ทางรถไฟสายเขากระโดง

ทางรถไฟสายบุรีรัมย์–เขากระโดง[2] หรือ ทางแยกเขากระโดง[3] เป็นเส้นทางรถไฟขนส่งหินระยะสั้นในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ เริ่มจากสถานีรถไฟบุรีรัมย์ไปยังลานเก็บกองหินเขากระโดงใกล้กับช้างอารีนาและเขากระโดงสเตเดี้ยม โดยหินดังกล่าวจะใช้สำหรับโรยทางของกิจการรถไฟ ไม่มีบริการขนส่งประชาชน และมีเพียงรถไฟบรรทุกสินค้าที่มีการวิ่งบนเส้นทางครั้งหรือสองครั้งต่อปี ด้วยเหตุนี้ทางรถไฟสายดังกล่าวจึงถูกประชาชนบุกรุกบ่อยครั้ง[4][5][6] และพื้นที่บางส่วนการรถไฟได้เปิดให้ประชาชนเช่าใช้[7]

ทางรถไฟสายบุรีรัมย์–เขากระโดง
สถานีรถไฟบุรีรัมย์ ต้นทางสายแยกเขากระโดง
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
ปลายทาง
ประวัติ
เปิดเมื่อ1 เมษายน 2468[1]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทางกม. (4.97 ไมล์)[1]
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
แผนที่เส้นทาง

ทางรถไฟสายนครราชสีมา–อุบลราชธานี
บุรีรัมย์
ไปอุบลราชธานี
ห้วยจระเข้มาก
เขากระโดง
เหมืองหินเดิม

แผนพัฒนา แก้

พ.ศ. 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีการพัฒนาเส้นทางขนส่งหินสายนี้เป็นเส้นทางท่องเที่ยว สำหรับขนส่งประชาชนที่จะเดินทางไปชมการแข่งขันรถจักรยานยนต์ระดับโลก โมโตจีพี 2018 (MotoGP 2018) ที่ประเทศไทยและจังหวัดบุรีรัมย์เป็นเจ้าภาพภายในวันที่ 5-7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ณ ช้างอารีนา โดยมีการสำรวจเส้นทางและเตรียมสร้างชานชาลารองรับผู้เข้าชมงานที่เดินทางด้วยรถไฟ[8][9][10] โดยจะมีการจัดขบวนรถด่วนพิเศษ สถานีรถไฟบุรีรัมย์–ที่หยุดรถเขากระโดง ไป-กลับ 10 เที่ยวต่อวัน ราคาตั๋ว 20 บาทต่อคน[11] อย่างไรก็ตาม แผนงานนี้ไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นจริงในช่วงที่มีการแข่งขันโมโตจีพี

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ประวัติของทางแยกเขากระโดงและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง". รถไฟไทยดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประวัติการจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์". เทศบาลเมืองบุรีรัมย์. 3 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "งานปรับปรุงโครงสร้างทางหลีก (Siding Rehabilitation) ในย่านสถานีท่าช้าง, หนองมโนรมย์, บ้านหินโคน, หนองกระทิง, ลำปลายมาศ, บุรีรัมย์, ทางแยกเขากระโดง, กระสัง, ลำชี, สุรินทร์ รวม 9 สถานี และ 1 ทางแยก พื้นที่แขวงบำรุงทางลำปลายมาศ กองบำรุงทางเขตสุรินทร์ ศูนย์บำรุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝ่ายการช่างโยธา". การรถไฟแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-01. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ตระกูลชิดชอบ" เฮ! ขรก.รถไฟรอด"คดีเขากระโดง"ขาดอายุความ". ผู้จัดการออนไลน์. 24 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ป.ป.ช. ชี้ตระกูลชิดชอบ หลุดคดีบุกรุกที่ดินการรถไฟฯ บุรีรัมย์ ขาดอายุความ-ไร้หลักฐานมัด". มติชนออนไลน์. 24 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. "ตรวจสอบกรณีย้ายรางหลีกทางรถไฟและพื้นที่ตักหินในทางแยกเขากระโดง". สถานีตำรวจภูธรเมืองบุรีรัมย์. 8 พฤษภาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-26. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "การรถไฟแห่งประเทศไทย เชิญชวนเสนอราคาค่าเช่าที่ดิน เพื่อใช้ประโยชน์เป็นการชั่วคราวในที่ดินของการรถไฟฯ ที่สถานีบุรีรัมย์ (ทางแยกเขากระโดง)". สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา. 3 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. "ผู้ว่าฯ บุรีรัมย์ ประชุมเตรียมพร้อมรับ "โมโตจีพี" สำรวจเส้นทางรถไฟไปสนามช้างอารีนา". บุรีรัมย์เวิลด์. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  9. "พร้อม!! เดินขบวนรถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ จากกรุงเทพฯ – จุดจอดรถเขากระโดง (สนามช้างอารีน่า)". บุรีรัมย์เวิลด์. 8 พฤษภาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. ""อาคม" ตรวจเยี่ยมสถานีรถไฟบุรีรัมย์". สปริงนิวส์. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  11. "สถานีรถไฟบุรีรัมย์ พร้อมรับผู้เข้าชม "จักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก MotoGP 2018" ต.ค.นี้". ผู้จัดการออนไลน์. 7 พฤษภาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้