ทิโมธี โดนัลด์ คุก (อังกฤษ: Timothy Donald Cook) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ทิม คุก (อังกฤษ: Tim Cook) เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนปัจจุบันของบริษัทแอปเปิล[1] เข้าร่วมงานกับแอปเปิลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541[2] ในตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส มีความรับผิดชอบหลักในการจัดการปฏิบัติการวันต่อวันที่บริษัท เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารรับช่วงต่อจาก สตีฟ จ็อบส์ ที่ประกาศลาออกไป เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และ ทิม คุกเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริษัทแอปเปิ้ล สานต่อจาก สตีฟ จ็อบส์ ที่ลาออกไป และ สตีฟ จ็อบส์ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554 หลังได้ทำงานเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริษัทแอปเปิ้ลได้แค่ 3 เดือน

ทิม คุก
คุกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566
เกิดทิโมธี โดนัลด์ คุก
(1960-11-01) พฤศจิกายน 1, 1960 (63 ปี)
โรเบิร์ตสเดล รัฐแอละแบมา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออเบิร์น (ว.บ.)
มหาวิทยาลัยดุ๊ก (บธ.ม.)
อาชีพผู้บริหารธุรกิจ
ตำแหน่งผู้บริหารซีอีโอ Apple Inc. 2011-ปัจจุบัน
ลายมือชื่อ

ชีวิตวัยเด็ก แก้

คุกเติบโตขึ้นในโรเบิร์ตสเดล รัฐแอละแบมา บิดาเป็นคนงานในอู่เรือ มารดาเป็นผู้รับจ้างทำงานบ้าน คุกสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต วิศวกรรมอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยออเบิร์น ใน พ.ศ. 2525[3] และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตจากโรงเรียนธุรกิจฟูควา (Fuqua) ของมหาวิทยาลัยดุ๊ก ใน พ.ศ. 2534[4]

การทำงาน แก้

ทิมคุก เคยทำงานกับคอมแพคเป็นเวลา 6 เดือน ก่อนจะถูกว่าจ้างโดยสตีฟ จ็อบส์ให้เข้าร่วมแอปเปิล ตอนแรก เขารับหน้าที่เป็นรองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการทั่วโลก[2] ก่อนหน้านั้น เขาเคยเป็นประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการ (chief operating officer - COO) ของแผนกตัวแทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์ของ Intelligent Electronics และเคยทำงาน 12 ปี ในธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของไอบีเอ็ม เป็นผู้อำนวยการ North American Fulfillment[2]

คุกได้รับชื่อเสียงจากการดึงแอปเปิลออกจากอุตสาหกรรมการผลิต โดยปิดโรงงานและโกดังทั่วโลก ซึ่งช่วยให้บริษัทลดระดับสินค้าคงคลังและปรับปรุงคุณภาพสายการผลิต ซึ่งส่งผลให้อัตราผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมาก[5] เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 คุกได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็น COO[6]

คุกเคยเป็น CEO ชั่วคราว สองเดือนใน พ.ศ. 2547 เมื่อจ็อบส์กำลังพักฟื้นจากการผ่าตัดมะเร็งตับอ่อน ใน พ.ศ. 2552 คุกเป็น CEO ของแอปเปิลอีกครั้งเป็นเวลาหลายเดือน ขณะที่จ็อบส์ปลูกถ่ายตับ

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการบริษัทแอปเปิลอนุมัติการลาหยุดทางการแพทย์ ซึ่งจ็อบส์ร้องขอเป็นครั้งที่สาม ระหว่างนั้น คุกรับผิดชอบปฏิบัติการวันต่อวันส่วนใหญ่ ขณะที่จ็อบส์ตัดสินใจที่สำคัญ ๆ[7] หลังการลาออกของจ็อบส์ คุกเป็น CEO ของแอปเปิล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554[8] [9]

คุกยังเป็นคณะกรรมการบริษัทไนกี้ด้วย[10]

ชีวิตส่วนตัว แก้

คุกเป็นคนที่ชอบออกกำลังกายและยังชอบปีนเขาอีกด้วย และบางทีก็ไปโรงยิม เขาจะเริ่มส่งอีเมล์อย่างสม่ำเสมอ ในตอนตี 4 ครึ่ง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจะประชุมเจ้าหน้าที่ทางโทรศัพท์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสัปดาห์ที่กำลังจะถึง ในขณะกล่าวกล่าวสุนทรพจน์เมื่อปี 2553 ที่ มหาวิทยาลัยออเบิร์น คุกเน้นถึงความสำคัญของสัญชาตญาณในการชี้นำทางเลือกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขา และตามด้วยการระบุว่าการเตรียมความพร้อมและการทำงานอย่างหนัก คุกยังได้บริจาคเงินจำนวนมากเพื่อการกุศลรวม $ 100,000,000 ในปี 2554

ทิม คุก ประกาศตนว่าเป็นเกย์[11][12][13] ผ่านบทความในนิตยสารบลูมเบิร์กบิซิเนส ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยคุกกล่าวในบทความว่าแม้เขาจะเปิดเผยตัวเองกับเพื่อนร่วมงานที่บริษัท และเพื่อนร่วมงานเหล่านั้นก็มิได้ปฏิบัติอย่างแตกต่างไปจากคนอื่นๆ แต่เขาก็ไม่เคยเปิดเผยรสนิยมทางเพศนี้ต่อสาธารณะจนมาถึงวันที่เขาเขียนบทความ[11]

อ้างอิง แก้

  1. "Steve Jobs Resigns as CEO of Apple". Apple. August 24, 2011. สืบค้นเมื่อ August 25, 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Timothy D. Cook Profile". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2011-08-27.
  3. Wright, Sharla (October 25, 2005). "Engineering Alumnus Named COO of Apple". Auburn University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-16. สืบค้นเมื่อ July 26, 2007.
  4. Love, Julia (January 14, 2009). "Fuqua grad takes reins at Apple". The Chronicle (Duke University). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-01. สืบค้นเมื่อ February 11, 2011.
  5. Lashinsky, Adam (November 10, 2008). "The genius behind Steve". CNN. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
  6. Helft, Miguel (January 23, 2011). "The Understudy Takes the Stage at Apple". The New York Times. สืบค้นเมื่อ February 11, 2011.
  7. "Apple boss Steve Jobs takes 'medical leave'". BBC. January 17, 2011. สืบค้นเมื่อ February 11, 2011.
  8. "Steve Jobs resigns from Apple, Cook becomes CEO". Reuters. August 24, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-02. สืบค้นเมื่อ August 24, 2011.
  9. https://appleforward.com/how-did-tim-cook-become-ceo/ AppleForward
  10. Board of Directors เก็บถาวร 2015-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Nike.
  11. 11.0 11.1 "Tim Cook Speaks Up". Bloomberg. October 30, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2019. สืบค้นเมื่อ February 28, 2019.
  12. Correa, Armando (October 24, 2019). "Tim Cook: The Power of Diversity". People en Español (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2019. สืบค้นเมื่อ October 27, 2019.
  13. Apple CEO tells Colbert why he came out as gay (ภาษาอังกฤษ), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2019, สืบค้นเมื่อ August 15, 2019

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า ทิม คุก ถัดไป
สตีฟ จอบส์    
ประธานบริหารแอปเปิล
(24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)
  อยู่ในตำแหน่ง