ทางเดินหายใจส่วนบน

ทางเดินหายใจส่วนบน (อังกฤษ: Upper respiratory tract, upper airway) เป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอากาศหายใจ ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเหนือกล่องเสียง (larynx) ขึ้นไป เช่น จมูก, คอหอย (pharynx) เป็นต้น โดยทางเดินหายใจส่วนบนนั้นจะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศจากภายนอกเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างต่อไป

ทางเดินหายใจ

องค์ประกอบ

แก้
  • จมูก รวมทั้ง โพรงจมูก (nasal cavity) และ paranasal sinuses
  • คอหอย แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ Nasopharynx, Oropharynx, Laryngopharynx

หน้าที่

แก้

เป็นทางผ่านของอากาศที่ใช้ในการหายใจและช่วยกรองอากาศที่หายใจเข้าไป โดยฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศจะถูกดักจบโดยเมือกหรือสารหล่อลื่น (mucous) ที่ถูกหลั่งออกมาและเส้นขนเล็กๆที่อยู่ภายในจมูก นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศให้มีความเหมาะสมก่อนที่จะส่งต่อไปยังทางเดินหายใจส่วนต่อไป เช่น การเพิ่มความชื้นและการปรับอุณหภูมิ เป็นต้น อีกทั้งยังมีหน้าที่ต่างๆเช่น ช่วยให้เสียงเกิดความก้องกังวาน ช่วยให้กระดูกหน้ามีน้ำหนักเบาลง เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่น การออกเสียง และการพูด เป็นต้น

โรคทางเดินหายใจส่วนบน

แก้

โรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนเช่น โรคหวัด โดยสาเหตุของโรคนั้นเกิดจากเชื้อไวรัส,[1] เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่นๆ เมื่อเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปแบ่งตัวอยู่ที่เยื่อบุทางเดินหายใจและทำให้เยื่อบุนี้หลั่งสารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้[2]

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.