ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ
(เปลี่ยนทางจาก ทิม เบอร์เนอรส์ ลี)

เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2498) ผู้คิดค้นและประดิษฐ์ เวิลด์ไวด์เว็บ ผู้อำนวยการWorld Wide Web Consortium (ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาต่อเนื่องใหม่ ๆ เกี่ยวกับเว็บ) นักวิจัยอาวุโสและผู้นั่งในตำแหน่ง ทรีคอมฟาวน์เดอร์สแชร์ (3Com Founders Chair) ที่หอทดลองวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์แห่งเอ็มไอที (CSAIL)

เซอร์ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี

Sir Tim Berners Lee arriving at the Guildhall to receive the Honorary Freedom of the City of London
ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ในปีค.ศ.2014
เกิดTimothy John Berners-Lee
(1955-06-08) 8 มิถุนายน ค.ศ. 1955 (68 ปี)[1]
ลอนดอน, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร
ชื่ออื่น
  • TimBL
  • TBL
การศึกษาEmanuel School
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (BA)
คู่สมรส
  • Nancy Carlson (สมรส 1990; หย่า 2011)
  • Rosemary Leith (สมรส 2014)
บุตร2
บุพการี
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สถาบันที่ทำงาน
เว็บไซต์w3.org/people/berners-lee
เซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้นและประดิษฐ์เวิลด์ไวด์เว็บ

เบื้องหลังและงานอาชีพช่วงแรก แก้

เซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลีเกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรนายคอนเวย์ เบอร์เนิร์ส-ลี และนางแมรี ลี วูดส์ ทั้งบิดาและมารดาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในทีมสร้างคอมพิวเตอร์ยุคแรก คือ "แมนเชสเตอร์ มาร์ก 1" ด้วยกัน ทั้งสองได้สอนให้เบอร์เนิร์ส-ลีใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันไปทุกเรื่อง แม้แต่บนโต๊ะอาหาร เบอร์เนิร์ส-ลีเข้าโรงเรียนชั้นประถมที่โรงเรียน "ชีนเมาท์" (ซึ่งต่อมาได้อุทิศห้องโถงใหม่ห้องหนึ่งเป็นเกียรติแก่เขา) ก่อนที่จะย้ายไปเรียนต่อระดับโอ. และระดับเอ. ที่โรงเรียนเอ็มมานูเอล ที่วานสเวิร์ท

เบอร์เนิร์ส-ลีเป็นศิษย์เก่าของควีนส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดซึ่งเบอร์เนิร์ส-ลีเป็นตัวแทนแข่งขันเกมส์ "ทิดดลีวิงค์" ประเพณี (เกมแข่งช้อนดีดอีแปะลงถ้วย) กับคู่ปรับเก่าแก่คือมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ด้วย ขณะที่เรียนที่ควีนส์คอลเลจ เบอร์เนิร์ส-ลีได้สร้างคอมพิวเตอร์ด้วยหัวแร้งไฟฟ้า ประกอบทีทีแอล (ทรานซิสเตอร์ชนิดหนึ่ง) ลอจิกเกท และหน่วยประมวลผล เอ็ม 6800 กับโทรทัศน์เก่าเครื่องหนึ่ง และช่วงหนึ่งในระหว่างการศึกษา เบอร์เนิร์ส-ลีถูกจับได้ร่วมกับเพื่อนฐานทำการ "แฮ็ก" คอมพิวเตอร์และถูกห้ามมิให้ใช้คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย เบอร์เนิร์ส-ลีจบการศึกษาปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์เมื่อ พ.ศ. 2518

เวิลด์ไวด์เว็บ แก้

ดูบทความหลัก เวิลด์ไวด์เว็บ

ขณะที่เป็นลูกจ้างอิสระอยู่ที่ "เซิร์น" ระหว่างเดือนมิถุนายน - ธันวาคม พ.ศ. 2523 เบอร์เนิร์ส-ลีได้เสนอโครงการหนึ่งที่ใช้แนวคิด "ข้อความหลายมิติ" หรือ hypertext มาใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนและปรับสมัยข้อมูลระหว่างนักวิจัยด้วยกัน ขณะที่เบอร์เนิร์ส-ลีทำงานอยู่ที่นี่เขาได้สร้างระบบต้นแบบไว้แล้วเรียกชื่อว่า ENQUIRE หลังจากออกจากเซิร์นเมื่อ พ.ศ. 2523 เบอร์เนิร์ส-ลีไปร่วมงานกับบริษัท "อิมเมจคอมพิวเตอร์ซิสเต็ม" ของจอห์น พุล เบอร์เนิร์ส-ลีได้กลับมาทำงานที่เซิร์นอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2527 ในตำแหน่งสิกขบัณฑิต (Fellow) เมื่อถึง พ.ศ. 2532 เซิร์นได้กลายเป็นศุนย์อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเบอร์เนิร์ส-ลีได้เล็งเห็นโอกาสในการใช้ "ข้อความหลายมิติ" ผนวกเข้ากับอินเทอร์เน็ต เบอร์เนิร์ส-ลีเขียนไว้ในข้อเสนอโครงการของเขาว่า "...ผมเพียงเอาความคิดเรื่องข้อความหลายมิตินี้เขื่อมต่อเข้ากับความคิด "ทีซีพี" และ "DNS" และเท่านั้นก็จะได้ "เวิลด์ไวด์เว็บ.." เบอร์เนิร์ส-ลีร่างข้อเสนอของเขาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 และในปี พ.ศ. 2533 ด้วยความช่วยเหลือของโรเบิร์ต ไคลิยู ช่วยปรับร่างโครงการให้ ไมค์ เซนดอลล์ผู้จัดการของเบอร์เนิร์ส-ลีจึงรับข้อเสนอของเขา ในข้อเสนอนี้ เบอร์เนิร์ส-ลีได้ใช้ความคิดเดียวกับระบบเอ็นไควร์มาใช้สร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งเขาได้ออกแบบและสร้างเว็บเบราว์เซอร์และเอดิเตอร์ตัวแรกของโลกชื่อว่า WorldWideWeb บนระบบปฏิบัติการ NEXTSTEP ของสตีฟ จอบส์ และสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์ขึ้น เรียกว่า httpd (ย่อมาจาก HyperText Transfer Protocal Deamon)

เว็บไซต์แรกสุดสร้างขึ้นที่เซิร์น นำขึ้นออนไลน์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ให้คำอธิบายว่าเวิลด์ไวด์เว็บคืออะไร การที่จะเป็นเจ้าของเบราว์เซอร์ทำได้อย่างไรและจะติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างไร นอกจากนี้ยังนับเป็นเว็บไดเร็กทอรีอันแรกของโลกด้วยเนื่องจากเบอร์เนิร์ส-ลีดูแลรายชื่อของเว็บไซต์อื่น ๆ ทั้งหมด นอกจากของตนเองด้วย

ในปี พ.ศ. 2537 เบอร์เนิร์ส-ลีได้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทเวิลด์ไวด์เว็บ (W3C) ขึ้นที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอที ประกอบด้วยบริษัทหลายบริษัทที่ยินยอมพร้อมใจมาร่วมสร้างมาตรฐานและข้อเสนอแนะสำหรับใช้เป็นหลักในการปรับปรุงคุณภาพของเว็บ ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2547 เบอร์เนิร์ส-ลียอมรับตำแหน่งประธานสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่คณะอีเล็กทรอนิกส์และวิยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเซาท์แธมตัน สหราชอาณาจักรเพื่อดำเนินโครงการใหม่ นั่นคือ "ซีแมนติกเว็บ" (Semantic Web)

เบอร์เนิร์ส-ลีเปิดเผยให้ความคิดแก่ทุกคนและทุกองค์กรโดยไม่คิดมูลค่า เขาไม่เคยจดทะเบียนลิขสิทธิ์การค้นคิดของเขาเลย รวมทั้งไม่เรียกค่าตอบแทนหรือรางวัลอื่นใดจากใคร นอกจากเงินเดือนปกติ ดังนั้น กลุ่มบริษัทเวิลด์ไวด์เว็บจึงตัดสินใจไม่คิดมูลค่าใด ๆ จากการนำมาตรฐานของกลุ่มบริษัทไปใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายยอมรับมาตรฐานเดียวกันได้บนพื้นฐานทางเทคโนโลยี ไม่ใช่พื้นฐานค่าสิขสิทธิ์ถูกหรือแพง

การได้รับการยอมรับ แก้

  • มหาวิทยาลัยเซาท์แธมตันเป็นองค์กรแรกที่ยอมรับว่าเบอร์เนิร์ส-ลีเป็นคิดค้นและสร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ด้วยการมอบปริญญากิตติมศักดิ์ให้แก่เขาเมื่อ พ.ศ. 2539 และให้เบอร์เนิร์ส-ลีดำรงตำแหน่งประธานสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในคณะอิเล็กทรอนิกส์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เบอร์เนิร์ส-ลีเป็นประธานผู้ก่อตั้ง 3Com ที่เอ็มไอทีและยังเป็นเมธีวิจัยอาวุโสที่นี่ด้วย เบอร์เนิร์ส-ลีเป็นสิกขบัณฑิตกิตติคุณ (Distinguished Fellow) ที่สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งบริเทน สิกขบัณฑิตกิตติคุณของสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และยังเป็นสมาชิกของบัณฑิตยสถานศิลปะและวิทยาศาสตร์อเมริกันอีกด้วย
  • ในปี พ.ศ. 2540 เบอร์เนิร์ส-ลีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นจักรวรรดิบริทิช (OBE) พร้อมการได้รับเข้าเป็นราชบัณฑิตในราชบัณฑิตยสถานเมื่อ พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัลญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2545 และในปีเดียวกันก็ได้รับรางวัลปรินซิเป เดอ แอสทูริอัส สาขางานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศสเปน และได้การโหวตเป็นหนึ่งในชาวบริติชที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ 100 คน โดยบีบีซี
  • เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 เบอร์เนิร์ส-ลีได้เป็นสิกขบัณฑิตเกียรติคุณในราชสมาคมศิลปะ
  • ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นอัศวินสูงสุดชั้น 2 จากสมเด็จพระบรมราชินีเอลิซาเบท เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์
  • 27 มกราคม พ.ศ. 2548 ได้รับการยกย่องเป็นชาวบริทิชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี และนิตยสารไทม์ในวาระเดียวกันยกย่องเบอร์เนิร์ส-ลีเป็นบุคคล 1 ใน 100 คนที่ทรงอิทธิพลที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20
  • 14 มกราคม พ.ศ. 2550 ได้การรวมชื่อไปไว้ในสำนักวิศวกรรมแห่งชาติ (สหรัฐฯ)
  • 13 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้าเป็นการส่วนพระองค์จากสมเด็จพระบรมราชินีเอลิซาเบท เป็นการพระราชทานโดยไม่ต้องผ่านจากกระทรวงทบวงกรม ซึ่งมีผู้ได้รับที่ยังมีชีวิตเพียง 24 คนเท่านั้นในสหราชอาณาจักร และมีสิทธิ์ใน "OM" ท้ายชื่อได้ตลอดเวลา

ชีวิตปัจจุบัน แก้

ในปี พ.ศ. 2544 เซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลีได้เป็นผู้อุปถัมภ์กองทุนมรดกอีสต์ดอร์เซทในประเทศอังกฤษ

ปัจจุบันเบอร์เนิร์ส-ลีพักอาศัยอยู่ที่เมืองเลกซิงตัน รัฐแมสซาชูเสทส์ สหรัฐฯ พร้อมกับภริยาและบุตร 2 คน

ในการถือศาสนา เบอร์เนิร์ส-ลีได้ลาออกรีตจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ นิกายที่เขาเกิดและเติบโตมาตั้งครั้งยังเป็นวัยรุ่นเนื่องจากทนไม่ได้กับการที่จะ "ต้องเชื่อทุกสิ่งที่เป็นสิ่งไม่น่าเชื่อ" เบอร์เนิร์ส-ลีและครอบครัวได้รู้จักศาสนานิกาย "Unitarian Universalism" ที่เมืองบอสตันและเข้ารีตนิกายนี้ถึงปัจจุบัน

เบอร์เนิร์ส-ลีเป็นผู้อยู่แนวหน้าในการเป็นปากเป็นเสียงให้กับหลักการ "Net Neutrality" หรือความเป็นกลางของเครือข่าย ที่มีแนวคิดว่าเครือข่ายบรอดแบนด์ครัวเรือน และอาจจะเครือข่ายทุกชนิด จะต้องปลอดจากข้อห้ามต่าง ๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่จะนำมาเชื่อมต่อกับเครือข่าย วิธีในการสื่อสารที่อนุญาต ซึ่งจะต้องไม่กำจัดเนื้อหา เว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์ม และจะต้องเป็นเครือข่ายที่การสื่อสารไม่ถูกลดคุณภาพลงเนื่องจากการรับส่งข้อมูลสื่อสารอื่น

งานเขียน แก้

  • Berners-Lee, Tim (1999). Weaving the Web: Origins and Future of the World Wide Web. Britain: Orion Business. ISBN 0-7528-2090-7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

อ้างอิง แก้

Fischetti, Mark. Weaving the Web. Harper Collins Publishers,1999. ISBN 0-06-251586-1 (cloth). ISBN 0-06-251587-X (paper).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ whoswho