ตีโมคาริส

(เปลี่ยนทางจาก ทิโมคาริส)

ตีโมคาริสแห่งอเล็กซานเดรีย (กรีก: Τιμόχαρις หรือ Τιμοχάρης, ประมาณ 320-260 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักดาราศาสตร์และนักปรัชญาชาวกรีก มีหลักฐานว่าเกิดในอเล็กซานเดรีย เขาเป็นบุคคลในยุคเดียวกับยูคลิด

ประวัติเท่าที่ทราบเกี่ยวกับงานของตีโมคาริสนั้นมาจากการอ้างถึงโดยปโตเลมีในอัลมาเกสต์ ซึ่งระบุเอาไว้ว่า ตีโมคาริสทำงานในอเล็กซานเดรียระหว่าง 290-280 ปีก่อนคริสตกาล ปโตเลมีได้บันทึกเดคลิเนชันของดาวฤกษ์ 18 ดวงซึ่งได้รับการบันทึกโดยตีโมคาริสและอาริสตุลโลสเมื่อราว 290 ปีก่อนคริสตกาล[1] ระหว่าง 295-272 ปีก่อนคริสตกาล ตีโมคาริสได้บันทึกการบังของดวงจันทร์ 4 ครั้ง และเส้นทางโคจรของดาวศุกร์ผ่านดาวฤกษ์[2] สิ่งเหล่านี้ได้รับการบึนทึกโดยใช้ทั้งปฏิทินอียิปต์และเอเธนส์[3] เส้นทางโคจรของดาวซึ่งได้รับการบันทึกของดาวศุกร์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 272 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อดาวศุกร์เข้ามาใกล้ 15 ลิปดา ของดาวฤกษ์ เอตาหญิงสาว[4]

การสังเกตโดยตีโมคาริสถือว่าเป็นการบันทึกของกรีกที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งสามารถระบุเวลาที่เจาะจงได้ ผลงานของเขาเกิดขึ้นเพียงหลังจากการบึนทึกครีษมายันเมื่อ 432 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งได้รับการบันทึกโดยอุกเตมอนและเมตอน[5] ตีโมคาริสทำงานร่วมกับอริสติลลอสในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ซึ่งมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นที่หอสมุดอเล็กซานเดรีย ทั้งสองเป็นบุคคลในยุคเดียวกับอาริสตาร์โคสแห่งซาโมส แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างตีโมคาริสและอริสตาร์ตคัส[6]

แอ่งบนดวงจันทร์ ตีโมคาริส ตั้งชื่อตามเขา[7]

อ้างอิง แก้

  1. Newton, R. R. (1974). "The obliquity of the ecliptic two millenia ago". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 169: 331–342. Bibcode:1974MNRAS.169..331N.
  2. Jones, Alexander (1999). Astronomical papyri from Oxyrhynchus. Vol. 1–2. DIANE Publishing. p. 84. ISBN 0871692333.
  3. Jones, A. (1997), On the reconstructed Macedonian and Egyptian lunar calendars (PDF), vol. 119, pp. 157–166, สืบค้นเมื่อ 2009-09-10
  4. Fomenko, A. T.; Vi︠a︡cheslavovich, Vladimir Kalashnikov; Nosovskiĭ, Gleb Vladimirovich (1993). Geometrical and statistical methods of analysis of star configurations: dating Ptolemy's Almagest. CRC Press. p. 215. ISBN 0849344832.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Evans, James (1998). The History & Practice of Ancient Astronomy. Oxford University Press US. p. 259. ISBN 0195095391.
  6. Sarton, George (1993). Hellenistic science and culture in the last three centuries B.C. Courier Dover Publications. p. 53. ISBN 0486277402.
  7. Blue, Jennifer. "Gazetteer of Planetary Nomenclature". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 2009-09-10.