ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ เจ้าของนามปากกา หมอ นักวาดการ์ตูนไทย มีผลงานปรากฏในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอมลัมน์ห้าร้อยจำพวก+1 และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ผลงานของ หมอได้รับการยอมรับจากนานาชาติ หมอเคยได้รับรางวัล The Aydin Dogan Foundation's Cartoon Competition Award 2007 ประเภท "Success Award" [1]
ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ | |
---|---|
เกิด | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2511 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
นามปากกา | หมอ |
อาชีพ | นักเขียน จิตรกร |
สัญชาติ | ไทย |
ช่วงปีที่ทำงาน | พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน |
ประวัติ
แก้ทิววัฒน์เป็นชาวกรุงเทพมหานคร เกิดวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2511 นับถือศาสนาพุทธ มีนิสัยช่างสงสัยตั้งแต่วัยเด็ก หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จึงย้ายไปศึกษาต่อระดับมัธยมปลายที่วิทยาลัยช่างศิลป์ และศึกษาต่อระดับปริญญาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อสำเร็จการศึกษา หมอทำงานหลายอย่าง เป็นอาจารย์ประจำที่ มหาวิทยาลัยรังสิต อาจารย์พิเศษ และวิทยากรพิเศษตามสถาบันการศึกษา ต่อมา ได้รับการชักชวนจาก ชัย ราชวัตร ให้เขียนการ์ตูนใน หนังสือพิมพ์คู่แข่งรายสัปดาห์ จากนั้น หมอเป็นนักเขียนการ์ตูนการเมืองเต็มตัวที่ หนังสือพิมพ์สยามโพสต์ หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เป็นต้น และเป็นทีมงานเขียนภาพประกอบในพระราชนิพนธ์เรื่อง ทองแดง ฉบับการ์ตูน หมอมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อเขาได้รับรางวัลที่ 3 จากการประกวดการ์ตูนนานาชาติในวาระครบรอบ 50 ปี ESCAP หมอเป็นนักเขียนการ์ตูนอารมณ์ดี ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานทั้งหมดของเขา หมอยึดมั่นในการใช้ อารยะ ขบขัน แก้ไขทุกปัญหาที่เกิดขึ้น หมอไม่เคยหยุดตั้งคำถามกับตัวเอง และสิ่งที่เขาพบเห็นรอบๆตัว[2]
การศึกษา
แก้การทำงาน
แก้ด้านวิชาการ สอนวิชา Illustration วิชา Comics Art และวิชา Caricature Art
แก้- อาจารย์ประจำที่ มหาวิทยาลัยรังสิต ระหว่างปี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535
- อาจารย์พิเศษที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2548
- อาจารย์พิเศษที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน
- วิทยากรพิเศษที่ มหาวิทยาลัยรังสิต หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน [4]
ด้านการ์ตูนล้อการเมือง ภาพเขียนสีน้ำ และบทความล้อการเมือง
แก้- หนังสือพิมพ์คู่แข่งรายสัปดาห์ ระหว่างปี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2534
- หนังสือพิมพ์สยามโพสต์ ระหว่างปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539
- หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538
- หนังสือพิมพ์เนชั่นสุดสัปดาห์ การ์ตูนชุด STANG WARS ในปี พ.ศ. 2548
- หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน
- เสาร์สวัสดี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์เก็บไว้ด้วยปลายพู่กัน ระหว่างปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2547 คอลัมน์เด็กหลังห้อง ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 คอลัมน์ที่ชอบ ระหว่างปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 ทั้ง 3 คอลัมน์เป็นการเขียนภาพสีน้ำเล่าเรื่องสถานที่ต่างๆ คอลัมน์นิทานก่อนนั่งเล่าให้ฟังก่อนตื่น ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 ทั้ง 2 คอลัมน์เป็นบทความล้อการเมืองในลักษณะเล่าเรื่อง[5]
- หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน
- นิตยสาร a day weekly เป็นบทความล้อการเมืองในลักษณะการสัมภาษณ์ตัวการ์ตูนนานาชาติที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น แบทแมน ไอ้แมงมุม ไอ้มดแดง โดราเอมอน ซูเปอร์แมน อุลตร้าแมน อิคคิวซัง พล นิกร กิมหงวน ศรีธนนชัย เป็นต้น
ด้านโทรทัศน์ และวิทยุ
แก้- รายการชิงร้อยชิงล้าน (ขณะนั้นใช้ชื่อว่า ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า) ช่วงทายดาราสามช่ารับเชิญ (ที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "เขาเป็นใครหนอ เขามาจากไหน") เป็นการเขียนภาพปริศนาดารา แพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2542 - 17 ตุลาคม 2544
- รายการนิรนามยามดึก เนื้อหาเกี่ยวกับปกิณกะ และเปิดเพลง POP ออกอากาศทาง FM101 ของมีเดียพลัส วันจันทร์ - วันพุธ เวลา 24.00น. - 03.00น. ระหว่างปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539
- รายการเป็นอยู่คือ เนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ออกอากาศทางคลื่นความคิด FM96.5 ของ อสมท วันเสาร์ เวลา 21.00น. - 23.00น. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน [6]
ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
แก้ภาพประกอบ
แก้- พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เรื่องทองแดง ฉบับการ์ตูน พ.ศ. 2547 (เป็นหนึ่งในทีมงาน)[7]
- พระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่องเพียงวันพบวันนี้ที่สำคัญ และเรื่องความฝัน พ.ศ. 2548 [8]
- หนังสือเลือกตั้งทำไม?ทำไม?เลือกตั้ง ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2542
- หนังสือรู้จักใช้เข้าใจเงิน ของ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ในวาระครบรอบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์ พ.ศ. 2550
- นิตยสารอิมเมจ คอลัมน์ FOOL FEEL ของ หมอ และคอลัมน์ D-TYPE ของนิติพงษ์ ห่อนาค (ดี้) และ คอลัมน์ HUMAN ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน
- นิตยสารพลอยแกมเพชร คอลัมน์บ้านสีเขียว และคอลัมน์ฟิตกายฟิตใจ ของคุณผู้หญิง และเรื่องถนนสายดอกงิ้วบาน กับเรื่องตะพดหัวเสือ ของวัยชัน (ปัจจุบัน)
หนังสือที่ตีพิมพ์
แก้- เก็บไว้ด้วยปลายพู่กัน พ.ศ. 2545
- นิทานรู้ทัน พ.ศ. 2547
- เก็บไว้ในภาพเขียน พ.ศ. 2548
รางวัล
แก้ระดับนานาชาติ ผลงานด้านการ์ตูน
แก้- The Aydin Dogan Foundation's Cartoon Competition Award 2007, Success Award ที่ประเทศตุรกี[10]
นอกจากนี้ ยังได้รับเชิญจาก The Japan Foundation, Bangkok ให้นำผลงานร่วมแสดงระดับนานาชาติ 2 ครั้ง:
- นิทรรศการการ์ตูนเอเชีย ครั้งที่ 7 "จ้างงานอย่างเอเชีย" ในปี พ.ศ. 2547 [11]
- นิทรรศการการ์ตูนเอเชีย ครั้งที่ 10 "สภาพแวดล้อมในเอเชีย" ในปี พ.ศ. 2550 [12]
ภายในประเทศ ด้านสื่อมวลชน
แก้- รางวัลสุดยอดนักคิด ประจำปี พ.ศ. 2551 จากการโหวตของผู้ฟังคลื่นความคิด FM96.5 อสมท[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ภาพที่ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลประเภท "Success Award" จาก AYDIN DOGAN VAKFI ภาษาตุรกี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-15. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- ↑ "ประวัติและอุปนิสัยส่วนตัวของหมอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-19. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- ↑ บทสัมภาษณ์ประวัติส่วนตัว ผลงาน และแนวคิดของหมอ
- ↑ "รายชื่ออาจารย์ประจำและวิทยากรพิเศษของหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-16. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- ↑ "บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับงานภาพสีน้ำของหมอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- ↑ คลื่นความคิดแนะนำผู้จัดรายการ
- ↑ "แนะนำทีมงานเขียนภาพประกอบเรื่อง ทองแดง ฉบับการ์ตูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-27. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- ↑ "จดหมายข่าว "ประพาสราชสถาน" "ต้นน้ำ" "ภูผาและป่าทราย" "เพียงวันพบวันนี้ที่สำคัญ" "ความฝัน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- ↑ "รายละเอียดการจัดงานและผลการตัดสินผลงานการ์ตูน ภาษาอังกฤษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- ↑ บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับราวัลSuccess Award และแง่คิดมุมมองเกี่ยวกับการ์ตูนของหมอ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ข่าวประชาสัมพันธ์การจัดงานนิทรรศการการ์ตูนเอเชียครั้งที่ 7". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-01-09. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- ↑ "ข่าวประชาสัมพันธ์การจัดงานนิทรรศการการ์ตูนเอเชียครั้งที่ 10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-10. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- ↑ ภาพและประวัติของผู้ได้รับรางวัลสุดยอดนักคิด
- หนังสือคนเล่นเส้น, อธิโชค พิมพ์วิริยะกุล, สำนักพิมพ์ช่องเปิด, 2549, หน้าที่ 125 - 166 ISBN 974-94913-9-4 เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติ และแง่คิดมุมมองของนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย
- ประวัติส่วนส่วนตัวและผลงานของหมอ ภาษาอังกฤษ เก็บถาวร 2008-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน