื่อตระกูล "ทูฟ่า" ตามฉายาของตน มารดาของโช่วเถียนคือหูเย่ชื่อ (胡掖氏) ให้กำเนิดโช่วเถียนบนผ้าห่ม และคำในภาษาเซียนเปย์ของผ้าห่มคือ "ทูฟ่า" และกลายเป็นฉายาของโช่วเถียน[3] ไม่ทราบแน่ชัดว่าโช่วเถียนเสียชีวิตเมื่อใด แต่ทูฟ่า ชู่จีเหนิงผู้เป็นหลานปู่ได้สืบทอดตำแหน่ง นักประวัติศาสตร์บรรยายว่าทูฟ่า ชู่จีเหนิงทั้งกล้าหาญเด็ดเดี่ยว และยังเจ้าเล่ห์เพทุบาย[4]

เมื่อเตงงาย (鄧艾 เติ้ง อ้าย) ขุนพลของรัฐวุยก๊กประจำกันอยู่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือในช่วงระหว่าง ค.ศ. 253 ถึง ค.ศ. 263 เตงงายรับการยอมจำนนของชาวเซียนเปย์หลายหมื่นคนจากโหไส และให้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ระหว่างมณฑลเลียงจิ๋ว (涼州 เหลียงโจว) และยงจิ๋ว (雍州 ยงโจว) ชาวเซียนเปย์ได้อาศัยปะปนกับชนท้องถิ่นผู้อาศัยมาแต่เดิม

ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์จิ้น

แก้

เนื่องจากการกดขี่อย่างต่อเนื่องโดยข้าราชการชาวฮั่นในท้องถิ่น ทูฟ่า ชู่จีเหนิงผู้นำชนเผ่าเซียนเปย์จึงก่อกบฏต่อต้านการปกครองของราชวงศจิ้นเมื่อ ค.ศ. 270 แม้ว่าทูฟ่า ชู่จีเหนิงเป็นชาวเซียนเปย์ แต่กลุ่มกบฏของทูฟ่า ชู่จีเหนิงยังรวมไปถึงชนเผ่าเร่ร่อนอื่น ๆ อย่างเกี๋ยง (羌 เชียง) และตี (氐) ด้วย[5][6] เฮาเหลก (胡烈 หู เลี่ย) ข้าหลวงมณฑลฉินโจว (秦州) ตั้งค่ายอยู่ที่เนินว่านหู (萬斛堆 ว่านหูตุย; ตั้งอยู่ในอำเภอเกาหลาน มณฑลกานซู่) เพื่อรบกับกบฏ แต่ในเมื่อกำลังเสริมของเฮาเหลกมาถึงไม่ทันกาล ทูฟ่า ชู่จีเหนิงและพันธมิตรจึงล้อมกำลังทหารของเฮาเหลกไว้และสังหารเฮาเหลกได้สำเร็จ[7] ซู ยฺหวี (蘇愉) ข้าหลวงมณฑลเลียงจิ๋วนำทัพออกรบ แต่ก็ถูกทูฟ่า ชู่จีเหนิงตีแตกพ่ายที่เขาจิน (金山 จินชาน; ตั้งอยู่ในอำเภอชานตาน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน)[8][9]

หลังสุมาเอี๋ยน (司馬炎 ซือหม่า เหยียน) หรือจักรพรรดิจิ้นอู่ตี้ (晉武帝) ทรงปลดซือหม่า เลี่ยง (司馬亮) ที่จากเหตุที่ยกพลไปช่วยเฮาเหลกไม่ทันกาล พระองค์ทรงส่งฉือ เจี้ยน (石鑒) และเถียน จาง (田章) ให้ไปปราบกบฏ ฉือ เจี้ยนสั่งให้เตาอี้ (杜預 ตู้ ยฺวี่) ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ไปโจมตีทูฟ่า ชู่จีเหนิง แต่เตาอี้เสนอให้รอคอยจนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิมาถึงจึงค่อยเข้าโจมตีทูฟ่า ชู่จีเหนิง เนื่องจากในเวลานี้กลุ่มกบฏยังมีขวัญกำลังใจสูงจากชัยชนะ ฉือ เจี้ยนปลดเตาอี้ออกจากตำแหน่งและดำเนินการตามแผนเดิมของตน แต่ไม่สามารถเอาชนะทูฟ่า ชู่จีเหนิงได้[10]

เมื่อ ค.ศ. 271 ทูฟ่า ชู่จีเหนิงร่วมกับเหล่าชนเผ่าในเขตเมืองเป่ย์ตี้ (北地; อยู่ในนครชิ่งหยาง มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) บุกเมืองกิมเสีย (金城 จินเฉิง; อยู่บริเวณอำเภอยฺหวีจง มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) คันห่อง (牽弘 เชียน หง) ข้าหลวงมณฑลเลียงจิ๋วนำกำลังพลเข้ารบกับทัพของทูฟ่า ชู่จีเหนิง แต่กำลังพลชาวเกี๋ยงในทัพของคันห่องไม่พอใจที่คันห่องปฏิบัติต่อพวกตนไม่ดี จึงก่อกบฏและเข้าร่วมกับทูฟ่า ชู่จีเหนิง ทูฟ่า ชู่จีเหนิงเอาชนะและสังหารคันห่องได้ที่เขาชิง (青山 ชิงชาน; ตั้งอยู่ในอำเภอหฺวาน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ภายหลังจากที่ล้อมกำลังทหารของคันห่องไว้ได้[11]

ยุทธการที่เลียงจิ๋วและเสียชีวิต

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ([咸宁五年]十二月,马隆击叛虏树机能,大破,斩之,凉州平。) จิ้นชู เล่มที่ 3. เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 19 มกราคมถึง 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 280 ในปฏิทินจูเลียน
  2. Penglin, Wang (2018). Linguistic Mysteries of Ethnonyms in Inner Asia. Lanham, MD: Lexington Books. p. 134. ISBN 978-1498535281.
  3. (初,壽闐之在孕,母胡掖氏因寢而產於被中,鮮卑謂被為「禿髮」,因而氏焉。) จิ้นชู เล่มที่ 126.
  4. (壽闐卒,孫樹機能立,壯果多謀略。) จิ้นชู เล่มที่ 126.
  5. (...羌虜樹機能等叛...) จิ้นชู เล่มที่ 38.
  6. (會秦州刺史胡烈為羌虜所害...) จิ้นชู เล่มที่ 59.
  7. (六月戊午,秦州刺史胡烈击叛虏于万斛堆,力战,死之。诏遣尚书石鉴行安西将军、都督秦州诸军事,与奋威护军田章讨之。) จิ้นชู เล่มที่ 3.
  8. (叛虜寇秦、涼,刺史胡烈、蘇愉並為所害。) ซ่งชู เล่มที่ 34.
  9. (樹機能敗涼州刺史蘇愉于金山...) 'จิ้นชู เล่มที่ 126.
  10. (六月,戊午,胡烈讨鲜卑秃发树机能于万斛堆,兵败被杀。都督雍、凉州诸军事扶风王亮遣将军刘旂救之,旂观望不进。亮坐贬为平西将军,旂当斩。亮上言:“节度之咎,由亮而出,乞丐旂死。”诏曰:“若罪不在旂,当有所在。”乃免亮官。遣尚书乐陵石鉴行安西将军,都督秦州诸军事,讨树机能。树机能兵盛,鉴使秦州刺史杜预出兵击之。预以虏乘胜马肥,而官军县乏,宜并力大运刍粮,须春进讨。鉴奏预稽乏军兴,槛车征诣廷尉,以赎论。既而鉴讨树机能,卒不能克。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 79.
  11. (泰始七年夏四月,北地胡寇金城,凉州刺史牵弘讨之。群虏内叛,围弘于青山,弘军败,死之。) จิ้นชู เล่ม 3.

บรรณานุกรม

แก้