ที่หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์

ที่หยุดรถพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นที่หยุดรถไฟของทางรถไฟสายใต้

ที่หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์
ที่หยุดรถ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเหนือวัง ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
พิกัด13°49′26″N 100°02′29″E / 13.82380°N 100.04125°E / 13.82380; 100.04125พิกัดภูมิศาสตร์: 13°49′26″N 100°02′29″E / 13.82380°N 100.04125°E / 13.82380; 100.04125
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา1
ราง1
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี4017 (สจ.)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
นครปฐม สายใต้ โพรงมะเดื่อ
มุ่งหน้า สุไหงโก-ลก
อาคารเดิมของสถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ สร้างราว พ.ศ. 2453 ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับอาคารที่พักผู้โดยสารในปัจจุบัน ห่างออกไปประมาณ 360 เมตร[1] ปัจจุบันย้ายไปประกอบใหม่ตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟหัวหิน

ประวัติ แก้

ที่หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์ ในอดีตเคยเป็นสถานีรถไฟหลวงประจำพระราชวังสนามจันทร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารสถานีรถไฟหลวงขึ้นในราวปี พ.ศ. 2453 เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ และทรงใช้สถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์นี้ เป็นสถานีสำหรับเสด็จโดยรถไฟไปยังที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเสด็จไปเพื่อตรวจตราการซ้อมรบของกองเสือป่าและลูกเสือทั่วประเทศ ยามที่เสด็จมาประทับที่พระราชวังสนามจันทร์[2] ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของสถานีรถไฟหลวงดังกล่าว จะอยู่ห่างจากจุดพักผู้โดยสารในปัจจุบันออกไปประมาณ 360 เมตร โดยจะอยู่ด้านหลังของพระราชวังสนามจันทร์พอดี (ประมาณ สทล.ที่ 19/14) ในขณะที่ตำแหน่งของศาลาพักผู้โดยสารของที่หยุดรถพระราชวังสนามจันทร์ในปัจจุบัน จะตั้งเยื้องมาทางฝั่งของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ (สทล.ที่ 50/13)[3]

จนเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ก็มิได้ถูกใช้งานอีก เนื่องจากไม่มีเจ้านายพระองค์ใดเสด็จมาประทับที่พระราชวังสนามจันทร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้ทำการรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์มาเก็บรักษาไว้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2511 ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้ลงมติว่าจะนำอาคารสถานีรถไฟหลวงนี้มาประกอบขึ้นใหม่ที่สถานีรถไฟหัวหิน เพื่อให้เป็นสถานีขึ้น-ลงรถไฟ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยามที่เสด็จมาประทับที่วังไกลกังวล อาคารสถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ จึงถูกนำมาประกอบขึ้นใหม่ที่สถานีรถไฟหัวหิน

การประกอบสถานีรถไฟหลวงขึ้นใหม่นี้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2517 โดยมีสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นองค์ประธาน ในการนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานนามอาคารรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์นี้ขึ้นใหม่ว่า พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯ[4]

สำหรับพื้นที่เดิมของสถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ หลังจากที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ย้ายอาคารสถานีออกไปแล้ว ก็ได้มีการสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2540 ห่างจากที่ตั้งเดิมของสถานีรถไฟหลวงประมาณ 360 เมตร เยื้องมาทางด้านหลังของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่นี้ได้มีการออกแบบให้เข้ากับสถาปัตยกรรมของพระราชวังสนามจันทร์[5] จากนั้นจึงจัดตั้งเป็น ที่หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่โดยสารรถไฟ

ตารางเวลาการเดินรถ แก้

เที่ยวล่อง แก้

ขบวนรถ ต้นทาง พระราชวังสนามจันทร์ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ255 ธนบุรี 07.30 08.44 หลังสวน 20.20
ธ257 ธนบุรี 07.45 09.05 น้ำตก 12.35
ธ261 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 09.20 10.05 สวนสนประดิพัทธ์ 14.00
ช355 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.40 18.11 สุพรรณบุรี 20.04
ธ351 ธนบุรี 18.25 19.31 ราชบุรี 20.35
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวขึ้น แก้

ขบวนรถ ต้นทาง พระราชวังสนามจันทร์ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ352 ราชบุรี 04.45 06.00 ธนบุรี 07.10
ช356 สุพรรณบุรี 04.00 06.21 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.05
ธ254 หลังสวน 06.20 15.00 ธนบุรี 18.30
ธ258 น้ำตก 12.55 16.27 ธนบุรี 17.40
ธ262 สวนสนประดิพัทธ์ 14.35 17.12 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 19.20
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้